“เซ็นทรัล ทำ” โครงการขับเคลื่อนเพื่อความยั่งยืนของกลุ่มเซ็นทรัล มุ่งพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ลดความเหลื่อมลํ้า ให้โอกาสทุกคนในสังคม พัฒนาด้านการศึกษาสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้ ส่งเสริมอาชีพคนพิการ สร้างรายได้ให้มั่นคง แบ่งปันความรู้ทักษะต่างๆ สนับสนุนช่องทางการขายและสื่อสารทางการตลาด พร้อมรักษาและดูแลสิ่งแวดล้อม ผลักดันทุกภาคส่วนสู่การท่องเที่ยวยั่งยืน
ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ประธานกรรมการ บมจ.เซ็นทรัล รีเทลคอร์ปอเรชั่น กล่าวถึงกลุ่มเซ็นทรัลกับการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนว่า กลุ่มเซ็นทรัลมุ่งมั่นสร้างความเจริญก้าวหน้า ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของทุกคน ผ่านการร่วมมือกับชุมชน คู่ค้า ลูกค้า พนักงานและผู้มีส่วนได้เสีย ด้วยการใช้ศักยภาพและความเชี่ยวชาญของกลุ่มบริษัท โดยคำนึงถึงการดำเนินธุรกิจในเชิงคุณภาพที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคม ในการสร้างคุณค่าร่วม (Creating Shared Values) หรือ CSV เพื่อนำความเจริญและส่งเสริมความเป็นอยู่ของคนให้ดีขึ้น มุ่งเน้นการเติบโตไปพร้อมกัน
พิชัย จิราธิวัฒน์ กรรมการบริหาร กลุ่มเซ็นทรัล กล่าวว่า ภายใต้แนวคิดของการร่วมมือจากทุกภาคส่วน ความเชื่อที่ว่าความสามัคคีของทุกคน การร่วมลงมือทำเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นสามารถสร้างสังคมที่ดีกว่าเดิม จึงเป็นที่มาของความตั้งใจในการสร้าง ‘พลังของการร่วมลงมือทำ’ ด้วย ความเชื่อนี้ โครงการ “เซ็นทรัล ทำ” จึงมี Tagline ‘ทำด้วยกัน ทำด้วยใจ’ ตอกย้ำแนวคิดความเชื่อในพลังของการร่วมมือกันทำ และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการตั้งใจทำ และมุ่งมั่นที่จะทำในระยะยาว ซึ่งเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนองค์กรให้ยั่งยืน
สำหรับตัวอย่าง 7 ไฮไลท์ของโครงการ“เซ็นทรัล ทำ” ที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง มีพัฒนาการที่น่าสนใจ และมีความสำเร็จมาเป็นระยะๆ ได้แก่
1.จริงใจ มาร์เก็ต จ.เชียงใหม่ การท่องเที่ยวชุมชนเชิงวิถีเกษตรอินทรีย์
เกิดขึ้นภายใต้แนวคิดรักษ์โลก (Eco-friendly) และ CSV (Creating Shared Values) ภายในตลาดแบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ อาหาร (Food) ศิลปะกับงานออกแบบ (Art & Design) และงานฝีมือ (Craft) เน้นสร้างความสุขอย่างยั่งยืนทั้งแก่ผู้คนในชุมชนและนักท่องเที่ยว ซึ่งตลาดจริงใจถือเป็นตลาดเกษตรอินทรีย์แห่งแรกของกลุ่มเซ็นทรัล โดยเริ่มจากแผงขนาดเล็กไม่ถึง 10 แผง ใช้เวลากว่า 10 ปี ปัจจุบันมีผู้ประกอบการท้องถิ่นและเกษตรกร มีสินค้าเกษตรจาก 15 ชุมชน คิดเป็นกว่า 70 ครัวเรือน และมีผู้ประกอบการอีกเกือบ 250 ราย ที่มาจำหน่ายสินค้าทำมืออัตลักษณ์ไทยและอาหารปลอดภัยพร้อมทาน เป็นการสนับสนุนผู้ประกอบการในท้องที่ให้มีรายได้ยั่งยืน พร้อมส่งเสริมให้สินค้า อาหารและวัฒนธรรมของชาวเชียงใหม่ เป็นซอฟต์พาวเวอร์ ดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติ สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวให้เศรษฐกิจไทยกว่า 40 ล้านบาทต่อปี และตั้งแต่เดือน มิถุนายน ปี 2565 - กลางเดือน มีนาคม ปี 2566 ได้เชิญชวนนักท่องเที่ยวเข้ามาภายในตลาดจริงใจ เชียงใหม่ได้กว่า 820,000 ราย
นอกจากนี้ “จริงใจ มาร์เก็ต” ปลูกจิตสำนึกอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นตลาดปลอดโฟม (No foam 100%) รณรงค์ให้ลูกค้านำกระเป๋าผ้ามาใส่สินค้าเพื่อลดขยะพลาสติก มีจุดตั้งถังขยะแยกประเภทเพื่อส่งต่อไปจัดการขยะที่ถูกต้องได้ง่ายขึ้น ตามเป้าหมายโครงการ Journey to Zero มีการติดตั้งเครื่อง Cowtec เมื่อปี 2565 ทำให้นำเศษอาหามาทำเป็นปุ๋ยและก๊าซชีวภาพให้ชุมชนภายในตลาดใช้ ปัจจุบันลดขยะอาหารไปสู่หลุมฝังกลบได้กว่า 43,000 กิโลกรัม และยังมีการปูพื้นถนนบางส่วนด้วยบล็อกปูถนนรีไซเคิลจากถุงพลาสติก
2.ศูนย์การเรียนรู้ผ้าทอนาหมื่นศรี จ.ตรัง การท่องเที่ยวชุมชนเชิงวัฒนธรรม
‘นาหมื่นศรี’ จังหวัดตรัง มีความโดดเด่น ทั้งด้านวัฒนธรรมและความงดงามทางธรรมชาติ กลุ่มเซ็นทรัลจึงสนับสนุนก่อสร้าง ‘พิพิธภัณฑ์ผ้าทอนาหมื่นศรี’ เพื่อรวบรวมผ้าทอมือโบราณอายุกว่า 200 ปี พร้อมทั้งสืบสานลายอัตลักษณ์โบราณ ในปี 2565 ที่ผ่านมา สามารถสร้างรายได้ให้ชุมชนกว่า 7.3 ล้านบาท และมีจำนวนสมาชิกชุมชนที่เข้าร่วม 155 คน ปัจจุบัน ‘ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนผ้าทอนาหมื่นศรี’ นับได้ว่าเป็นต้นแบบของศูนย์การเรียนรู้การอนุรักษ์เชิงวัฒนธรรมในแต่ละเดือนจะมีหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน แวะเวียนไปดูงานสม่ำเสมอ
3.ศูนย์การเรียนรู้พุทธนิเวศเกษตรอินทรีย์ ไร่เชิญตะวัน จ.เชียงราย การท่องเที่ยวชุมชนเชิงวิถีเกษตรอินทรีย์
เซ็นทรัล ทำ ร่วมมือกับพระเมธีวชิโรดม (ท่าน ว.วชิรเมธี) ผู้ก่อตั้งศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน จังหวัดเชียงรายและภาคีเครือข่าย ต่อยอดโครงการพุทธนิเวศเกษตรอินทรีย์ ไร่เชิญตะวัน ผลักดันสู่ ‘ต้นแบบศูนย์การเรียนรู้ด้านนวัตกรรมการทำเกษตรอินทรีย์’ พัฒนาวิสาหกิจชุมชน เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อความยั่งยืน บนพื้นที่ 2 ไร่ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับเกษตรกร ชาวนา รวมถึงผู้ที่สนใจเข้ามาเรียนรู้ศึกษา
โครงการพุทธนิเวศเกษตรอินทรีย์ ไร่เชิญตะวัน เป็นหนึ่งในโครงการศึกษาแผนแม่บทพัฒนาไร่เชิญตะวัน ให้เป็น ‘พุทธนิเวศสากล’ (International Eco Monastery) เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้การสร้างอาชีพ ภายใต้ภูมิปัญญาใหม่ ให้คนกับคน คนกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อยู่ร่วมกัน เป็นกัลยาณมิตรด้วยจิตที่เป็นกุศล และตื่นรู้ต่อปัญหาของสิ่งแวดล้อม แบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม ด้านการส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงหมุนเวียนระดับพื้นบ้าน และด้านการมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ หากสำเร็จจะเป็นต้นแบบการฟื้นฟูมนุษย์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้อยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน
จากปัญหาใหญ่ของพื้นที่คือแหล่งน้ำไม่สามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งได้ เพราะสภาพผืนดินเป็นดินทรายและมีก้อนหินขนาดใหญ่อยู่ในชั้นดิน ปัจจุบัน แหล่งน้ำในโครงการสามารถกักเก็บน้ำได้ 12,000 ลูกบาศก์เมตร สามารถนำน้ำมาใช้ในการเกษตรของโครงการ และต่อยอดเป็นต้นแบบศูนย์เรียนรู้ด้านนวัตกรรมการทำเกษตรอินทรีย์ได้อย่างสมบูรณ์ ทำเกษตรผสมผสานปลูกข้าวและพืชพื้นถิ่น ขุดบ่อน้ำ จัดทำร่องน้ำ ตามหลักโคกหนองนา เพื่อกักเก็บน้ำและผันน้ำใช้ในการเกษตรรวมถึงการใช้นวัตกรรมมาช่วยทำเกษตร เช่น การใช้แผงโซล่าเซลล์ที่มีอยู่เดิม มาจัดทำระบบ Smart Farm เพื่อใช้สูบน้ำ ทำฟาร์มระบบการเลี้ยงไก่ไข่ที่ปล่อยให้ไก่ออกนอกโรงเรือนได้อย่างอิสระ เพื่อให้แสดงพฤติกรรมตามธรรมชาติ ทำให้ไก่มีความสุขและอารมณ์ดีได้ไข่ที่ดี ปลอดภัย เป็นต้น และในปี 2566 ”เซ็นทรัล ทำ” ตั้งเป้าพัฒนาพื้นที่เกษตรอินทรีย์เพิ่มเติม 13 ไร่ แบ่งเป็น พื้นที่ปลูกไม้ผลกับพืชเศรษฐกิจ 3 ไร่ และผักสวนครัวกับสมุนไพรพื้นบ้าน 10 ไร่
4. ชุมชนเกษตรอินทรีย์วิถีชีวิตยั่งยืนแม่ทา อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่ การท่องเที่ยวชุมชนเชิงวิถีเกษตรอินทรีย์
เซ็นทรัล ทำ ร่วมกับ มูลนิธิสายใยแผ่นดิน (Earth Net Foundation) และหน่วยงานมากมายในการส่งเสริมและสนับสนุนด้านต่าง ๆ ดำเนิน โครงการพื้นที่วิถีชีวิตยั่งยืนแม่ทา เป็นโครงการต้นแบบที่มุ่งหวังให้สมาชิกคนรุ่นใหม่รวมกลุ่มกันจัดสรรพื้นที่ให้เกิดประโยชน์ด้านต่างๆ โดยเซ็นทรัล ทำ พัฒนาศักยภาพการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรได้มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผลักดันให้เป็นชุมชนต้นแบบด้านเกษตรอินทรีย์ เป็นจุดเชื่อมโยงระหว่างคนเมืองและคนท้องถิ่น สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนเห็นคุณค่าของสิ่งที่มี ทั้งพื้นที่ทำกิน วัฒนธรรม และความเชี่ยวชาญที่คนชุมชนมี เพื่อส่งต่อความยั่งยืนจากรุ่นสู่รุ่น เชิญชวนนักท่องเที่ยวเข้ามาเรียนรู้เกษตรอินทรีย์และวิถีชีวิตยั่งยืน และทำการก่อสร้างที่พักโฮมสเตย์ภายในพื้นที่ 4 หลัง เพื่อขยายศูนย์การเรียนรู้ให้นักท่องเที่ยวและเกษตรกรเข้ามาใช้ชีวิตใกล้ชิดชุมชนได้
5.กาแฟรักษาป่า ภูชี้เดือน จ.เชียงราย การท่องเที่ยวชุมชนเชิงนิเวศ
เซ็นทรัล ทำ ได้เข้าไปส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนกลุ่มกาแฟอินทรีย์รักษาป่าภูชี้เดือน จังหวัดเชียงรายสนับสนุนให้เกษตรกรในพื้นที่ภูชี้เดือนปรับเปลี่ยนวิธีการเพาะปลูกจากเกษตรแบบเชิงเดี่ยวและใช้สารเคมี มาเป็นการปลูกกาแฟสายพันธุ์อาราบิก้าแท้ การปรับพื้นที่จากการทำไร่เลื่อนลอย เป็นการปลูกกาแฟรักษาป่ากว่า 1,500 ไร่ และ ในปี 2565 ที่ผ่านมาสร้างรายได้ให้ชุมชนมากกว่า 6 ล้านบาท มีสมาชิกเข้าร่วมกว่า 84 ราย
ในปี 2566 นี้ยังคงสนับสนุนปัจจัยในการผลิตอย่างครบถ้วน ได้แก่ โรงเรือนแปรรูปกาแฟ โกดัง เครื่องจักรและอุปกรณ์ในการผลิตกาแฟ เป็นต้น ทั้งยัง จัดอบรมให้ความรู้ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อต่อยอดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เพื่อเชิญชวนนักท่องเที่ยวได้มาเยือนแหล่งนิเวศและชมกาแฟรักษาป่า พร้อมลิ้มลองรสชาติกาแฟออร์แกนิคแท้ๆ ถึงแหล่งเพาะปลูกอีก พัฒนาเมล็ดกาแฟภายใต้แบรนด์ good goods ที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน อย. และ GMP มาจำหน่ายที่ร้าน good goods และ ท็อปส์ มาร์เก็ต ในรูปแบบเครื่องดื่มและเมล็ดกาแฟ จนได้รับรางวัล
6.ชุมชนผ้าย้อมครามบ้านกุดจิก จ.สกลนคร การท่องเที่ยวชุมชนเชิงวัฒนธรรม
เซ็นทรัล ทำ ร่วมมือกับ กรมพัฒนาชุมชน เข้าไปสนับสนุนพัฒนากลุ่มทอผ้าบ้านกุดจิก ให้ความสำคัญกับความร่วมมือระหว่างชุมชนและองค์กร หาจุดเด่น และเอกลักษณ์ ด้วยฝีมือที่โดดเด่นและยังคงแบบแผนการทอผ้าแบบโบราณตามดั้งเดิม ใช้วัตถุดิบท้องถิ่น ปลูกต้นครามและต้นฝ้ายในชุมชน จึงได้เส้นฝ้ายแท้ๆ และสีครามสวยๆ มาสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ที่สวยงามและทนทาน การเข้าไปแบ่งปันความรู้ด้านการทอผ้า การสร้างลวดลายใหม่ สนับสนุนโรงย้อมผ้า และช่องทางการจำหน่าย และนำผ้าครามสกลฯ มาพัฒนาเป็นสินค้าหลากหลายแบบภายใต้แบรนด์ ‘กุ๊ด กุ๊ดส์’ good goodsเพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชนและสืบสานวัฒนธรรมการทอผ้า
นอกจากนี้ ชุมชนบ้านกุดจิก ได้จำลองเส้นทางท่องเที่ยวภายในชุมชน และร่วมวางแผนพัฒนาโครงการ โดยจะมีกิจกรรมต่างๆ ที่น่าสนใจ เช่น การทอผ้าย้อมครามซึ่งมีกรรมวิธีที่น่าสนใจและปลอดสารเคมี กิจกรรมหุงข้าวฮางทิพย์ซึ่งเป็นสินค้าขึ้นชื่อของบ้านกุดจิก การเยี่ยมชมของใช้เก่าแก่ที่บ้านภูไทโบราณ ชมวัดโพธิ์ศรีวัดประจำชุมชม ศึกษาตัวอย่างเกษตรทฤษฎีใหม่โคกหนองนา และลิ้มรสเมนูอาหารพื้นถิ่นของชาวภูไท สกลนคร ที่หาทานได้ที่นี่ที่เดียว
ความสำเร็จที่เกิดขึ้นไม่ใช่เพียงเพราะการสนับสนุนจากกลุ่มเซ็นทรัลเท่านั้น แต่เกิดจากร่วมมือของหลายฝ่าย ที่ร่วมทำด้วยกัน ทำด้วยความใส่ใจ จนเป็นความสำเร็จก้าวแรกในวันนี้ ในปี 2565 เซ็นทรัล ทำ สร้างรายได้ให้กับชุมชน 1 ล้านบาท ต่อปี มีสมาชิก 30 คน และในปี 2566 จะต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์และโครงการเป็นศูนย์การเรียนรู้การทอผ้าย้อมครามและสีธรรมชาติ จะปรับปรุงโรงย้อมสีธรรมชาติ รวมทั้งปรับภูมิทัศน์บริเวณโดยรอบ จะจัดทำเส้นทางท่องเที่ยวและป้ายข้อมูล เพื่อให้นักท่องเที่ยวทราบเเหล่งข้อมูลท่องเที่ยวในชุมชน และอบรมความรู้เรืองการท่องเที่ยวชุมชนให้ชุมชนเพื่อเตรียมพร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยว รวมทั้งอบรมการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม เพื่อรองรับปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นจากนักท่องเที่ยว รวมทั้ง และมีแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์เเละจัดทำของที่ระลึกคุณภาพ ดีไซน์ทันสมัยเเละสอดคล้องกับความต้องการของนักท่องเที่ยว และประชาสัมพันธ์โครงการ ผ่าน Social Media ‘Central Tham’ ส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน วัฒนธรรม วิถีชีวิต ผลิตภัณฑ์ประจำถิ่น เพื่อสร้างรายได้ด้านการท่องเที่ยวให้กับชุมชน
7. ศูนย์การเรียนรู้พัฒนาผลผลิตการเกษตรและผลิตภัณฑ์ชุมชน บ้านเทพพนา อ.เทพสถิต จ.ชัยภูมิ
โครงการเซ็นทรัล ทำ โดยกลุ่มเซ็นทรัล พัฒนาต่อยอดด้านท่องเที่ยวชุมชนเชิงวิถีเกษตรอินทรีย์ โดยจัดทำเส้นทางท่องเที่ยวร่วมกับสำนักงานท่องเที่ยวและกีฬา จ.ชัยภูมิ รองรับนักท่องเที่ยวที่เพิ่มทุกปี และสนับสนุนการสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Creation) ร่วมกับชุมชนในด้านต่างๆ เช่น ส่งเสริมอาชีพด้านเกษตรอัจฉริยะด้วยการปลูกอะโวคาโดสายพันธุ์แฮส เพิ่มพื้นที่สีเขียวทดแทนป่าเสื่อมโทรม จำนวน 2,000 ไร่ สนับสนุนการสร้างแบรนด์สินค้า (ภูมิพนา)และช่องทางการตลาด เพื่อสร้างโอกาสในการทำตลาดและการเข้าถึงของผู้บริโภค ส่งเสริมการยกระดับคุณภาพผลผลิตและเพิ่มมูลค่าสินค้า การสร้างอาคารรวบรวมผลผลิต และแปรรูป การสร้างศูนย์เรียนรู้พัฒนาผลผลิตการเกษตรและผลิตภัณฑ์ชุมชนและพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์และท่องเที่ยววิถีชุมชน ในปี 2565 ที่ผ่านมา ชุมชนมีสมาชิกกว่า 400 ราย มีรายได้กว่า 3 ล้านบาท และตั้งเป้าเพิ่มสมาชิกปีละ 100 ราย
พิชัย กล่าวทื้งท้ายโดยสรุปถึงความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมในปี 2565 ว่า ในด้านพลังงานสะอาด สามารถติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์บนหลังคา 101 แห่ง ผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ 71,500 เมกะวัตต์-ชั่วโมง ติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า 80 สถานี ลดการสูญเสียอาหารและขยะอาหารกว่า 4,000 ตัน ลดขยะจากการรีไซเคิลและการนำมาใช้ประโยชน์กว่า 10,000 ตัน บรรจุภัณฑ์ ร้อยละ 85 ของแบรนด์สินค้าในกลุ่มเซ็นทรัล (กลุ่มอาหาร) เป็นวัสดุรีไซเคิล เพิ่มพื้นที่สีเขียวและฟื้นฟูป่า 5,519 ไร่ สร้างงานและสนับสนุนอาชีพให้คนพิการ 751 คน สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนกว่า 1,500 ล้านบาท แสะสามารถนับสนุนชุมชนกว่า 100,000 ครัวเรือน สำหรับเป้าหมายในปี 2566 จะสร้างรายได้ให้กับชุมชน ให้ได้ 1,800 ล้านบาท ต่อปี เพิ่มพื้นที่สีเขียวและฟื้นฟูป่า 6500 ไร่ และบรรลุเป้า Net Zero ภายในปี 2050