ยุคนี้การบริหารองค์กรมักพูดถึงแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งเริ่มมาจากวงการตลาดทุน ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ใช้เลือกลงทุนในหุ้นของกิจการที่มี ESG เชื่อได้ว่าบริหารเก่ง+ดี ไม่ทำร้ายสังคมและสิ่งแวดล้อม ตอนนี้ส่งแรงกระเพื่อมสู่วงการธุรกิจธนาคารแล้ว
สมาคมธนาคารไทย เพิ่งได้ประกาศเจตนารมณ์ ( ESG Declaration) เพื่อบอกทิศทางที่ชัดเจนของธนาคารทุกแห่งที่เป็นสมาชิกสมาคม ที่จะดำเนินธุรกิจที่ดีโดยคำนึงถึงผลลัพธ์ 3 มิติ ได้แก่
●เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม( Environmental)
●รับผิดชอบต่อสังคม ( Social )
●มีธรรมาภิบาล (Governance)
นี่เป็นความเคลื่อนไหวที่มีความหมายมาก เพราะธนาคารเป็นกลไกสนับสนุนทางการเงินให้ธุรกิจเกิด เติบโต และขยายกิจการได้
การมีชุดความคิดเชิงคุณธรรมที่ ”เกื้อกูล” สังคมและสิ่งแวดล้อม จึงเป็นกลไกแบบ”ทุนนิยมสร้างสรรค์
ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งไปร่วมเป็นสักขีพยาน รู้สึกยินดีกับก้าวสำคัญของภาคการเงินไทย ที่ประกาศพันธสัญญา ในการสนับสนุนการปรับตัวของเศรษฐกิจแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน
จากข่าวสารในปัจจุบันก็ยืนยันได้ว่าผู้บริโภคทั่วโลก นักลงทุน และผู้ใช้บริการทางการเงิน ต่างให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ จึงมีผลกดดันให้ธุรกิจต่างๆต้องเร่งปรับความคิด ปรับระบบการผลิต ด้วยความถูกต้องเป็นธรรม รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ก็จะเปลี่ยนจาก”ความเสี่ยง” กลายเป็น”โอกาส” เพราะมีความพร้อมกว่า
ขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย ซึ่งร่วมกับธนาคารกรุงศรีอยุธยา เป็นแกนสนับสนุนการเตรียมงานประกาศเจตนารมณ์ครั้งนี้ กล่าวว่าสมาคมธนาคารไทย ตระหนักในความเร่งด่วนและรุนแรงของปัญหาวิกฤตด้านภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ธนาคารสมาชิกจึงมีความตั้งใจแน่วแน่ ที่จะร่วมแรงร่วมใจผลักดันให้เกิดผลลัพธ์ด้านต่างๆอีกมากในอนาคตอันใกล้ เพื่อให้เศรษฐกิจก้าวหน้าและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้สมาคมธนาคารไทยให้คำมั่นว่า จะดำเนินการตามเจตนารมณ์ESGอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงด้วยความโปร่งใสและยืดหยุ่น ในการทำงานระหว่างธนาคารสมาชิก ที่จะประสานงานบนมาตรฐานเดียวกัน ในหลักการ”ปฏิบัติให้มากที่สุด หรือชี้แจงเหตุผลในกรณีไม่สามารถปฏิบัติได้”
เพื่อให้เกิดผลเป็นจริงจึงจะจัดทำคู่มือ ระบุรายละเอียดการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง กรอบเวลา และตัวชี้วัดการดำเนินงาน แต่ละองค์ประกอบด้าน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รับผิดชอบต่อสังคม และมีธรรมาภิบาล
ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออก ”แนวนโยบายภูมิทัศน์ภาคการเงินไทย เพื่อเศรษฐกิจดิจิทัลของการเติบโตอย่างยั่งยืน” เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ดังนี้
1. สถาบันการเงินมีการผนึกเรื่องESG เข้าอยู่ในกระบวนการตัดสินใจ และดำเนินธุรกิจอย่างเป็นระบบ
2. มีผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่สนับสนุนให้ภาคธุรกิจปรับตัวรับมือการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมได้อย่างเท่าทัน รวมทั้งการช่วยให้ภาคประชาชนบริหารการเงินและจัดการหนี้ได้อย่างยั่งยืน
3. สถาบันการเงินสามารถบริหารจัดการความเสี่ยง โดยเฉพาะที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมได้อย่างทันการณ์ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของระบบการเงิน
เจตนารมณ์ของสมาคมธนาคารไทยครั้งนี้ จึงนับว่าสอดคล้องกับสิ่งที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอยากเห็น เป็นผลให้ธนาคารทุกแห่งซึ่งเป็นสมาชิกของสมาคมธนาคารไทยได้เห็นชอบร่วมกันในแนวทาง 6 ข้อ
1. หลักธรรมาภิบาล มีระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดี(CG) และดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งการกำกับของคณะกรรมการธนาคาร และการดำเนินงานของผู้บริหาร
2. ยุทธศาสตร์ บูรณาการพันธกิจด้านESG เข้ากับยุทธศาสตร์การดำเนินธุรกิจ และกำหนดกรอบด้านการเงินที่ยั่งยืน ทั้งนี้สนับสนุนให้ประเทศสามารถไปสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์( ์Net Zero)ได้อย่างราบรื่น
3. การบริหารความเสี่ยง รวมประเด็นESG ไว้ในกระบวนการบริหารความเสี่ยง
4. ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ปรับใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงบริการทาง รวม ทั้งมีนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
5. การสื่อสาร ประสานความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการสร้างจิตสำนึกสาธารณะESG
6. การเปิดเผยข้อมูลทางการเงิน พัฒนาระบบการติดตามและรายงานตามมาตรฐานสากล
ข้อคิด…..
เพราะธนาคารเป็นธุรกิจบริการทางการเงิน จึงเป็น”ท่อน้ำเงิน” ที่สามารถสนับสนุนให้กิจการธุรกิจเกิดและเติบโตได้ การประกาศเจตนารมณ์จะดำเนินงานด้วยหลัก”ธรรมาภิบาล” คือทำสิ่งที่ถูกต้องและเป็นธรรม เป็นธนาคารที่เก่งและดี มีความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ดีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ก็เป็นโอกาสเกื้อหนุนให้ธุรกิจต่างๆที่เกี่ยวข้องมีแนวทางที่ดีตามมาด้วย
โดยเฉพาะหลายธนาคารเริ่มมี”สินเชื่อสีเขียว” ในการสนับสนุนธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และไม่สนับสนุนสินเชื่อแก่อุตสาหกรรมและโรงไฟฟ้า ที่ก่อปัญหา”โลกร้อน”ที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ที่ทำให้เกิดภัยธรรมชาติที่รุนแรงในโลกและประเทศไทย เช่นน้ำท่วมสูงในหลายพื้นที่ขณะนี้
จึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ทุกภาคส่วน และทุกคนต้องช่วยกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อคุมอุณหภูมิของโลกไม่ให้เพิ่มเกิน 1.5 องศาเซลเซียส ก่อนถึงระดับหายนะต่อมนุษยชาติ
suwatmgr@gmail.com
สมาคมธนาคารไทย เพิ่งได้ประกาศเจตนารมณ์ ( ESG Declaration) เพื่อบอกทิศทางที่ชัดเจนของธนาคารทุกแห่งที่เป็นสมาชิกสมาคม ที่จะดำเนินธุรกิจที่ดีโดยคำนึงถึงผลลัพธ์ 3 มิติ ได้แก่
●เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม( Environmental)
●รับผิดชอบต่อสังคม ( Social )
●มีธรรมาภิบาล (Governance)
นี่เป็นความเคลื่อนไหวที่มีความหมายมาก เพราะธนาคารเป็นกลไกสนับสนุนทางการเงินให้ธุรกิจเกิด เติบโต และขยายกิจการได้
การมีชุดความคิดเชิงคุณธรรมที่ ”เกื้อกูล” สังคมและสิ่งแวดล้อม จึงเป็นกลไกแบบ”ทุนนิยมสร้างสรรค์
ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งไปร่วมเป็นสักขีพยาน รู้สึกยินดีกับก้าวสำคัญของภาคการเงินไทย ที่ประกาศพันธสัญญา ในการสนับสนุนการปรับตัวของเศรษฐกิจแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน
จากข่าวสารในปัจจุบันก็ยืนยันได้ว่าผู้บริโภคทั่วโลก นักลงทุน และผู้ใช้บริการทางการเงิน ต่างให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ จึงมีผลกดดันให้ธุรกิจต่างๆต้องเร่งปรับความคิด ปรับระบบการผลิต ด้วยความถูกต้องเป็นธรรม รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ก็จะเปลี่ยนจาก”ความเสี่ยง” กลายเป็น”โอกาส” เพราะมีความพร้อมกว่า
ขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย ซึ่งร่วมกับธนาคารกรุงศรีอยุธยา เป็นแกนสนับสนุนการเตรียมงานประกาศเจตนารมณ์ครั้งนี้ กล่าวว่าสมาคมธนาคารไทย ตระหนักในความเร่งด่วนและรุนแรงของปัญหาวิกฤตด้านภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ธนาคารสมาชิกจึงมีความตั้งใจแน่วแน่ ที่จะร่วมแรงร่วมใจผลักดันให้เกิดผลลัพธ์ด้านต่างๆอีกมากในอนาคตอันใกล้ เพื่อให้เศรษฐกิจก้าวหน้าและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้สมาคมธนาคารไทยให้คำมั่นว่า จะดำเนินการตามเจตนารมณ์ESGอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงด้วยความโปร่งใสและยืดหยุ่น ในการทำงานระหว่างธนาคารสมาชิก ที่จะประสานงานบนมาตรฐานเดียวกัน ในหลักการ”ปฏิบัติให้มากที่สุด หรือชี้แจงเหตุผลในกรณีไม่สามารถปฏิบัติได้”
เพื่อให้เกิดผลเป็นจริงจึงจะจัดทำคู่มือ ระบุรายละเอียดการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง กรอบเวลา และตัวชี้วัดการดำเนินงาน แต่ละองค์ประกอบด้าน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รับผิดชอบต่อสังคม และมีธรรมาภิบาล
ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออก ”แนวนโยบายภูมิทัศน์ภาคการเงินไทย เพื่อเศรษฐกิจดิจิทัลของการเติบโตอย่างยั่งยืน” เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ดังนี้
1. สถาบันการเงินมีการผนึกเรื่องESG เข้าอยู่ในกระบวนการตัดสินใจ และดำเนินธุรกิจอย่างเป็นระบบ
2. มีผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่สนับสนุนให้ภาคธุรกิจปรับตัวรับมือการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมได้อย่างเท่าทัน รวมทั้งการช่วยให้ภาคประชาชนบริหารการเงินและจัดการหนี้ได้อย่างยั่งยืน
3. สถาบันการเงินสามารถบริหารจัดการความเสี่ยง โดยเฉพาะที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมได้อย่างทันการณ์ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของระบบการเงิน
เจตนารมณ์ของสมาคมธนาคารไทยครั้งนี้ จึงนับว่าสอดคล้องกับสิ่งที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอยากเห็น เป็นผลให้ธนาคารทุกแห่งซึ่งเป็นสมาชิกของสมาคมธนาคารไทยได้เห็นชอบร่วมกันในแนวทาง 6 ข้อ
1. หลักธรรมาภิบาล มีระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดี(CG) และดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งการกำกับของคณะกรรมการธนาคาร และการดำเนินงานของผู้บริหาร
2. ยุทธศาสตร์ บูรณาการพันธกิจด้านESG เข้ากับยุทธศาสตร์การดำเนินธุรกิจ และกำหนดกรอบด้านการเงินที่ยั่งยืน ทั้งนี้สนับสนุนให้ประเทศสามารถไปสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์( ์Net Zero)ได้อย่างราบรื่น
3. การบริหารความเสี่ยง รวมประเด็นESG ไว้ในกระบวนการบริหารความเสี่ยง
4. ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ปรับใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงบริการทาง รวม ทั้งมีนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
5. การสื่อสาร ประสานความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการสร้างจิตสำนึกสาธารณะESG
6. การเปิดเผยข้อมูลทางการเงิน พัฒนาระบบการติดตามและรายงานตามมาตรฐานสากล
ข้อคิด…..
เพราะธนาคารเป็นธุรกิจบริการทางการเงิน จึงเป็น”ท่อน้ำเงิน” ที่สามารถสนับสนุนให้กิจการธุรกิจเกิดและเติบโตได้ การประกาศเจตนารมณ์จะดำเนินงานด้วยหลัก”ธรรมาภิบาล” คือทำสิ่งที่ถูกต้องและเป็นธรรม เป็นธนาคารที่เก่งและดี มีความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ดีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ก็เป็นโอกาสเกื้อหนุนให้ธุรกิจต่างๆที่เกี่ยวข้องมีแนวทางที่ดีตามมาด้วย
โดยเฉพาะหลายธนาคารเริ่มมี”สินเชื่อสีเขียว” ในการสนับสนุนธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และไม่สนับสนุนสินเชื่อแก่อุตสาหกรรมและโรงไฟฟ้า ที่ก่อปัญหา”โลกร้อน”ที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ที่ทำให้เกิดภัยธรรมชาติที่รุนแรงในโลกและประเทศไทย เช่นน้ำท่วมสูงในหลายพื้นที่ขณะนี้
จึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ทุกภาคส่วน และทุกคนต้องช่วยกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อคุมอุณหภูมิของโลกไม่ให้เพิ่มเกิน 1.5 องศาเซลเซียส ก่อนถึงระดับหายนะต่อมนุษยชาติ
suwatmgr@gmail.com