สถาบันรับรองมาตรฐานการศึกษาทางด้านบริหารธุรกิจและการบัญชีระดับนานาชาติ หรือ Association to Advance Collegiate Schools of Business (AACSB) จัดการประชุมประจำปีในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (Asia Pacific Annual Conference) ซึ่งมีตัวแทนจากภาคธุรกิจ องค์กรไม่แสวงหากำไร และผู้บริหารคณะบริหารธุรกิจจากหลายแห่งทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย อาทิ โรงเรียนวอร์ตันแห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย (Wharton University of Pennsylvania) มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เมโทรโพลิแทน (California Metropolitan University) และสภาการจัดการการรับเข้าบัณฑิต (Graduate Management Admissions Council) และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น มาเข้าร่วมประชุมเมื่อกลางเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา เพื่อหารือเกี่ยวกับประเด็นสำคัญ ดังนี้
1)ความสำคัญของการประชุมเพื่อยกระดับมาตรฐานการศึกษาด้านการบริหารธุรกิจระดับโลก
2)การส่งเสริมความเท่าเทียมและความหลากหลาย รวมทั้งหลักสูตรการเรียนการสอนและการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้แบบใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม
3)การเข้าร่วมกับนักการศึกษาที่มีแนวคิดก้าวหน้าและผู้นำโรงเรียนธุรกิจแห่งนวัตกรรมในการแบ่งปันความสำเร็จ ความท้าทาย และบทเรียนที่ได้รับ ในขณะที่ทำงานเพื่อเพิ่มผลกระทบเชิงบวกและสร้างผู้นำในอนาคต
แคริน เบ็ก-ดัดลีย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร AACSB กล่าวว่า “AACSB มีบทบาทในการสนับสนุนคณะบริหารธุรกิจในการผลิตผู้นำในอนาคต พันธกิจของ AACSB คือส่งเสริมการมีส่วนร่วม เร่งสร้างนวัตกรรม และขยายผลกระทบในการศึกษาด้านการบริหารธุรกิจ โดยคณะบริหารธุรกิจได้รับประโยชน์จากเครือข่ายสมาชิกของ AACSB ทั้งยังได้รับโอกาสในการปรับปรุงการเรียนการสอนด้านการบริหารธุรกิจ เพื่อให้แน่ใจว่าหลักสูตรของทางคณะมีความเกี่ยวข้องกับบริบทต่างๆ และมีความทันสมัย”
“อย่างไรก็ตาม AACSB ให้ความสำคัญกับผลิตผล (output) มากกว่า input อีกทั้งให้ความมั่นใจในเรื่องคุณภาพของการศึกษา รวมทั้งบทบาทของคณะบริหารธุรกิจในการเปลี่ยนแปลงชีวิตของผู้เรียน ดังนั้น AACSB จึงช่วยเชื่อมต่อคณะบริหารธุรกิจกับภาคธุรกิจเพื่อประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำข้อมูลและความเชี่ยวชาญทางอาชีพจากองค์กรธุรกิจต่างๆ มาสร้างสรรค์หลักสูตรที่มีเป้าประสงค์ชัดเจนและตอบโจทย์ความต้องการของตลาด"
“อีกทั้งยังคงรักษาความเข้มงวดและคุณภาพระดับสูงของเราต่อไปผ่านกระบวนการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และมุ่งหวังที่จะสนับสนุนให้คณะบริหารธุรกิจที่เป็นสมาชิกของ AACSB ให้มุ่งมั่นในการสร้างผลกระทบทางสังคมในเชิงบวกต่อไปผ่านงานวิจัยและหลักสูตรการเรียนการสอน”
มร. เจฟฟ์ เพอร์รี รองประธานบริหารและประธานเจ้าหน้าที่ AACSB เอเชียแปซิฟิก กล่าวเสริมว่า “วัตถุประสงค์ของการประชุมประจำปีในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (Asia Pacific Annual Conference) ในครั้งนี้ ที่กรุงเทพฯ คือกระตุ้นให้คณะบริหารธุรกิจตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างผลกระทบทางสังคม ส่งเสริมให้คณะบริหารธุรกิจสามารถเป็นผู้นำทางความคิดได้อย่างแท้จริง เข้าใจความต้องการใหม่ๆ ของผู้เรียนและตอบสนองความต้องการเหล่านั้นได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งเปิดโอกาสให้คณะบริหารธุรกิจจากในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้แบ่งปันแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดและแนวทางการจัดการกับอุปสรรคหลากหลายที่ต้องเผชิญ”
“การบริหารธุรกิจถือเป็นสาขาวิชาที่เตรียมความพร้อมสำหรับวิชาชีพโดยเฉพาะ ดังนั้นนักศึกษาควรได้รับโอกาสในเข้าถึงประสบการณ์ด้านวิชาชีพ นั่นหมายความว่านักศึกษาในคณะบริหารธุรกิจควรได้รับการพัฒนาฝึกฝนทั้งทางด้านสติปัญญา (Intellect) และด้านการปฏิบัติ (Practice) และนอกเหนือจากความรู้และประสบการณ์แล้ว ผู้บริหารในอนาคตจำเป็นต้องมีทักษะและความสามารถในการบริหารคน และบริหารหุ่นยนต์ เพื่อตอบรับกับโลกยุคใหม่ สำหรับคณะบริหารธุรกิจจำเป็นต้องกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในสังคมที่คาดหวังจะให้เกิดขึ้นผ่านงานวิจัยของตน ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงในเชิงวิชาการหรือในเชิงนโยบาย การผลิตงานวิจัยเพื่อสร้างผลกระทบในเชิงบวกถือว่ามีความสำคัญมากกว่าการได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่เท่านั้น”
๐ การศึกษาด้านบริหารธุรกิจในอนาคต
การเปลี่ยนแปลงของการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา กับการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมและความคาดหวังของผู้เรียน ส่งผลให้คณะบริหารธุรกิจจำเป็นต้องทบทวนความสำคัญเชิงกลยุทธ์ ประเมินความเสี่ยง และการสร้างโอกาสในการสร้างสรรค์นวัตกรรม ดังนั้น “สถาบันรับรองมาตรฐานการศึกษาทางด้านบริหารธุรกิจและการบัญชีระดับนานาชาติ” หรือ Association to Advance Collegiate Schools of Business (AACSB) จึงได้ระบุ ปัจจัยผลักดัน 5 ประการ ที่จะนำคณะบริหารธุรกิจไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการทางสังคมและธุรกิจที่เปลี่ยนไป
1. มุ่งมั่นสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม
ในขณะที่ผู้บริโภคและพนักงานกดดันบริษัทให้จัดลำดับความสำคัญของเป้าหมายขององค์กร ผู้เรียนรุ่นใหม่ต่างพากันกำหนดนิยามใหม่ว่าการศึกษาด้านการบริหารธุรกิจควรเป็นอย่างไร ขณะที่คณะบริหารธุรกิจถูกกระตุ้นให้สร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกต่อชุมชน ทว่าหลายแห่งยังคงเผชิญกับระบบที่ไม่เอื้อต่อการสร้างผลกระทบทางสังคม ดังนั้น ผู้สอนและผู้บริหารคณะฯ จำเป็นต้องคิดอย่างมีกลยุทธ์ พร้อมทั้งผลิตงานวิจัยที่สร้างผลกระทบ รวมทั้งพัฒนาความรู้ ทักษะ และพฤติกรรมที่จำเป็นสำหรับผู้นำที่สามารถสร้างผลกระทบทางสังคมในอนาคต
2. ปลูกฝังหลักการ DEIB
นั่นคือ Diversity ความหลากหลาย – Equity ความเสมอภาค- Inclusion การยอมรับความแตกต่าง - Belonging การเป็นเจ้าของ เข้าไปในวัฒนธรรมองค์กรและการวางแผนเชิงกลยุทธ์ โดยเริ่มตั้งแต่การรับสมัครนักศึกษา การพัฒนาหลักสูตร รวมไปถึงการว่าจ้างคณาจารย์ คณะบริหารธุรกิจควรบูรณาการ DEIB เข้ากับทุกพันธกิจเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เท่าเทียมและครอบคลุม
3. ประเมินพันธมิตรที่มีอยู่และสร้างพันธมิตรใหม่
เพื่อให้แน่ใจว่าคณะบริหารธุรกิจขับเคลื่อนด้วยโซลูชันและตอบโจทย์ความต้องการของผู้เรียนและภาคอุตสาหกรรม คณะบริหารธุรกิจต้องคำนึงถึงการสร้างพันธมิตรในทุกๆ มิติ อาทิ การพัฒนาหลักสูตร การเรียนการสอน การวิจัย และการบริการชุมชน เพื่อสร้างความแตกต่างทางการตลาด การสร้างความร่วมมือที่ประสบความสำเร็จจำเป็นต้องมีแนวทางเชิงกลยุทธ์ เช่น การจัดลำดับความสำคัญของการทำงานร่วมกันข้ามสายงานเพื่อจัดการกับความท้าทายที่ซับซ้อน หรือใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมด้านการศึกษาเพื่อนำไปปรับปรุงการเรียนการสอน
4. ลงทุนเชิงกลยุทธ์ในเทคโนโลยีที่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนที่หลากหลายและตอบสนองความต้องการด้านการศึกษาในอนาคต
การเรียนรู้ใช้รูปแบบไฮบริดมากขึ้นในปัจจุบัน คณะบริหารธุรกิจถูกคาดหวังว่าต้องสามารถรองรับผู้เรียนได้ทุกกลุ่ม รวมทั้งมีความพร้อมด้านนวัตกรรมที่จะช่วยยกระดับประสบการณ์การเรียนรู้ทั้งแบบออนไลน์และแบบตัวต่อตัว เช่น แพลตฟอร์มเสมือนจริงเพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมของผู้เรียน หรือการประเมินผลการเรียนรู้โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อติดตามความเชี่ยวชาญทางทักษะของผู้เรียนเป็นรายบุคคล ขณะที่โลกของการทำงานกำลังขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี คณะบริหารธุรกิจจะต้องก้าวให้ทันเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ เช่น การสอนเรื่องระบบการเงินแบบไร้ศูนย์กลาง (Decentralized finance หรือ DeFi) ในหลักสูตร เป็นต้น
5. ส่งเสริมคณาจารย์ให้ประสบความสำเร็จ
คณะบริหารธุรกิจต้องเผชิญกับบทบาทใหม่ในปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีและการเรียนการสอนในรูปแบบไฮบริด นอกเหนือจากการสอนและงานวิจัยแล้ว คณาจารย์ยังต้องมีบทบาทเป็นพี่เลี้ยง ผู้อำนวยความสะดวก และที่ปรึกษา ดังนั้น คณะบริหารธุรกิจจำเป็นต้องจัดเตรียมรูปแบบการสนับสนุนคณาจารย์ที่แตกต่างกัน ทั้งยังต้องอำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best practice) รวมถึงการให้รางวัลสำหรับความตั้งใจในการสอนออนไลน์
๐ โมเดลสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม
ตัวชี้วัดความสำเร็จของธุรกิจนั้นเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปอย่างไม่หยุดยั้ง ปัจจุบันความสำเร็จทางธุรกิจไม่ได้วัดจากมูลค่าผู้ถือหุ้นเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เนื่องจากผู้บริโภค พนักงาน และประชาชนทั่วไปต่างพากันท้าทายองค์กรเกี่ยวกับบทบาทในการสร้างผลผลกระทบต่อสังคม คณะบริหารธุรกิจจึงจำเป็นต้องสร้างผลกระทบต่อสังคมและพัฒนาผู้นำในอนาคตให้มีจิตสำนึกต่อสังคมส่วนรวมด้วย
คณะบริหารธุรกิจถือเป็นหัวหอกสำคัญในการสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกในชุมชนผ่านการสอน งานวิจัย และการบริการวิชาการ ทั้งนี้ 6 ใน 9 ของมาตรฐานการรับรองคณะบริหารธุรกิจฉบับปี 2020 ของ AACSB ได้กำหนดให้คณะ ฯ สร้างผลกระทบต่อสังคมในด้านต่าง ๆ ได้แก่ การวางแผนเชิงกลยุทธ์ การพัฒนาหลักสูตร และการผลิตความเป็นผู้นำทางความคิด มาตรฐานดังกล่าวยังคาดหวังให้คณะบริหารธุรกิจสะท้อนผลกระทบผ่านกิจกรรมอื่นๆ อีกด้วย โดยให้สอดคล้องกับภารกิจ กลยุทธ์ และผลลัพธ์ที่คาดหวัง
ข้อมูลจาก Harvard Business Review สำรวจบริษัทระดับโลกและพบว่า 58% ขององค์กรที่ให้ความสำคัญกับเป้าประสงค์นั้นเติบโตถึง 10% หรือมากกว่า เมื่อเทียบกับ 42% ของบริษัทที่ไม่มีจุดมุ่งหมายชัดเจน ขณะที่ในปี 2020 Deloitte พบว่าบริษัทที่ขับเคลื่อนด้วยเป้าประสงค์ชัดเจนมีการพัฒนาทางด้านนวัตกรรมและความสามารถในการเก็บรักษาพนักงานไว้ให้อยู่กับองค์กรในระดับที่สูงกว่าบริษัทคู่แข่งถึง 30% และ 40% ตามลำดับ รวมทั้ง การศึกษาของ PwC 34% ของผู้นำทางธุรกิจในสหรัฐฯ กล่าวว่าเป้าประสงค์ขององค์กรมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้นำ แม้ว่า 79% ของผู้นำทางธุรกิจเหล่านี้จะเชื่อว่าเป้าประสงค์ของธุรกิจคือกุญแจสู่ความสำเร็จ
คณะบริหารธุรกิจจะมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาผู้นำที่สร้างผลกระทบต่อสังคมในอนาคต โดยเตรียมพวกเขาให้มีทักษะที่จำเป็นในการเป็นผู้นำบริษัทที่ขับเคลื่อนด้วยเป้าประสงค์ ซึ่งโมเดลธุรกิจที่จะเกิดขึ้นนั้นจะให้ความสำคัญกับผลกระทบเชิงบวกต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายมากกว่าผลกำไรล้วน ๆ โดยมีข้อมูลที่น่าสนใจว่า 64% ของคนกลุ่ม Millennials จะปฏิเสธร่วมงานกับบริษัทมีค่านิยมความรับผิดชอบต่อสังคมน้อย และ77% ของคนกลุ่ม Gen Z กล่าวว่าสิ่งสำคัญในการทำงานคือค่านิยมของนายจ้างที่ต้องสอดคล้องกับค่านิยมของพวกเขา โดย Gen Z ให้ความสำคัญกับเงินเดือนน้อยกว่าคนรุ่นอื่นๆ
๐ ผลิตผู้นำที่สร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม
คณะบริหารธุรกิจมีภารกิจหลักในการสร้างสรรค์หลักสูตรที่ส่งเสริมนวัตกรรม การเรียนรู้จากประสบการณ์ และกระตุ้นกรอบความคิดของการเรียนรู้ตลอดชีวิต ผู้บริหารคณะ ฯ จึงควรพยายามจัดองค์ประกอบของหลักสูตรที่ส่งเสริมผลกระทบทางสังคมในเชิงบวก อาทิ 1) หลักสูตรเฉพาะที่พัฒนาขึ้นตามแนวคิดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals–SDG 2) วิชาต่าง ๆ ที่ให้ความสำคัญกับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรือสังคมจากกระบวนการของการประกอบธุรกิจ 3) ประสบการณ์ที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถนำหลักการทางธุรกิจไปใช้ในการแก้ปัญหาของชุมชนได้อย่างจริงจัง
๐ ต่อยอดการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล (Digital Transformation)
เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ยังคงเดินหน้าสร้างการเปลี่ยนแปลงในทุกแง่มุมของชีวิต รวมถึงการค้า ความบันเทิง การสร้างปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และสภาพแวดล้อมในการทำงาน การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้สามารถกระตุ้นให้คณะบริหารธุรกิจคิดใหม่ ทำใหม่ ส่งมอบคุณค่าให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมทั้งตอบสนองความคาดหวังของผู้เรียนในด้านความยืดหยุ่น (flexibility) และการเรียนรู้ตามความต้องการ (on-demand learning)
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน (VR) ความเป็นจริงเสริม (AR) แมชชีนเลิร์นนิง และ AI จะช่วยให้คณะบริหารธุรกิจสามารถขยายขอบเขตการเรียนการสอนต่อไปเพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมของผู้เรียน คณะฯ จะเชื่อมต่อผู้เรียนและนักคิดจากทั่วโลก พร้อมกับนำกรณีศึกษามาใช้ในการเรียนการสอนผ่านสถานการณ์ทางธุรกิจที่สมจริง แม้ว่าการเรียนรู้ที่ใช้ AI จะปรับเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ให้เหมาะกับความต้องการของแต่ละบุคคลได้ แต่อัลกอริธึมยังเผยให้เห็นถึงรูปแบบการทำงานของผู้เรียน ทั้งยังช่วยให้ผู้สอนปรับกลยุทธ์ของตนให้เหมาะสมในด้านการพัฒนาความสามารถและความเชี่ยวชาญอีกด้วย
ทั้งนี้ สถาบันรับรองมาตรฐานการศึกษาทางด้านบริหารธุรกิจและการบัญชีระดับนานาชาติ หรือ Association to Advance Collegiate Schools of Business (AACSB) เป็นสถาบันหลักด้านการบริหารธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีคณะบริหารธุรกิจที่มีคุณภาพกว่า 1,600 แห่งที่จัดการเรียนการสอนให้แก่นักศึกษามากกว่า 4 ล้านคนในกว่า 100 ประเทศทั่วโลกเข้าร่วมเป็นสมาชิก
AACSB เป็นศูนย์กลางและผู้นำในการพัฒนาการศึกษาด้านการบริหารจัดการ พร้อมทำหน้าที่เป็นองค์กรกลางในการรับรองและประกันคุณภาพให้กับสถาบันการศึกษาด้านธุรกิจ หรือ Business Schools ทั่วโลก ซึ่งการรับรองมาตรฐานโดย AACSB จะเป็นเครื่องช่วยยืนยันว่าผู้ที่จบมาจากสถาบันเหล่านั้นจะมีโอกาสได้รับการจ้างงานสูงกว่า นอกจากนี้ หากผู้ที่จบจากมหาวิทยาลัยที่ได้รับการรับรองโดย AACSB ต้องการเรียนต่อปริญญาเอกในมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วโลกที่ได้รับการรับรองเช่นเดียวกันจะทำให้การติดต่อหรือสมัครเรียนสะดวกและได้รับการอนุมัติง่ายขึ้น
1)ความสำคัญของการประชุมเพื่อยกระดับมาตรฐานการศึกษาด้านการบริหารธุรกิจระดับโลก
2)การส่งเสริมความเท่าเทียมและความหลากหลาย รวมทั้งหลักสูตรการเรียนการสอนและการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้แบบใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม
3)การเข้าร่วมกับนักการศึกษาที่มีแนวคิดก้าวหน้าและผู้นำโรงเรียนธุรกิจแห่งนวัตกรรมในการแบ่งปันความสำเร็จ ความท้าทาย และบทเรียนที่ได้รับ ในขณะที่ทำงานเพื่อเพิ่มผลกระทบเชิงบวกและสร้างผู้นำในอนาคต
แคริน เบ็ก-ดัดลีย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร AACSB กล่าวว่า “AACSB มีบทบาทในการสนับสนุนคณะบริหารธุรกิจในการผลิตผู้นำในอนาคต พันธกิจของ AACSB คือส่งเสริมการมีส่วนร่วม เร่งสร้างนวัตกรรม และขยายผลกระทบในการศึกษาด้านการบริหารธุรกิจ โดยคณะบริหารธุรกิจได้รับประโยชน์จากเครือข่ายสมาชิกของ AACSB ทั้งยังได้รับโอกาสในการปรับปรุงการเรียนการสอนด้านการบริหารธุรกิจ เพื่อให้แน่ใจว่าหลักสูตรของทางคณะมีความเกี่ยวข้องกับบริบทต่างๆ และมีความทันสมัย”
“อย่างไรก็ตาม AACSB ให้ความสำคัญกับผลิตผล (output) มากกว่า input อีกทั้งให้ความมั่นใจในเรื่องคุณภาพของการศึกษา รวมทั้งบทบาทของคณะบริหารธุรกิจในการเปลี่ยนแปลงชีวิตของผู้เรียน ดังนั้น AACSB จึงช่วยเชื่อมต่อคณะบริหารธุรกิจกับภาคธุรกิจเพื่อประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำข้อมูลและความเชี่ยวชาญทางอาชีพจากองค์กรธุรกิจต่างๆ มาสร้างสรรค์หลักสูตรที่มีเป้าประสงค์ชัดเจนและตอบโจทย์ความต้องการของตลาด"
“อีกทั้งยังคงรักษาความเข้มงวดและคุณภาพระดับสูงของเราต่อไปผ่านกระบวนการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และมุ่งหวังที่จะสนับสนุนให้คณะบริหารธุรกิจที่เป็นสมาชิกของ AACSB ให้มุ่งมั่นในการสร้างผลกระทบทางสังคมในเชิงบวกต่อไปผ่านงานวิจัยและหลักสูตรการเรียนการสอน”
มร. เจฟฟ์ เพอร์รี รองประธานบริหารและประธานเจ้าหน้าที่ AACSB เอเชียแปซิฟิก กล่าวเสริมว่า “วัตถุประสงค์ของการประชุมประจำปีในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (Asia Pacific Annual Conference) ในครั้งนี้ ที่กรุงเทพฯ คือกระตุ้นให้คณะบริหารธุรกิจตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างผลกระทบทางสังคม ส่งเสริมให้คณะบริหารธุรกิจสามารถเป็นผู้นำทางความคิดได้อย่างแท้จริง เข้าใจความต้องการใหม่ๆ ของผู้เรียนและตอบสนองความต้องการเหล่านั้นได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งเปิดโอกาสให้คณะบริหารธุรกิจจากในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้แบ่งปันแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดและแนวทางการจัดการกับอุปสรรคหลากหลายที่ต้องเผชิญ”
“การบริหารธุรกิจถือเป็นสาขาวิชาที่เตรียมความพร้อมสำหรับวิชาชีพโดยเฉพาะ ดังนั้นนักศึกษาควรได้รับโอกาสในเข้าถึงประสบการณ์ด้านวิชาชีพ นั่นหมายความว่านักศึกษาในคณะบริหารธุรกิจควรได้รับการพัฒนาฝึกฝนทั้งทางด้านสติปัญญา (Intellect) และด้านการปฏิบัติ (Practice) และนอกเหนือจากความรู้และประสบการณ์แล้ว ผู้บริหารในอนาคตจำเป็นต้องมีทักษะและความสามารถในการบริหารคน และบริหารหุ่นยนต์ เพื่อตอบรับกับโลกยุคใหม่ สำหรับคณะบริหารธุรกิจจำเป็นต้องกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในสังคมที่คาดหวังจะให้เกิดขึ้นผ่านงานวิจัยของตน ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงในเชิงวิชาการหรือในเชิงนโยบาย การผลิตงานวิจัยเพื่อสร้างผลกระทบในเชิงบวกถือว่ามีความสำคัญมากกว่าการได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่เท่านั้น”
๐ การศึกษาด้านบริหารธุรกิจในอนาคต
การเปลี่ยนแปลงของการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา กับการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมและความคาดหวังของผู้เรียน ส่งผลให้คณะบริหารธุรกิจจำเป็นต้องทบทวนความสำคัญเชิงกลยุทธ์ ประเมินความเสี่ยง และการสร้างโอกาสในการสร้างสรรค์นวัตกรรม ดังนั้น “สถาบันรับรองมาตรฐานการศึกษาทางด้านบริหารธุรกิจและการบัญชีระดับนานาชาติ” หรือ Association to Advance Collegiate Schools of Business (AACSB) จึงได้ระบุ ปัจจัยผลักดัน 5 ประการ ที่จะนำคณะบริหารธุรกิจไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการทางสังคมและธุรกิจที่เปลี่ยนไป
1. มุ่งมั่นสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม
ในขณะที่ผู้บริโภคและพนักงานกดดันบริษัทให้จัดลำดับความสำคัญของเป้าหมายขององค์กร ผู้เรียนรุ่นใหม่ต่างพากันกำหนดนิยามใหม่ว่าการศึกษาด้านการบริหารธุรกิจควรเป็นอย่างไร ขณะที่คณะบริหารธุรกิจถูกกระตุ้นให้สร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกต่อชุมชน ทว่าหลายแห่งยังคงเผชิญกับระบบที่ไม่เอื้อต่อการสร้างผลกระทบทางสังคม ดังนั้น ผู้สอนและผู้บริหารคณะฯ จำเป็นต้องคิดอย่างมีกลยุทธ์ พร้อมทั้งผลิตงานวิจัยที่สร้างผลกระทบ รวมทั้งพัฒนาความรู้ ทักษะ และพฤติกรรมที่จำเป็นสำหรับผู้นำที่สามารถสร้างผลกระทบทางสังคมในอนาคต
2. ปลูกฝังหลักการ DEIB
นั่นคือ Diversity ความหลากหลาย – Equity ความเสมอภาค- Inclusion การยอมรับความแตกต่าง - Belonging การเป็นเจ้าของ เข้าไปในวัฒนธรรมองค์กรและการวางแผนเชิงกลยุทธ์ โดยเริ่มตั้งแต่การรับสมัครนักศึกษา การพัฒนาหลักสูตร รวมไปถึงการว่าจ้างคณาจารย์ คณะบริหารธุรกิจควรบูรณาการ DEIB เข้ากับทุกพันธกิจเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เท่าเทียมและครอบคลุม
3. ประเมินพันธมิตรที่มีอยู่และสร้างพันธมิตรใหม่
เพื่อให้แน่ใจว่าคณะบริหารธุรกิจขับเคลื่อนด้วยโซลูชันและตอบโจทย์ความต้องการของผู้เรียนและภาคอุตสาหกรรม คณะบริหารธุรกิจต้องคำนึงถึงการสร้างพันธมิตรในทุกๆ มิติ อาทิ การพัฒนาหลักสูตร การเรียนการสอน การวิจัย และการบริการชุมชน เพื่อสร้างความแตกต่างทางการตลาด การสร้างความร่วมมือที่ประสบความสำเร็จจำเป็นต้องมีแนวทางเชิงกลยุทธ์ เช่น การจัดลำดับความสำคัญของการทำงานร่วมกันข้ามสายงานเพื่อจัดการกับความท้าทายที่ซับซ้อน หรือใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมด้านการศึกษาเพื่อนำไปปรับปรุงการเรียนการสอน
4. ลงทุนเชิงกลยุทธ์ในเทคโนโลยีที่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนที่หลากหลายและตอบสนองความต้องการด้านการศึกษาในอนาคต
การเรียนรู้ใช้รูปแบบไฮบริดมากขึ้นในปัจจุบัน คณะบริหารธุรกิจถูกคาดหวังว่าต้องสามารถรองรับผู้เรียนได้ทุกกลุ่ม รวมทั้งมีความพร้อมด้านนวัตกรรมที่จะช่วยยกระดับประสบการณ์การเรียนรู้ทั้งแบบออนไลน์และแบบตัวต่อตัว เช่น แพลตฟอร์มเสมือนจริงเพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมของผู้เรียน หรือการประเมินผลการเรียนรู้โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อติดตามความเชี่ยวชาญทางทักษะของผู้เรียนเป็นรายบุคคล ขณะที่โลกของการทำงานกำลังขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี คณะบริหารธุรกิจจะต้องก้าวให้ทันเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ เช่น การสอนเรื่องระบบการเงินแบบไร้ศูนย์กลาง (Decentralized finance หรือ DeFi) ในหลักสูตร เป็นต้น
5. ส่งเสริมคณาจารย์ให้ประสบความสำเร็จ
คณะบริหารธุรกิจต้องเผชิญกับบทบาทใหม่ในปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีและการเรียนการสอนในรูปแบบไฮบริด นอกเหนือจากการสอนและงานวิจัยแล้ว คณาจารย์ยังต้องมีบทบาทเป็นพี่เลี้ยง ผู้อำนวยความสะดวก และที่ปรึกษา ดังนั้น คณะบริหารธุรกิจจำเป็นต้องจัดเตรียมรูปแบบการสนับสนุนคณาจารย์ที่แตกต่างกัน ทั้งยังต้องอำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best practice) รวมถึงการให้รางวัลสำหรับความตั้งใจในการสอนออนไลน์
๐ โมเดลสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม
ตัวชี้วัดความสำเร็จของธุรกิจนั้นเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปอย่างไม่หยุดยั้ง ปัจจุบันความสำเร็จทางธุรกิจไม่ได้วัดจากมูลค่าผู้ถือหุ้นเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เนื่องจากผู้บริโภค พนักงาน และประชาชนทั่วไปต่างพากันท้าทายองค์กรเกี่ยวกับบทบาทในการสร้างผลผลกระทบต่อสังคม คณะบริหารธุรกิจจึงจำเป็นต้องสร้างผลกระทบต่อสังคมและพัฒนาผู้นำในอนาคตให้มีจิตสำนึกต่อสังคมส่วนรวมด้วย
คณะบริหารธุรกิจถือเป็นหัวหอกสำคัญในการสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกในชุมชนผ่านการสอน งานวิจัย และการบริการวิชาการ ทั้งนี้ 6 ใน 9 ของมาตรฐานการรับรองคณะบริหารธุรกิจฉบับปี 2020 ของ AACSB ได้กำหนดให้คณะ ฯ สร้างผลกระทบต่อสังคมในด้านต่าง ๆ ได้แก่ การวางแผนเชิงกลยุทธ์ การพัฒนาหลักสูตร และการผลิตความเป็นผู้นำทางความคิด มาตรฐานดังกล่าวยังคาดหวังให้คณะบริหารธุรกิจสะท้อนผลกระทบผ่านกิจกรรมอื่นๆ อีกด้วย โดยให้สอดคล้องกับภารกิจ กลยุทธ์ และผลลัพธ์ที่คาดหวัง
ข้อมูลจาก Harvard Business Review สำรวจบริษัทระดับโลกและพบว่า 58% ขององค์กรที่ให้ความสำคัญกับเป้าประสงค์นั้นเติบโตถึง 10% หรือมากกว่า เมื่อเทียบกับ 42% ของบริษัทที่ไม่มีจุดมุ่งหมายชัดเจน ขณะที่ในปี 2020 Deloitte พบว่าบริษัทที่ขับเคลื่อนด้วยเป้าประสงค์ชัดเจนมีการพัฒนาทางด้านนวัตกรรมและความสามารถในการเก็บรักษาพนักงานไว้ให้อยู่กับองค์กรในระดับที่สูงกว่าบริษัทคู่แข่งถึง 30% และ 40% ตามลำดับ รวมทั้ง การศึกษาของ PwC 34% ของผู้นำทางธุรกิจในสหรัฐฯ กล่าวว่าเป้าประสงค์ขององค์กรมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้นำ แม้ว่า 79% ของผู้นำทางธุรกิจเหล่านี้จะเชื่อว่าเป้าประสงค์ของธุรกิจคือกุญแจสู่ความสำเร็จ
คณะบริหารธุรกิจจะมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาผู้นำที่สร้างผลกระทบต่อสังคมในอนาคต โดยเตรียมพวกเขาให้มีทักษะที่จำเป็นในการเป็นผู้นำบริษัทที่ขับเคลื่อนด้วยเป้าประสงค์ ซึ่งโมเดลธุรกิจที่จะเกิดขึ้นนั้นจะให้ความสำคัญกับผลกระทบเชิงบวกต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายมากกว่าผลกำไรล้วน ๆ โดยมีข้อมูลที่น่าสนใจว่า 64% ของคนกลุ่ม Millennials จะปฏิเสธร่วมงานกับบริษัทมีค่านิยมความรับผิดชอบต่อสังคมน้อย และ77% ของคนกลุ่ม Gen Z กล่าวว่าสิ่งสำคัญในการทำงานคือค่านิยมของนายจ้างที่ต้องสอดคล้องกับค่านิยมของพวกเขา โดย Gen Z ให้ความสำคัญกับเงินเดือนน้อยกว่าคนรุ่นอื่นๆ
๐ ผลิตผู้นำที่สร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม
คณะบริหารธุรกิจมีภารกิจหลักในการสร้างสรรค์หลักสูตรที่ส่งเสริมนวัตกรรม การเรียนรู้จากประสบการณ์ และกระตุ้นกรอบความคิดของการเรียนรู้ตลอดชีวิต ผู้บริหารคณะ ฯ จึงควรพยายามจัดองค์ประกอบของหลักสูตรที่ส่งเสริมผลกระทบทางสังคมในเชิงบวก อาทิ 1) หลักสูตรเฉพาะที่พัฒนาขึ้นตามแนวคิดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals–SDG 2) วิชาต่าง ๆ ที่ให้ความสำคัญกับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรือสังคมจากกระบวนการของการประกอบธุรกิจ 3) ประสบการณ์ที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถนำหลักการทางธุรกิจไปใช้ในการแก้ปัญหาของชุมชนได้อย่างจริงจัง
๐ ต่อยอดการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล (Digital Transformation)
เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ยังคงเดินหน้าสร้างการเปลี่ยนแปลงในทุกแง่มุมของชีวิต รวมถึงการค้า ความบันเทิง การสร้างปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และสภาพแวดล้อมในการทำงาน การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้สามารถกระตุ้นให้คณะบริหารธุรกิจคิดใหม่ ทำใหม่ ส่งมอบคุณค่าให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมทั้งตอบสนองความคาดหวังของผู้เรียนในด้านความยืดหยุ่น (flexibility) และการเรียนรู้ตามความต้องการ (on-demand learning)
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน (VR) ความเป็นจริงเสริม (AR) แมชชีนเลิร์นนิง และ AI จะช่วยให้คณะบริหารธุรกิจสามารถขยายขอบเขตการเรียนการสอนต่อไปเพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมของผู้เรียน คณะฯ จะเชื่อมต่อผู้เรียนและนักคิดจากทั่วโลก พร้อมกับนำกรณีศึกษามาใช้ในการเรียนการสอนผ่านสถานการณ์ทางธุรกิจที่สมจริง แม้ว่าการเรียนรู้ที่ใช้ AI จะปรับเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ให้เหมาะกับความต้องการของแต่ละบุคคลได้ แต่อัลกอริธึมยังเผยให้เห็นถึงรูปแบบการทำงานของผู้เรียน ทั้งยังช่วยให้ผู้สอนปรับกลยุทธ์ของตนให้เหมาะสมในด้านการพัฒนาความสามารถและความเชี่ยวชาญอีกด้วย
ทั้งนี้ สถาบันรับรองมาตรฐานการศึกษาทางด้านบริหารธุรกิจและการบัญชีระดับนานาชาติ หรือ Association to Advance Collegiate Schools of Business (AACSB) เป็นสถาบันหลักด้านการบริหารธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีคณะบริหารธุรกิจที่มีคุณภาพกว่า 1,600 แห่งที่จัดการเรียนการสอนให้แก่นักศึกษามากกว่า 4 ล้านคนในกว่า 100 ประเทศทั่วโลกเข้าร่วมเป็นสมาชิก
AACSB เป็นศูนย์กลางและผู้นำในการพัฒนาการศึกษาด้านการบริหารจัดการ พร้อมทำหน้าที่เป็นองค์กรกลางในการรับรองและประกันคุณภาพให้กับสถาบันการศึกษาด้านธุรกิจ หรือ Business Schools ทั่วโลก ซึ่งการรับรองมาตรฐานโดย AACSB จะเป็นเครื่องช่วยยืนยันว่าผู้ที่จบมาจากสถาบันเหล่านั้นจะมีโอกาสได้รับการจ้างงานสูงกว่า นอกจากนี้ หากผู้ที่จบจากมหาวิทยาลัยที่ได้รับการรับรองโดย AACSB ต้องการเรียนต่อปริญญาเอกในมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วโลกที่ได้รับการรับรองเช่นเดียวกันจะทำให้การติดต่อหรือสมัครเรียนสะดวกและได้รับการอนุมัติง่ายขึ้น