ตลาดแรงงานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่ขับเคลื่อนโดยแรงงานนอกระบบซึ่งมีสัดส่วนเกินกว่าครึ่งหนึ่งของแรงงานทั้งหมดในภูมิภาค แรงงานเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในหลากหลายอุตสาหกรรม รวมถึงการจัดการขยะและการรีไซเคิล ซึ่งเป็นภาคส่วนที่ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้น เนื่องจากทั่วโลกต่างหันมาให้ความสำคัญกับเป้าหมายด้านความยั่งยืน โดยเฉพาะปัญหาเกี่ยวกับพลาสติก ซึ่งจะเป็นประเด็นสำคัญอันดับต้นๆ ที่ถูกกล่าวถึงเมื่อมีการเจรจาเกี่ยวกับรายละเอียดของข้อตกลงที่มีผลผูกพันทางกฎหมายในระดับโลกเกิดขึ้น
แม้แรงงานนอกระบบเป็นแกนหลักในการจัดการขยะและการรีไซเคิลของภูมิภาคนี้ แต่บทบาทและความต้องการของคนกลุ่มนี้มักถูกมองข้าม ขณะที่รัฐบาล นักลงทุน และองค์กรธุรกิจพยายามเดินหน้าเพื่อสร้างห่วงโซ่อุปทานแบบหมุนเวียนเพิ่มขึ้น เราจึงจำเป็นต้องใช้โอกาสนี้เพื่อสนับสนุนให้แรงงานนอกระบบมีความเสมอภาคทางสังคมมากยิ่งขึ้น
การออกแบบห่วงโซ่อุปทานที่มีความรับผิดชอบเป็นงานที่ซับซ้อนในภูมิภาคที่มีความหลากหลายอย่างเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การจัดหาแหล่งวัตถุดิบที่มีความรับผิดชอบและมีจริยธรรมนับเป็นเป้าหมายที่ซับซ้อนที่จะดำเนินการให้สำเร็จ ตัวอย่างเช่น การใช้พลาสติกรีไซเคิลซึ่งมีห่วงโซ่อุปทานที่เกี่ยวข้องกับแรงงานจำนวนมากจากสองแหล่งที่มาที่แตกต่างกัน คือ แรงงานที่อยู่ในระบบ และแรงงานนอกระบบ ในขณะที่แรงงานที่อยู่ในระบบยังไม่ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มรูปแบบ เนื่องจากขาดเงินทุนและความรู้ที่เพียงพอในการจัดการขยะอย่างยั่งยืน จึงเป็นผลให้การเก็บขยะส่วนใหญ่เป็นหน้าที่ของแรงงานนอกระบบ
ดังจะเห็นได้จากสถานการณ์ในประเทศไทย ดังนั้น การมีส่วนร่วมของแรงงานนอกระบบจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างหลักปฏิบัติที่ยั่งยืแรงงานนอกระบบมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการจัดเก็บขยะ โดยผลการศึกษาล่าสุดจาก 9 เมืองใหญ่ใน 6 ประเทศอาเซียน รวมถึงประเทศไทย พบว่า พลาสติกประเภทโพลีเอทิลีน เทเรฟทาเลต (PET) กว่า 95% ที่กลับเข้าสู่ระบบรีไซเคิล ถูกจัดเก็บโดยแรงงานนอกระบบ แต่แรงงานเหล่านี้กลับได้รับผลกระทบจากการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชนและเสี่ยงต่อการถูกเอารัดเอาเปรียบมากที่สุด
รวมทั้ง ยังไม่สามารถเรียกร้องการแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง ยิ่งไปกว่านั้น ชุมชนของแรงงานนอกระบบยังประกอบไปด้วยกลุ่มคนที่เปราะบางที่สุดในสังคม ซึ่งถูกกีดกันทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม ถูกเอาเปรียบด้วยค่าแรงและการจ้างงานที่ต่ำกว่ามาตรฐาน และในหลายกรณี คนเก็บขยะเหล่านี้แทบจะไม่มีโอกาสที่จะยกระดับสถานภาพทางสังคมของตนเอง เนื่องจากอุปสรรคเชิงระบบที่มีมาอย่างยาวนาน
การวิจัยภาคสนามโดย Stockholm Environment Institute ใประเทศไทย พบข้อมูลคล้ายกันว่า คนเก็บขยะนอกระบบต้องทำงานในสภาพแวดล้อมที่อันตราย เก็บขยะโดยไม่มีอุปกรณ์ป้องกันภัย ทำให้เสี่ยงต่อการสัมผัสกับสารปนเปื้อนและวัตถุอันตราย และเนื่องจากเป็นแรงงานที่ไม่ได้อยู่ในรูปแบบการจ้างงานโดยบริษัท เมื่อนำขยะรีไซเคิลไปขายจึงมักจะเสียเปรียบและไม่สามารถต่อรองราคากับผู้ซื้ิอได้ สภาพแวดล้อมในการทำงานของคนเก็บขยะนอกระบบเป็นประเด็นที่เริ่มได้รับความสนใจมากขึ้น เนื่องจากภาคเอกชนมีการสร้างแรงกดดันให้กับคู่ค้าเพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่เกิดการกระทำที่เป็นการเลือกปฏิบัติในห่วงโซ่อุปทานของตน
ทั้งนี้ นอกเหนือจากมิติด้านจริยธรรมแล้ว เราจะเห็นได้ว่าแรงงานนอกระบบคือกลุ่มคนที่มีศักยภาพอย่างมหาศาลในการรักษาสิ่งแวดล้อมและยังสามารถสร้างมูลค่าทางการเงินจากการเก็บขยะ การพัฒนาและยกระดับภาคส่วนที่ถูกมองข้ามอย่างแรงงานนอกระบบ จะช่วยให้ภาคเอกชนสามารถสร้างระบบนิเวศที่ยั่งยืนและแข็งแกร่งยิ่งขึ้น ขณะเดียวกัน เรายังสามารถนำความรู้และบทบาทของแรงงานกลุ่มนี้มาต่อยอดให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมได้อีกด้วย
ความมุ่งมั่นด้านความยั่งยืนกระตุ้นความเปลี่ยนแปลงด้านการจัดหาแหล่งวัตถุดิบอย่างรับผิดชอบ เราจะเห็นได้ว่ารัฐบาลในประเทศต่างๆ ทั่วโลกกำหนดระเบียบและข้อบังคับเพื่อเพิ่มอัตราการรีไซเคิลพลาสติก ไม่ว่าจะเป็นข้อบังคับด้านสัดส่วนการใช้วัสดุรีไซเคิลในการผลิตสินค้า ไปจนถึงการนำหลักการขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต (EPR) มาใช้ในหลายประเทศในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
หลายประเทศมีการนำเสนอแผนงานที่ปฏิบัติได้จริงในการจัดการขยะพลาสติกอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นการกระตุ้นเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนในประเทศ
โดยตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือการที่รัฐบาลไทยตั้งเป้าหมายในการนำขยะพลาสติกเป้าหมายกลับมาใช้ใหม่ 100% ภายในปี 2570 การที่ผู้บริโภคหันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้นยังเป็นแรงขับเคลื่อนให้การจัดการขยะพลาสติกมีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการกำหนดกรอบการทำงานด้านการกำกับดูแลและนโยบายของภาครัฐ
การวิจัยภาคสนามโดย Stockholm Environment Institute ใประเทศไทย พบข้อมูลคล้ายกันว่า คนเก็บขยะนอกระบบต้องทำงานในสภาพแวดล้อมที่อันตราย เก็บขยะโดยไม่มีอุปกรณ์ป้องกันภัย ทำให้เสี่ยงต่อการสัมผัสกับสารปนเปื้อนและวัตถุอันตราย และเนื่องจากเป็นแรงงานที่ไม่ได้อยู่ในรูปแบบการจ้างงานโดยบริษัท เมื่อนำขยะรีไซเคิลไปขายจึงมักจะเสียเปรียบและไม่สามารถต่อรองราคากับผู้ซื้ิอได้ สภาพแวดล้อมในการทำงานของคนเก็บขยะนอกระบบเป็นประเด็นที่เริ่มได้รับความสนใจมากขึ้น เนื่องจากภาคเอกชนมีการสร้างแรงกดดันให้กับคู่ค้าเพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่เกิดการกระทำที่เป็นการเลือกปฏิบัติในห่วงโซ่อุปทานของตน
ทั้งนี้ นอกเหนือจากมิติด้านจริยธรรมแล้ว เราจะเห็นได้ว่าแรงงานนอกระบบคือกลุ่มคนที่มีศักยภาพอย่างมหาศาลในการรักษาสิ่งแวดล้อมและยังสามารถสร้างมูลค่าทางการเงินจากการเก็บขยะ การพัฒนาและยกระดับภาคส่วนที่ถูกมองข้ามอย่างแรงงานนอกระบบ จะช่วยให้ภาคเอกชนสามารถสร้างระบบนิเวศที่ยั่งยืนและแข็งแกร่งยิ่งขึ้น ขณะเดียวกัน เรายังสามารถนำความรู้และบทบาทของแรงงานกลุ่มนี้มาต่อยอดให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมได้อีกด้วย
ความมุ่งมั่นด้านความยั่งยืนกระตุ้นความเปลี่ยนแปลงด้านการจัดหาแหล่งวัตถุดิบอย่างรับผิดชอบ เราจะเห็นได้ว่ารัฐบาลในประเทศต่างๆ ทั่วโลกกำหนดระเบียบและข้อบังคับเพื่อเพิ่มอัตราการรีไซเคิลพลาสติก ไม่ว่าจะเป็นข้อบังคับด้านสัดส่วนการใช้วัสดุรีไซเคิลในการผลิตสินค้า ไปจนถึงการนำหลักการขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต (EPR) มาใช้ในหลายประเทศในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
หลายประเทศมีการนำเสนอแผนงานที่ปฏิบัติได้จริงในการจัดการขยะพลาสติกอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นการกระตุ้นเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนในประเทศ โดยตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือการที่รัฐบาลไทยตั้งเป้าหมายในการนำขยะพลาสติกเป้าหมายกลับมาใช้ใหม่ 100% ภายในปี 2570 การที่ผู้บริโภคหันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้นยังเป็นแรงขับเคลื่อนให้การจัดการขยะพลาสติกมีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการกำหนดกรอบการทำงานด้านการกำกับดูแลและนโยบายของภาครัฐ
ทั้งนี้ ผลการศึกษาผู้บริโภคจากทั่วโลกที่จัดทำขึ้นโดย Deloitte เผยว่าผู้บริโภคเกือบหนึ่งในสี่จะเปลี่ยนมาซื้อผลิตภัณฑ์จากบริษัทที่ให้ความสำคัญกับปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยผู้บริโภคมีความใส่ใจต่อการนำวัสดุกลับมาใช้ซ้ำหรือนำไปรีไซเคิลภายใต้ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นอย่างมาก และคาดหวังว่าธุรกิจต่างๆ จะมีบทบาทในการกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก
เมื่อความต้องการพลาสติกรีไซเคิลมีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง แรงงานนอกระบบซึ่งเป็นผู้ที่นำขยะกลับเข้าสู่ระบบโดยตรงจะมีบทบาทสำคัญเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน เวลานี้จึงเป็นเวลาที่เหมาะสมที่ทุกภาคส่วนในระบบนิเวศจะจัดการกับปัญหาขั้นพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิภาพและการปฏิบัติต่อแรงงานนอกระบบ เพื่อให้มั่นใจว่ามาตรฐานของห่วงโซ่อุปทานอยู่ในระดับสูงสุด ภาคธุรกิจมีส่วนกำหนดแนวทางเพื่อสร้างความเสมอภาคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีศักยภาพอย่างยิ่งในการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนทั้งในด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเป็นศูนย์กลางของการผลิตและการบริโภคขนาดใหญ่ นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยที่เอื้ออำนวยหลายประการที่ทำให้ภูมิภาคนี้ไม่จำเป็นต้องเริ่มสร้างการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป แต่สามารถมุ่งสู่การสร้างความเสมอภาคให้กับแรงงานนอกระบบทั่วทั้งห่วงโซ่คุณค่าของพลาสติกได้โดยตรง และภาคธุรกิจมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการเปลี่ยนผ่านนี้
ทั้งนี้ ภาคเอกชนมีส่วนในการสร้างปัญหาดังที่กล่าวมา ในขณะเดียวกันยังมีบทบาทเป็นผู้ขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อแก้ปัญหาในวงกว้าง นอกเหนือจากการผลักดันให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทานปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับและกฎหมายและการกำหนดให้การเคารพสิทธิมนุษยชนเป็นแกนหลักของการพัฒนาธุรกิจแล้ว
ภาคเอกชนยังมีบทบาทในการชี้นำอุตสาหกรรมและชุมชนในวงกว้างให้ปฏิบัติตามแนวทางความรับผิดชอบต่อสังคม นอกจากนี้ การทำงานร่วมกับหน่วยงานกำกับดูแลระหว่างประเทศ องค์กรพัฒนาเอกชนที่ไม่แสวงหาผลกำไร (NGO) และนักลงทุน ยังเป็นโอกาสให้ภาคเอกชนสามารถใช้ช่วงเวลานี้นำเสียงสะท้อนจากแรงงานนอกระบบมาสู่ความสนใจของสังคมได้เป็นอย่างดี