สถานการณ์ทางเศรษฐกิจโลกสู่ภาวะถดถอย ส่งผลกระทบมายังวงการต่างๆ ของไทยในปีนี้ มีแนวโน้มสั่งสมปัญหาท้าทาย ทั้งเงินเฟ้อ การจ้างงานชะลอลง กำลังซื้อลด องค์กรอยู่รอดและเติบโตในภาวะวิกฤตได้อย่างไร
ธนาคารโลก ซึ่งได้เผยแพร่รายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลก (Global Economic Prospects) เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาโดยคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจโลก จะพบกับภาวะชะลอตัวรุนแรงที่สุดในรอบกว่า 80 ปีหลังจากที่มีการฟื้นตัวจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย ในช่วงแรก ๆ
นายเดวิด มัลพาส ประธานธนาคารโลก กล่าวว่า มีหลายปัจจัยไม่ว่าจะเป็นสงครามในยูเครน ผลจากการปิดเมืองเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในจีนที่ส่งผลกระทบต่อซัพพลายเชนและห่วงโซ่การผลิต อีกทั้งมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจชะงักงัน (stagflation) ที่มีทั้งเงินเฟ้อสูง อัตราว่างงานสูง เกิดขึ้นประกอบกัน ขณะที่เศรษฐกิจไม่มีการขยายตัวหรือถดถอย ปัจจัยเหล่านี้จะฉุดรั้งการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
รายงานของธนาคารโลกระบุว่า สถานการณ์เช่นนั้นจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงของภาวะเศรษฐกิจชะงักงัน ซึ่งจะทำให้เกิดผลกระทบที่เป็นภัยต่อกลุ่มประเทศทั้งรายได้ต่ำและรายได้ปานกลาง คล้ายกับที่เคยเกิดขึ้นในช่วงทศวรรษ 1970 ซึ่งขณะนั้นเศรษฐกิจชะงักงัน เงินเฟ้อพุ่งแรง ทำให้ราคาสินค้าปรับขึ้นทั่วหน้า ขณะที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในเกณฑ์ต่ำเป็นระยะเวลายาวนาน
ขณะเดียวกันมาตรการทางการเงินของสหรัฐฯ ทำให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าส่งผลกระทบต่อค่าเงินในภูมิภาคอื่นๆ ในเอเชียรวมถึงค่าเงินบาทไทยที่อ่อนค่าลงแล้วประมาณ 7% ทำให้ทุกอุตสาหกรรมที่ต้องพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าทุนทุกประเภท อาทิ เครื่องจักร ต้องประสบปัญหาสองเด้งคือซื้อในราคาแพงขึ้นจากค่าเงินบาทอ่อนค่าและภาวะเงินเฟ้อในประเทศที่ทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น และกำลังซื้อของผู้บริโภคลดลงซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะมีผลกระทบกับตลาดแรงงานที่ภาคธุรกิจต่างรัดเข็มขัดไม่จ้างงานใหม่
แม้ในบางกลุ่มธุรกิจสามารถขยายตัวได้ เช่น ธุรกิจออนไลน์ ดิจิทัล อีคอมเมิร์ซ เดลิเวอรี่ ดูแลสุขภาพ ซึ่งก็ต้องมีการปรับใช้ออนไลน์ให้เข้ากับธุรกิจ อย่างไรก็ดี บรรยากาศโดยรวมการจ้างงานก็ชะลอลง ซึ่งสอดคล้องกับธนาคารแห่งประเทศไทยคาดการณ์ว่าการฟื้นตัวเศรษฐกิจ มีความไม่แน่นอนสูง อีกทั้งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจครั้งนี้ ต้องใช้เวลานาน และธุรกิจที่เริ่มฟื้นตัวแต่การฟื้นตัวเป็นแบบ ไม่เท่าเทียม ซึ่งจะกระทบกับระดับการจ้างงานและรายได้ของคนไทย
นายวีระวัฒน์ พงษ์พยอม ผู้ร่วมก่อตั้ง OKR Academy Thailand กล่าวว่า องค์กรต่างๆ จะสามารถรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวได้จากการสร้างประสิทธิภาพการดำเนินงานเพื่อ "เป็นองค์กรมุ่งผลสัมฤทธิ์" โดยมุ่งเน้นการลดความซ้ำซ้อนและการแบ่งแยกการทำงาน (Silo) และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมาเสริมสร้างประสิทธิภาพการดำเนินงานเพื่อ "เป็นองค์กรมุ่งผลสัมฤทธิ์" และ OKRs (Objective & Key Results) คือหนึ่งในเครื่องมือการบริหารจัดการสมัยใหม่ที่องค์กรต่างๆ ได้นำมาใช้ในการปรับตัวให้องค์กรสามารถอยู่รอดได้ในสภาวะเศรษฐกิจถดถอย และพัฒนาทั้งองค์กรและบุคลากรในองค์กรให้เกิดความร่วมมือยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันได้ในระยะยาว
องค์กรของท่านเตรียมรับมือกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั้งโลกอย่างไร (World Economic Recession) การนำยุทธศาสตร์/กลยุทธ์ไปใช้อย่างได้ผล สำคัญกว่าการวางแผน การนำองค์กร การสื่อสารทำอย่างไรจะได้รับความร่วมมือจากพนักงานในองค์กร การทำงานร่วมกันแบบข้ามสายงานมีความจำเป็นต่อความอยู่รอดขององค์กร ที่ไม่ใช่แค่ต่างคนต่างทำเหมือนเมื่อก่อน ที่ทำให้เสียเวลา สิ้นเปลืองทรัพยากร ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ทันเวลาฯ ไม่มีเวลาสำหรับการลองผิดลองถูกอีกต่อไป
พบคำตอบได้ใน Free Webinar : “How to Thrive Your Business and Engage Your Virtual Team?”
“องค์กรจะอยู่รอดและเติบโต ในภาวะวิกฤติ การทำงานเป็นทีม ทั้งองค์กรได้อย่างไร.”
กิจกรรมพิเศษแบบ “Exclusive” จาก “OKR Academy Thailand” องค์กรที่ปรึกษาชั้นนำด้านการพัฒนาองค์กร ด้วย OKRs และเครื่องการจัดการสมัยใหม่ การวางแผนยุทธศาสตร์/กลยุทธ์ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การโค้ช ฯลฯ และ ได้รับการรับรองจาก OKR International เป็น Trusted Partner แต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย ที่สามารถนำ องค์ความรู้ (OKRs body of Knowledge) ที่ถูกต้อง ผ่านการวิจัยและประสบการณ์จริงในระดับนานาชาติ
กิจกรรม “Exclusive” แบบเข้มข้นนี้ผนึกกำลังร่วมกันกับ “OKR International” องค์กรชั้นนำด้านการพัฒนาองค์กรด้วย OKRs และพันธมิตรมืออาชีพ “Manager Online” และ “Taskworld” ร่วมสนับสนุนการถ่ายทอดเคล็ดลับที่พลาดไม่ได้ครั้งนี้
สำรองที่นั่งได้ที่ ..... https://forms.gle/xTZLyWPXRwRS1j9q7