xs
xsm
sm
md
lg

“ดร.ธรณ์” เผยอุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้น 1.5 กับ 2.0 องศา ผลกระทบแตกต่างลิบ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม และอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญและติดตามผลกระทบภาวะโลกร้อน (Global Warming) จากการเพิ่มความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas หรือ GHG) ในบรรยากาศที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมของมนุษย์

เมื่อเร็วๆ นี้ อาจารย์ธรณ์โพสต์บนเพจเฟซบุ๊ก Thon
Thamrongnawasawat
จับประเด็นจากเสวนาโลกร้อน เมื่อวันที่ 7 ก.ย.ที่ผ่านมา นำสไลด์จากผู้เชี่ยวชาญ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) มาเล่าให้เพื่อนธรณ์ฟังว่า


ผมขอพูดถึงเรื่อง สภาพอากาศสุดขั้ว หรือ extreme weather


ข้อมูลที่พูดกันเมื่อเช้า (7 ก.ย.65) ชัดเจนว่าเรากำลังอยู่ในอัตราเร่งของโลกร้อน จาก 1.1 ° มา 1.2 °C ในพริบตา และกำลังจะไป 1.5 °C อย่างรวดเร็ว


ที่ 1.5°C น้ำท่วมมีโอกาสเพิ่มขึ้น 1 เท่า แต่ไม่ใช่ต้องรอไปถึงตรงนั้นถึงจะเพิ่ม แต่มันเพิ่มแล้วตั้งแต่ตอนนี้ และความเร็วในการเพิ่มจะมีมากขึ้น


ปัญหาคือ 1.5°C คงเป็นไปไม่ได้แล้ว เรากำลังไปที่ 2 °C แทบจะแน่นอน ที่นั่นคือน้ำท่วมเพิ่ม 1.7 เท่า


หมายถึงความถี่ที่เราจะได้เจอแบบเมื่อคืน มันจะเพิ่มมากขึ้นอย่างน่าร้องกรี๊ด


Flooding rain/Flash Flood คือสิ่งที่เราต้องทำความรู้จัก คุ้นเคย และปรับตัวให้ทัน


แต่เราจะคุ้นเคยชาชินกับการที่จู่ๆ วันนี้รถติดเพิ่มขึ้น 1-2 ชั่วโมงจากน้ำท่วมในพริบตาได้ไหม


น้ำไหลโจ๊กเข้าบ้านทั้งที่เมื่อวานไม่มีวี่แววเลยได้หรือเปล่า


ต่อให้เราไปถึง net zero/carbon neutral ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะรอด


เราต้องไปเพื่อลูกหลาน แต่เราต้องปรับตัวสุดๆ สำหรับตัวเราในวันนี้


มันไม่ง่าย มันใช้ตังค์ มันเหนื่อย แต่คงช่วยอะไรไม่ได้ เพราะเราเป็นคนทำให้เกิดโลกเช่นนี้


โลกที่โหดร้ายต่อการใช้ชีวิตของมนุษย์


ก็หวังเพียงว่าเพื่อนธรณ์จะปรับตัวกันให้ทัน โดยเฉพาะการยึดติดกับโลกยุคก่อน อาชีพ การงาน ซื้อบ้าน ที่ตั้งโรงเรียนลูก ฯลฯ


ณ ตอนนี้เราต้องช่วยตัวเองอย่างใหญ่หลวง เพราะโครงสร้างพื้นฐานที่เรามีอยู่ตอนนี้ คงไม่สามารถรับมือกับสภาพภูมิอากาศแบบสุดขั้วได้ครับ


กำลังโหลดความคิดเห็น