xs
xsm
sm
md
lg

FutureTales Lab ฉายภาพ 4 อนาคตที่เป็นไปได้กับ Metaverse พร้อมให้ดาวน์โหลดเพื่อแบ่งปันความรู้

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ศูนย์วิจัยอนาคตศึกษาจัดตั้งโดย MQDC (FutureTales Lab by MQDC) รวบรวม วิเคราะห์ เพื่อคาดการณ์อนาคต ทำให้เข้าใจถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต หลังการศึกษา metaverse ออกรายงาน 2 ฉบับ ฉบับแรกพบ 4 อนาคตที่เป็นไปได้ของ metaverse ฉบับที่สองคือการทดลองทางความคิดเรื่อง “จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าเมตาเวิร์สสามารถหักล้างทฤษฎีที่มีมายาวนานได้”

ดร.การดี เลียวไพโรจน์ ผู้อำนวยการบริหาร ศูนย์วิจัยอนาคตศึกษา (FutureTales Lab by MQDC)
ดร.การดี เลียวไพโรจน์ ผู้อำนวยการบริหาร ศูนย์วิจัยอนาคตศึกษา (FutureTales Lab by MQDC) กล่าวว่า
วิวัฒนาการและนวัตกรรม เป็นส่วนหนึ่งของทุกอุตสาหกรรม สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจระบบนิเวศที่เราดำเนินการอยู่ “ความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลง ปรับตัว และความก้าวหน้านั้นเกิดขึ้นตลอดเวลา แต่สิ่งสำคัญคือต้องทำด้วยการคิดเชิงคาดการณ์อนาคต และใช้หลักคาดการณ์อนาคตที่เหมาะสม”

“ศูนย์วิจัยอนาคตศึกษา รวบรวม วิเคราะห์ เพื่อคาดการณ์อนาคต ทั้งหมดนี้อยู่ในกระบวนการของเราที่จะต้องตระหนักและรู้เท่าทันเกี่ยวกับแนวโน้มของเทคโนโลยีและผลกระทบที่อาจส่งผลต่ออนาคตของสรรพสิ่ง ดังนั้น เทคโนโลยีในรูปแบบใหม่ๆ และโลกเสมือนหรือ metaverse เป็นหนึ่งในหลายงานวิจัยที่ศูนย์ฯให้ความสำคัญ”

การศึกษา metaverse ของศูนย์วิจัยฯ ทำให้มีรายงานออกมา 2 ฉบับ รายงานแรก ศูนย์วิจัยฯ ค้นพบ 4 อนาคตที่เป็นไปได้ของ metaverse บนสมมติฐานของการกระจายอำนาจ (decentralization) เมื่อจับคู่กับสองส่วนสำคัญของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ รายงานที่สอง คือการทดลองทางความคิดเรื่อง “จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเมตาเวิร์สสามารถหักล้างทฤษฎีที่มีมายาวนานได้” รายงานนี้เป็นการชวนให้ทุกคนมาคิดและจินตนาการไปด้วยกันว่าการรวมเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องจะส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของเราในอนาคตข้างหน้าอย่างไร


ใน 'Metaverse Building Blocks: The Four Scenarios' รายงานของศูนย์วิจัยฯ ค้นพบสี่สถานการณ์ที่มีความเป็นไปได้ในอนาคต ซึ่งสามารถเล่าออกมาเป็นภาพได้ดังนี้

สถานการณ์ที่ 1: ดินแดนแห่งความเท่าเทียม (Autonomous Arcadia) ดึงชื่อมาจากลักษณะการดำรงอยู่และการดำเนินงานที่เปิดกว้างและทำงานร่วมกันได้ ในอนาคต Virtuality ทำให้เกิดสังคมที่มีส่วนร่วม อนุญาตให้มีการผสมผสานระหว่างความเป็นจริง ทางกายภาพ และดิจิทัล ซึ่งสมาชิกทุกคนในสังคมเห็นคุณค่าและรู้สึกหวงแหน


สถานการณ์ที่ 2: สรวงสวรรค์ราคาแพง (Paid Paradise) เป็นอนาคตที่การขาดการทำงานร่วมกันระหว่างในส่วนประกอบฮาร์ดแวร์ทำให้เกิดความแตกแยกที่ลึกยิ่งขึ้นในโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมที่กว้างขึ้น สิ่งนี้จะนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของความไม่เท่าเทียมกัน


สถานการณ์ที่ 3: สวรรค์ของชนชั้นสูง (Elite Elysium) เป็นตัวแทนของ "หอคอยงาช้าง" การเข้าถึงการใช้งาน metaverses เป็นสิทธิพิเศษและถือเป็นตัวบ่งชี้สถานะ - มีเพียง 'ชนชั้นสูง' ของสังคมเท่านั้นที่มีสิทธิ์เข้าถึงความเป็นจริงนี้ ในขณะที่ชนชั้นอื่นไม่มี


สถานการณ์ที่ 4: กลเกมสิทธิบัตร (Leapfrog) บริษัทฮาร์ดแวร์ขนาดใหญ่ทำข้อตกลงเพื่อเข้าถึงการพัฒนาและนวัตกรรม ผู้บริหารของแต่ละบริษัทต่างโยนสิทธิบัตรเข้าไปเผาในกองเพลิงเพื่อแสดงออกถึงการทำงานร่วมกัน แม้ว่าบริษัทซอฟต์แวร์ต่างๆจะออกมาบอกว่าพวกเขาจะทำตาม (โดยมีข้อเรียกร้องมากมาย) แม้ว่าอุปกรณ์จะทำงานร่วมกันได้ แต่ราคาของใบอนุญาตซอฟต์แวร์ก็จำกัดการมีส่วนร่วมและการเติบโต อาจดูคล้ายว่าทุกอย่างน่าจะดีขึ้น – แต่การปิดกั้นทางการจ่ายกำลังฉุดรั้งสังคมไว้

รายงานฉบับที่สอง 'จะเกิดอะไรขึ้นถ้า Metaverse สามารถหักล้างทฤษฎี (ที่มีมายาวนาน) ได้' เป็นแบบฝึกหัดความคิดหรือที่เราชอบเรียกในศูนย์วิจัยฯว่า "ยิมนาสติกทางจิต" เพื่อท้าทายรูปแบบการคิดและจิตใต้สำนึก การวิจัยเชิงสำรวจนี้จะชวนให้คิดว่าการมี metaverse อาจส่งผลกระทบต่อวิธีที่เราเข้าใจโลกรอบตัวเราหรือไม่และอย่างไร ก่อนจะเปิดอ่านงานวิจัยนี้ขอให้คุณเปิดใจให้กว้าง เพราะเนื้อหาค่อนข้างจะเข้าถึงยาก (abstract)

E-book ฉบับเต็มสามารถดาวโหลดได้แล้วที่เวปไซต์ของ FutureTales Lab by MQDC


Metaverse Building Blocks | The Four Scenarios : https://www.futuretaleslab.com/research/metaversebuildingblock

What if the Metaverse Could Disprove (Long-Held) Theories? : https://www.futuretaleslab.com/research/whatifmetaverse

ทั้งนี้ ฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ (FutureTales Lab by MQDC) คือศูนย์วิจัยเอกชน ก่อตั้งโดยบริษัทอสังหาชั้นนำของประเทศ ที่ทำการศึกษา วิเคราะห์ และรวบรวมข้อมูลที่สำคัญต่ออนาคต เพื่อสร้างอนาคตที่ดีให้กับมนุษยชาติ


ฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ ศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับอนาคตของการใช้ชีวิต โดยใช้เครื่องมือการคาดการณ์อนาคตเพื่อสะท้อนภาพของ การอยู่อาศัย การทำงาน การเรียนรู้ การใช้เวลาว่าง คมนาคมขนส่ง และ บริบทของความยั่งยืน


นักวิจัยของฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ มุ่งวิเคราะห์ข้อมูล สำรวจและคาดการณ์อนาคต พร้อมสร้างแพลตฟอร์มความร่วมมือกับนักอนาคตศาสตร์ระดับประเทศและนานาชาติทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา รวมไปถึงชุมชนต่างๆ


ศูนย์ฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ ตั้งอยู่ที่โครงการทรู ดิจิทัล พาร์ค กรุงเทพฯ โดยจะเป็นศูนย์หลักในการจัดกิจกรรมเพื่อเผยแพร่ข้อมูลเชิงลึกและแนวคิดใหม่ ๆ ในด้านต่าง ๆ เช่นการออกแบบ นโยบายนักวิจัย และโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น
ข้อมูลและงานวิจัยของศูนย์ฟิวเจอร์เทลส์เปิดกว้างสำหรับนักวิจัย พันธมิตรทางธุรกิจ และประชาชนทั่วไปที่สนใจเรื่องอนาคตศึกษา


กำลังโหลดความคิดเห็น