เพราะ 17 ปัญหาสำคัญของโลก ที่ผู้นำ 193 ประเทศยืนยันจะเร่งทำให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนหรือ SDGs ภายในปี 2030 โดยเฉพาะเป้าหมายที่ 13 นับว่าวิกฤตที่สุด จึงกำหนดข้อความว่า…
“ปฏิบัติการอย่างเร่งด่วน เพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น”
เห็นได้ชัดว่ามีภัยธรรมชาติทั้ง น้ำท่วมใหญ่ แผ่นดินไหว ดินถล่ม พายุรุนแรง ประเทศต่างๆโดนผลกระทบกันทั่วหน้า
ประเทศไทยก็ถูกจัดว่าตกอยู่ในความเสี่ยงอันดับ 9 ของโลก จึงต้องตื่นตัวและให้ความสำคัญกับการมีแผนและมาตรการเพื่อรับมือในเรื่องนี้
สังคมได้เห็นบทบาทของ 'วราวุธ ศิลปอาชา' รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่มีความมุ่งมั่นดำเนินภารกิจที่สอดคล้องกับกระแสโลกที่ให้ความสำคัญกับการป้องกันและแก้ปัญหาผลกระทบรุนแรงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ตัวอย่างหนึ่งที่เป็นรูปธรรมและจะเป็นประโยชน์มากก็คือ ผลักดันการจัดตั้งกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม หรือกรม Climate Change
กรมที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่นี้จะเป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนและดำเนินการดูแลและรับมือสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวน เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์และมีประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันและแก้ปัญหาเพื่อให้เดินหน้ารวดเร็ว ก็จะใช้วิธีเปลี่ยนชื่อ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้กลายเป็น กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
โดยปรับบทบาทหน่วยงานเดิมให้มีความชัดเจน เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและสถานการณ์โลกด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะไม่กระทบต่ออัตรากำลังและงบประมาณ
ตอนนี้คณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ ซึ่งมีพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นประธาน ได้รับทราบการเสนอจัดตั้ง กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ตามที่รัฐมนตรีวราวุธเสนอ ซึ่งคาดว่าสามารถจะนำร่างพ.ร.บ. ฉบับนี้เข้าสู่คณะรัฐมนตรีต้นปีใหม่ 2566
นี่่น่าจะเป็นการแสดงให้นานาชาติเห็นความมุ่งมั่นตั้งใจของประเทศไทยในการแก้ปัญหาเร่งด่วนเรื่องวิกฤตสภาพภูมิอากาศโลกรวน
ขณะเดียวกัน ร่างกฎหมายจัดการสภาพภูมิอากาศฉบับนี้ จะยกระดับจากภาคสมัครใจ (Voluntary) ให้เป็นภาคบังคับ (Mandatory) เพื่อให้เกิดสัมฤทธิ์ผล
มีตัวอย่างในต่างประเทศเช่นสหภาพยุโรป ของ 5 ประเภทสินค้าที่จะนำเข้า EU คือ ปุ๋ย เหล็ก อะลูมิเนียม ไฟฟ้าและซีเมนต์ ซึ่งเขาให้เวลาปรับตัว 3 ปีจาก 2566 และตั้งแต่ 1 มกราคม 2569 จะเริ่มบังคับใช้ใบรับรอง CBAM ที่ผู้นำเข้าจะต้องซื้อตามปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และยังมีแผนเก็บภาษีสินค้าที่กระบวนการผลิตมีผลต่อการทำลายป่า
ตัดภาพมาที่เมืองไทย กรมที่จะตั้งขึ้นใหม่นี้มีหน้าที่อะไร
1. จัดทำนโยบาย ยุทธศาสตร์ และมาตรการเกี่ยวกับการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศและลดก๊าซเรือนกระจก
2. ประเมินความเสี่ยงและผลกระทบจาก Climate Change
3. เสนอแนวทางและดำเนินการตามพันธกรณีของอนุสัญญาพิธีสาร และความตกลงระหว่างประเทศ และระดับภูมิภาคที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
4. การใช้พลังงานอย่างยั่งยืนและปกป้องสิ่งแวดล้อม
5. ประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน องค์กรในประเทศและต่างประเทศ เพื่อดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
นอกจากนี้ ยังมีการเพิ่มบทบัญญัติเกี่ยวกับการบริหารคาร์บอนเครดิต กลไกการเงินที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสนองเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก อันเป็นสาเหตุของ “ภาวะโลกร้อน” และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผันผวน
เมื่อมองไปในระดับโลก ปัจจุบันมี 26 ประเทศที่มีการจัดตั้งกรม Climate Change มีทั้งในทวีปเอเชีย ทวีปยุโรป ทวีปแอฟริกาและทวีปอเมริกา
ข้อคิด...
หวังว่าการผลักดันกระบวนการจัดตั้งกรม Climate Change จะเริ่มเดินเครื่องเข้าครมตั้งแต่ต้นปีใหม่ แล้วผ่านรัฐสภาเป็นกฎหมายได้ทันยุค ก็จะเป็นผลงานสำคัญของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตัวแทนภาครัฐจากประเทศไทยซึ่งไปร่วมประชุม COP27 ซึ่งเป็นการติดตามผลและรายงานความคืบหน้าของแผน ที่ไทยจะบรรลุเป้าหมายการเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2050 และถึงระดับปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นศูนย์ในปี 2065 ซึ่งทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาสังคมรู้และร่วมมือกันให้ได้ผล
ปัจจุบันมีแนวคิดและแนวปฏิบัติ ที่มุ่งสู่ความยั่งยืน (Sustainability) เช่น ESG องค์ประกอบ 3 มิติเพื่อความยั่งยืน ซึ่งวงการตลาดทุน มีผลวิจัยสามารถยืนยันผลดีได้
BCG Model หรือเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน(Circular Economy) เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ซึ่งเป็น 3 แนวทางเพิ่มมูลค่าให้กับทรัพยากรในประเทศ หมุนเวียนใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ลดการสูญเสียและพัฒนาเศรษฐกิจ ที่คำนึงถึงคุณค่าทางสังคมและไม่ทำร้ายสิ่งแวดล้อม
แนวทางเหล่านั้นล้วนสอดคล้องกัน เป็นตัวอย่างของการพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อดำเนินกิจการที่คำนึงถึงความสมดุลของ ESG คือเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (E) รับผิดชอบต่อสังคมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (S) และบริหารจัดการด้วยหลักธรรมาภิบาล คือมีความถูกต้องและเป็นธรรม (G)
suwatmgr@gmail.com
“ปฏิบัติการอย่างเร่งด่วน เพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น”
เห็นได้ชัดว่ามีภัยธรรมชาติทั้ง น้ำท่วมใหญ่ แผ่นดินไหว ดินถล่ม พายุรุนแรง ประเทศต่างๆโดนผลกระทบกันทั่วหน้า
ประเทศไทยก็ถูกจัดว่าตกอยู่ในความเสี่ยงอันดับ 9 ของโลก จึงต้องตื่นตัวและให้ความสำคัญกับการมีแผนและมาตรการเพื่อรับมือในเรื่องนี้
สังคมได้เห็นบทบาทของ 'วราวุธ ศิลปอาชา' รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่มีความมุ่งมั่นดำเนินภารกิจที่สอดคล้องกับกระแสโลกที่ให้ความสำคัญกับการป้องกันและแก้ปัญหาผลกระทบรุนแรงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ตัวอย่างหนึ่งที่เป็นรูปธรรมและจะเป็นประโยชน์มากก็คือ ผลักดันการจัดตั้งกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม หรือกรม Climate Change
กรมที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่นี้จะเป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนและดำเนินการดูแลและรับมือสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวน เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์และมีประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันและแก้ปัญหาเพื่อให้เดินหน้ารวดเร็ว ก็จะใช้วิธีเปลี่ยนชื่อ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้กลายเป็น กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
โดยปรับบทบาทหน่วยงานเดิมให้มีความชัดเจน เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและสถานการณ์โลกด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะไม่กระทบต่ออัตรากำลังและงบประมาณ
ตอนนี้คณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ ซึ่งมีพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นประธาน ได้รับทราบการเสนอจัดตั้ง กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ตามที่รัฐมนตรีวราวุธเสนอ ซึ่งคาดว่าสามารถจะนำร่างพ.ร.บ. ฉบับนี้เข้าสู่คณะรัฐมนตรีต้นปีใหม่ 2566
นี่่น่าจะเป็นการแสดงให้นานาชาติเห็นความมุ่งมั่นตั้งใจของประเทศไทยในการแก้ปัญหาเร่งด่วนเรื่องวิกฤตสภาพภูมิอากาศโลกรวน
ขณะเดียวกัน ร่างกฎหมายจัดการสภาพภูมิอากาศฉบับนี้ จะยกระดับจากภาคสมัครใจ (Voluntary) ให้เป็นภาคบังคับ (Mandatory) เพื่อให้เกิดสัมฤทธิ์ผล
มีตัวอย่างในต่างประเทศเช่นสหภาพยุโรป ของ 5 ประเภทสินค้าที่จะนำเข้า EU คือ ปุ๋ย เหล็ก อะลูมิเนียม ไฟฟ้าและซีเมนต์ ซึ่งเขาให้เวลาปรับตัว 3 ปีจาก 2566 และตั้งแต่ 1 มกราคม 2569 จะเริ่มบังคับใช้ใบรับรอง CBAM ที่ผู้นำเข้าจะต้องซื้อตามปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และยังมีแผนเก็บภาษีสินค้าที่กระบวนการผลิตมีผลต่อการทำลายป่า
ตัดภาพมาที่เมืองไทย กรมที่จะตั้งขึ้นใหม่นี้มีหน้าที่อะไร
1. จัดทำนโยบาย ยุทธศาสตร์ และมาตรการเกี่ยวกับการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศและลดก๊าซเรือนกระจก
2. ประเมินความเสี่ยงและผลกระทบจาก Climate Change
3. เสนอแนวทางและดำเนินการตามพันธกรณีของอนุสัญญาพิธีสาร และความตกลงระหว่างประเทศ และระดับภูมิภาคที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
4. การใช้พลังงานอย่างยั่งยืนและปกป้องสิ่งแวดล้อม
5. ประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน องค์กรในประเทศและต่างประเทศ เพื่อดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
นอกจากนี้ ยังมีการเพิ่มบทบัญญัติเกี่ยวกับการบริหารคาร์บอนเครดิต กลไกการเงินที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสนองเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก อันเป็นสาเหตุของ “ภาวะโลกร้อน” และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผันผวน
เมื่อมองไปในระดับโลก ปัจจุบันมี 26 ประเทศที่มีการจัดตั้งกรม Climate Change มีทั้งในทวีปเอเชีย ทวีปยุโรป ทวีปแอฟริกาและทวีปอเมริกา
ข้อคิด...
หวังว่าการผลักดันกระบวนการจัดตั้งกรม Climate Change จะเริ่มเดินเครื่องเข้าครมตั้งแต่ต้นปีใหม่ แล้วผ่านรัฐสภาเป็นกฎหมายได้ทันยุค ก็จะเป็นผลงานสำคัญของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตัวแทนภาครัฐจากประเทศไทยซึ่งไปร่วมประชุม COP27 ซึ่งเป็นการติดตามผลและรายงานความคืบหน้าของแผน ที่ไทยจะบรรลุเป้าหมายการเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2050 และถึงระดับปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นศูนย์ในปี 2065 ซึ่งทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาสังคมรู้และร่วมมือกันให้ได้ผล
ปัจจุบันมีแนวคิดและแนวปฏิบัติ ที่มุ่งสู่ความยั่งยืน (Sustainability) เช่น ESG องค์ประกอบ 3 มิติเพื่อความยั่งยืน ซึ่งวงการตลาดทุน มีผลวิจัยสามารถยืนยันผลดีได้
BCG Model หรือเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน(Circular Economy) เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ซึ่งเป็น 3 แนวทางเพิ่มมูลค่าให้กับทรัพยากรในประเทศ หมุนเวียนใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ลดการสูญเสียและพัฒนาเศรษฐกิจ ที่คำนึงถึงคุณค่าทางสังคมและไม่ทำร้ายสิ่งแวดล้อม
แนวทางเหล่านั้นล้วนสอดคล้องกัน เป็นตัวอย่างของการพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อดำเนินกิจการที่คำนึงถึงความสมดุลของ ESG คือเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (E) รับผิดชอบต่อสังคมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (S) และบริหารจัดการด้วยหลักธรรมาภิบาล คือมีความถูกต้องและเป็นธรรม (G)
suwatmgr@gmail.com