ในขณะที่ประเทศไทยกำลังก้าวข้ามไปสู่ตลาดยานยนต์ xEV (ยานยนต์แบตเตอรี่ไฟฟ้า (BEV) ยานยนต์ Plugin ไฮบริด (PHEV) และ ยานยนต์ไฮบริด (HEV)) ตามแรงผลักดันของนโยบายภาครัฐ
สิ่งที่น่าสนใจ คือ ตลาดที่เติบโตเหล่านี้มาจากผู้ใช้รถที่มีเป็นเจ้าของรถมากกว่า 1 คัน และ ผู้ใช้รถ BEV จะมีความกังวลอย่างมากในเรื่องแบตเตอรี่ดังนั้นการสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการเป็นเจ้าของรถ BEV ทั้งในด้านการชาร์จแบตเตอรี่ที่บ้าน และ สถานีชาร์จภายนอกจะเป็นส่วนสำคัญการผลักดันตลาดให้เติบโตและเกิดการส่งเสริมสภาพแวดล้อมสีเขียว
จากการเก็บข้อมูลออนไลน์ภายใต้ความร่วมมือของ Cint Panel และ บริษัท คัสต้อม เอเซีย จำกัดพบว่า คนไทยที่เป็นเจ้าของรถ xEV โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเภท BEV นั้น ส่วนใหญ่จะเป็นเจ้าของรถมากกว่า 1 คัน และ มีรถยนต์ทั้งประเภทเชื้อเพลิงทั่วไป และ ประเภท xEV
โดยจะใช้รถ BEV เพื่อการเดินทางในชีวิตประจำวัน และ การเดินทางในระยะทางสั้น (น้อยกว่า 300 กิโลเมตร) เป็นหลัก
เนื่องจากผู้ใช้ยานยนต์ประเภท BEV ดังกล่าวมีความกังวลในเรื่องสภาพการใช้งานของแบตเตอรี่มากที่สุด (77%) โดยความกังวลดังกล่าวเกิดจากความกลัวว่า BEV จะสูญเสียสมรรถภาพในการชาร์จเต็มเมื่อใช้รถผ่านไปในระยะเวลาหนึ่ง และ กังวลเรื่องค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนแบตเตอรี่ในอนาคต โดยหากทางผู้ประกอบการด้านสถานีชาร์จประจุไฟฟ้าต้องการที่จะตอบโจทย์ผู้ใช้รถ BEV สิ่งสำคัญที่จะต้องตอบโจทย์ผู้ใช้รถไฟฟ้าเหล่านี้ได้ คือ การให้บริการตรวจสอบอายุการใช้งานแบตเตอรี่ที่สถานีบริการชาร์จ การมีระบบที่สามารถจองหัวชาร์จล่วงหน้า และ ความสามารถในการจับจ่ายซื้อของ หรือ ทานอาหาร หรือ เครื่องดื่มระหว่างรอชาร์จ
โดยการชาร์จกระแสตรงที่รอได้นานที่สุดจะต้องไม่เกิน 45 นาที ต่อการชาร์จ 1 ครั้ง
นอกเหนือจากนั้นเป็นที่น่าสังเกตว่าผู้ใช้รถต้องการชาร์จรถไฟฟ้าในบ้านมากกว่าที่สถานีชาร์จ หรือ ที่จอดรถในห้างสรรพสินค้า
ในมุมมองที่กลับกันหากผู้ประกอบการต้องการที่จะจำหน่ายรถไฟฟ้า
สำหรับผู้ที่มองหาหรือต้องการเป็นเจ้าของรถ BEV จากการวิเคราะห์ข้อมูลโซเชียลมีเดีย ของบริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) พบว่า คนไทยมีความกังวล ในเรื่องระยะทางที่รถไฟฟ้าจะขับขี่ไปได้ ระยะเวลาที่ใช้ในการชาร์จ สถานนีชาร์จไฟฟ้า สมรรถนะของรถไฟฟ้า (อัตราเร่ง) ค่าบำรุงรักษารถไฟฟ้า และ ราคาขายต่อ ดังนั้นข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลที่ผู้จัดจำหน่ายรถยนต์จะต้องหาคำตอบเตรียมไว้เพื่อการปิดการขายที่มี่ประสิทธิภาพ ยิ่งไปกว่านั้นจากผลการศึกษา Online Panel พบว่า ระยะทางวิ่งสูงสุดเมื่อชาร์จเต็ม ระยะเวลาในการชาร์จ และ อายุการใช้งานของแบตเตอรี่เป็นเกณฑ์หลักในการเลือกรถไฟฟ้า
บทความโดย สุกิจ ตันสกุล
ประธานกรรมการบริหารบริษัท คัสต้อม เอเซีย จำกัด
ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาวิจัยตลาดมากว่า 30 ปี