xs
xsm
sm
md
lg

แมนพาวเวอร์กรุ๊ป เผยรายงานดัชนีแรงงาน ชี้ไทยครองตำแหน่งสูงสุด ด้านความพร้อมประสิทธิภาพต้นทุน สองปีซ้อน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


ลิลลี่ งามตระกูลพานิช ผู้จัดการประจำประเทศไทย แมนพาวเวอร์กรุ๊ป
ปัจจุบันตลาดแรงงานทั่วโลกมีความต้องการแรงงานที่มีทักษะและความเชี่ยวชาญเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยี โทรคมนาคม เภสัชกรรม เทคโนโลยีชีวภาพ และอุปกรณ์การแพทย์ และในขณะเดียวกันก็กำลังเผชิญกับความท้าทายในด้านประสิทธิภาพต้นทุนและความพร้อมของบุคลากร องค์กรต่างๆ จำเป็นต้องชั่งน้ำหนักของปัจจัยต่างๆ ที่จะเอื้อต่อความยั่งยืนในระยะยาว หลายองค์กรจึงเริ่มให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะของพนักงานที่มีอยู่ให้มีความสามารถเพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพนักงานในกลุ่ม Gen Z และกลุ่มมิลเลนเนียล เพื่อทดแทนแรงงานกลุ่มสูงอายุที่ออกจากตลาดแรงงานไปแล้ว

ทั้งนี้ จากรายงานประจำปีฉบับที่ 9 ของ Total Workforce Index™ ซึ่งเป็นการรายงานดัชนีแรงงานทั้งหมดที่จัดทำโดย แมนพาวเวอร์กรุ๊ป เพื่อประเมินความพร้อมของแรงงานทั่วโลก ด้วยวิเคราะห์ข้อมูลและปัจจัยกว่า 200 รายการ อาทิ ประสิทธิภาพในการผลิตสินค้าหรือบริการ การย้ายถิ่นของแรงงาน ภาวะเงินเฟ้อ และต้นทุนแรงงานที่เพิ่มสูงขึ้น ฯลฯ ด้วยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างจากพนักงานที่มีทักษะในตลาดแรงงานจำนวน 69 แห่งทั่วโลก เน้นการให้น้ำหนักความพร้อมในการทำงานแบบไฮบริด และการเพิ่มความยืดหยุ่นของนายจ้าง โดยจัดเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1). ด้านความพร้อมในการทำงาน 2). ด้านประสิทธิภาพด้านต้นทุน 3). ด้านกฎระเบียบ และ 4). ด้านผลผลิต โดยผลการสำรวจมีประเด็นสำคัญโดยสังเขป ดังนี้

-ตลาดแรงงานที่ใหญ่ที่สุด 3 อันดับแรกของโลก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ และแคนาดา ในด้านการจัดหางาน การจ้างงาน และการรักษาแรงงานที่มีทักษะไว้กับองค์กร

-ประเทศไทยยังคงครองตำแหน่งสูงสุดเป็นปีที่สองติดต่อกัน ในด้านความพร้อมของประสิทธิภาพต้นทุน

-อินโดนีเซียได้ขยับขึ้นจากอันดับที่ 12 เป็นอันดับที่ 2 เนื่องจากดัชนีค่าจ้างเฉลี่ยและต้นทุนรวมที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

-สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไปจนถึงออสเตรเลียได้กลายเป็นจุดหมายปลายทางที่น่าสนใจสำหรับบริษัทต่างๆ ที่กำลังมองหาแรงงานจำนวนมากที่มีทักษะและความพร้อมในการทำงานแบบไฮบริด

-ฟิลิปปินส์และมาเลเซียเข้าสู่ 10 อันดับแรก โดยอยู่ที่อันดับ 8 และ 10 ตามลำดับ เนื่องจากมีความต้องการในการทำงานแบบไฮบริดเพิ่มขึ้น ความต้องการด้านการศึกษาที่ลดขนาดลงและความต้องการทักษะที่หลากหลายเพิ่มมากขึ้น

-จีนยังคงเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ระดับโลกที่ใหญ่ขึ้นในการผลิตยา เทคโนโลยีชีวภาพ และอุปกรณ์การแพทย์ เนื่องจากประสิทธิภาพด้านต้นทุน

ลิลลี่ งามตระกูลพานิช ผู้จัดการประจำประเทศไทย แมนพาวเวอร์กรุ๊ป กล่าวว่า “จากผลของการสำรวจด้านการขาดแคลนผู้มีความสามารถประจำปี 2565 ฉบับปรับปรุงใหม่ในปี 2565 นี้ของ Total Workforce Index™ ที่จัดทำโดย ManpowerGroup มุ่งเน้นให้ความสำคัญของการทำงานแบบไฮบริด และการเพิ่มของความยืดหยุ่นนายจ้าง อาทิ การพิจารณาผู้สมัครที่มีทักษะมากกว่าคุณสมบัติด้านการศึกษาและอายุของพนักงาน ซึ่งพบว่าปัจจุบันโลกกำลังเผชิญหน้ากับปัญหาในการจ้างงานสูงสุดในรอบ 16 ปี และ 75% ของบริษัททั่วโลกกำลังขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะ จากปัจจัยการย้ายถิ่นของแรงงาน ภาวะเงินเฟ้อ และต้นทุนแรงงานที่สูงขึ้น ส่งผลให้ เกิดการแข่งขันช่วงชิงในผู้ที่มีทักษะและความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในตลาดแรงงานเพิ่มขึ้นตามความเจริญเติบโตของเทคโนโลยี โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยี โทรคมนาคม เภสัชกรรม เทคโนโลยีชีวภาพ และอุปกรณ์การแพทย์

ทั้งนี้ Total Workforce Index™ ได้ให้คะแนนแต่ละตลาด ด้วยปัจจัยเฉพาะมากกว่า 200 รายการ ปัจจัยทางสถิติแต่ละรายการได้รับการถ่วงน้ำหนักอย่างรอบคอบและจัดกลุ่มเป็น 4 กุล่ม ได้แก่ 1). ด้านความพร้อมในการทำงาน 2). ด้านประสิทธิภาพด้านต้นทุน 3). ด้านกฎระเบียบ และ 4). ด้านผลผลิต โดยพบว่า

-ตลาดแรงงาน 5 อันดับแรก ที่มีประสิทธิภาพด้านต้นทุนสูงสุด ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย บาห์เรน แอฟริกาใต้ และฟิลิปปินส์ เนื่องจากประเทศเหล่านี้เป็นมิตรกับนายจ้างมากที่สุดในแง่ของการเติบโตของค่าจ้าง ต้นทุนแรงงาน การสนับสนุนจากรัฐบาล และความพร้อมในการทำงานแบบไฮบริด

-สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และอิสราเอล ได้คะแนนในเกณฑ์ดีในด้านความพร้อมของกำลังแรงงานที่มีทักษะ การมีส่วนร่วมในเรื่องสิทธิต่าง
ๆ ของแรงงาน ความเท่าเทียมและเสรีภาพทางเพศ ความพร้อมและความสามารถในการทำงานแบบไฮบริด

-สิงคโปร์ ไอร์แลนด์ และออสเตรเลีย จัดอยู่ในอันดับสูงสำหรับการมีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี กฎระเบียบที่เอื้ออำนวยต่อการทำงานแบบไฮบริด การผ่อนคลายเรื่องข้อจำกัดด้านพรมแดนและสถานการณ์ทางการเมือง

-สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ และเม็กซิโกมีศักยภาพในการผลิตสูงสุด รวมถึงความสามารถในการรองรับการทำงานจากทำงานแบบไฮบริดที่เข้าถึงได้มากและทำงานได้ง่ายขึ้น

-ยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก มีความต้องการทักษะด้านไอทีสูง สาเหตุหลักมาจากการไม่สามารถเข้าถึงผู้มีความสามารถ ชาวรัสเซีย ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้มีความสามารถด้านไอทีที่ใหญ่ที่สุดในโลก

-สวิตเซอร์แลนด์และกลุ่มประเทศนอร์ดิกขึ้นสู่อันดับต้น ๆ ในด้านความเชี่ยวชาญผลิตชีววิทยาศาสตร์ โดยมีข้อกำหนดในการผลิตขั้นสูงกว่า ขณะที่เม็กซิโกพบข้อจำกัดเนื่องจากกฎระเบียบกำหนดให้จ้างงานเต็มเวลา

๐ ไฮไลต์ระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

-ประเทศไทยยังคงครองตำแหน่งสูงสุดสำหรับประสิทธิภาพด้านต้นทุนเป็นปีที่สองติดต่อกัน
-อินโดนีเซียได้ขยับขึ้นจากอันดับที่ 12 เป็นอันดับที่ 2 เนื่องจากดัชนีค่าจ้างเฉลี่ยและต้นทุนรวมที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

-สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไปจนถึงออสเตรเลียได้กลายเป็นจุดหมายปลายทางที่น่าสนใจสำหรับบริษัทต่างๆ ที่กำลังมองหาแรงงานจำนวนมากที่มีทักษะและความพร้อมในการทำงานแบบไฮบริด

-ฟิลิปปินส์และมาเลเซียเข้าสู่ 10 อันดับแรก โดยอยู่ที่อันดับ 8 และ 10 ตามลำดับ เนื่องจากมีความต้องการในการทำงานแบบไฮบริดเพิ่มขึ้น ความต้องการด้านการศึกษาที่ลดขนาดลงและความต้องการทักษะที่หลากหลายเพิ่มมากขึ้น

-จีนยังคงเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ระดับโลกที่ใหญ่ขึ้นในการผลิตยา เทคโนโลยีชีวภาพ และอุปกรณ์การแพทย์ เนื่องจากประสิทธิภาพด้านต้นทุน

๐ ไฮไลต์ระดับภูมิภาคอเมริกา

-เม็กซิโกขึ้นเป็นอันดับที่ 9 จากอันดับที่ 53 ในปี 2564 เนื่องจากมีการปรับปรุงการเข้าถึงแรงงานประจำแบบเต็มเวลาอย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่แคนาดาขยับขึ้น 15 อันดับมาอยู่ที่อันดับที่ 4 เนื่องจากเกี่ยวข้องกับกฎระเบียบ โดยการเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการมุ่งเน้นที่ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์และผลกระทบของการให้น้ำหนักกฎหมายมากขึ้นกับการจ้างงาน 1-2 ปีแรก

-สหรัฐอเมริกา เม็กซิโก และแคนาดา เป็นตลาดชั้นนำในด้านประสิทธิภาพ โดยสหรัฐฯ ขยับขึ้นจากอันดับ 7 มาเป็นอันดับ 1 เม็กซิโกกระโดดจากอันดับ 19 ในปี 2564 มาเป็นอันดับ 3 ในปีนี้ และแคนาดายังคงรั้งอันดับ 4

-โคลอมเบีย อาร์เจนตินา และเม็กซิโก กลับขึ้นสู่อันดับต้น ๆ ด้านเทคโนโลยีและโทรคมนาคม
ไฮไลท์ระดับภูมิภาคยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา (EMEA)

-สหราชอาณาจักรเพิ่มขึ้นจากอันดับที่ 4 ในปี 2564 ในด้านความพร้อมเป็นอันดับที่ 2 ในปีนี้ เนื่องจากจำนวนพนักงานใหม่ ที่เพิ่มขึ้น

-อิสราเอลเพิ่มขึ้นมาอยู่ใน 10 อันดับแรกนั้น เนื่องจากตลาดสามารถเติบโตและรองรับได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านไอทีและวิศวกรรม โดยมีกลุ่มแรงงานที่มีทักษะอายุน้อยเพิ่มขึ้น และอิสราเอลยังได้รับประโยชน์จากการการทำงานของแรงงานผู้หญิง ที่ทำงานในวันอาทิตย์-พฤหัสบดีที่เพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้หลายบริษัทสามารถขยายสัปดาห์การทำงานได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

-โปแลนด์และสาธารณรัฐเช็ก เริ่มอิ่มตัว เพราะโอกาสในด้านเทคโนโลยีและโทรคมนาคมอันเป็นผลมาจากการสนับสนุนการทำงานแบบไฮบริดและต้นทุนที่ลดต่ำลง

แมนพาวเวอร์กรุ๊ปเชื่อมั่นว่า ‘บุคลากรขององค์กร คือ ทรัพยากรที่มีค่าสุด’


กำลังโหลดความคิดเห็น