มหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพและองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี ลงนามความร่วมมือในการพัฒนาชุมชนครอบคลุมพื้นที่จังหวัดปทุมธานี
ผศ.ดร.นเรฏฐ์ พันธราธร รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยว่า รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งในโอกาสทีมหาวิทยาลัยรังสิตได้ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี (อบจ.ปทุมธานี) จัดให้มีพิธีลงนามความร่วมมือในการพัฒนาชุมชนในครั้งนี้ ซึ่งนับเป็นความร่วมมือ 3 ประสาน ที่จะมุ่งสร้างเสริมสุขภาพ สร้างสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดีในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี โดยที่ผ่านมามหาวิทยาลัยรังสิตได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ในการพัฒนาต่อยอดความรู้ของนักศึกษา เพื่อส่งต่อประชาชนในชุมชนหลักหก ให้มีความรู้และแนวทางในการสร้างรายได้ รวมถึงองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี ที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการสนับสนุนบุคลากร เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ในการพัฒนาชุมชนร่วมกัน
“สิ่งที่สำคัญไปกว่านั้นคือเชื่อมโยงกับช่วงที่ผ่านมาในช่วงที่ประสบปัญหาโควิด-19 มหาวิทยาลัยได้มีโอกาสเข้าไปให้ความช่วยเหลือประชาชนในชุมชนหลักหก จนกระทั่งวันนี้ชุมชนเมืองเอกและหลักหก มีความสัมพันธ์ดีที่กับมหาวิทยาลัยรังสิตอย่างมาก มีการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชนและนี่เป็นตัวอย่างในจังหวัดปทุมธานี ซึ่งเราเรียกสิ่งนี้ว่า “เศรษฐกิจเกื้อกูล” และในวันนื้นับเป็นโอกาสอันดีที่ทั้ง 3 องค์กร จะร่วมมือในการพัฒนา สร้างการเปลี่ยนแปลงทางด้านสุขภาวะ สร้างรายได้ ให้ความรู้ ตลอดจนสนับสนุนการดำเนินโครงการวิจัยร่วมกัน” รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย กล่าว
ด้าน นางเข็มเพชร เลนะพันธ์ รักษาการผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ กล่าวว่า การร่วมทุนกับ 3 ภาคส่วน คือ สสส. ม.รังสิต และอบจ.ปทุมธานี เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เนื่องจากเราเห็นความเข้มแข็งทั้งศักยภาพและทรัพยากรในพื้นที่การผนึกกำลังเพื่อเป็นภาคีหุ้นส่วนการสร้างเสริมสุขภาพในครั้งนี้ เราเชื่อมั่นว่าจะเป็นการผนึกกำลังในเชิงทรัพยากรที่เป็นทั้งทรัพยากรที่เป็นทุนในเชิงงบประมาณ ทุนในเชิงของความรู้ ทุนสังคม บุคลากรในการทำให้คนในชุมชนในจังหวัดปทุมธานีได้สามารถเข้าถึงแหล่งทรัพยากรนี้ และนำไปขับเคลื่อนเรื่องของการสร้างเสริมสุขภาพ
แนวคิดที่สำคัญของการทำงานสร้างเสริมสุขภาพของสสส.นั้น ให้ความสำคัญกับกระบวนการสานพลังการสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีภาคส่วนต่างๆ ที่ปัจจุบันกระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ เป็นการสร้างความร่วมมือกับภาคีในระดับพื้นที่ให้เข้ามามีส่วนร่วมขับเคลื่อนการทำงานสร้างเสริมสุขภาพ
ปัจจุบันนี้ประเด็นเรื่องของการสร้างเสริมสุขภาพไม่ได้อยู่แค่เรื่องทางสุขภาพ
ภาวะหลายๆ อย่าง กระทบไปมากกว่าเรื่องของสุขภาพเชื่อมโยงไปในมิติเรื่องของสังคม เชิงสิ่งแวดล้อม และเชิงเศรษฐกิจ ซึ่งทุกมิติล้วนส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน ดังนั้น
โอกาสของการร่วมทุนในครั้งนี้เราคาดหวังว่าจะเกิดการทำงานในลักษณะภาคี
หุ้นส่วนในระยะยาว และเชื่อมั่นในศักยภาพของเครือข่ายในจ.ปทุมธานี
ที่จะทำให้ทุกๆ คนสามารถเข้าถึงโอกาสในเรื่องของการทำงานสร้างเสริมสุขภาพได้อย่างยั่งยืน
พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี
กล่าวว่า ที่ผ่านมาเราได้ทำงานร่วมกันมาโดยตลอด ในส่วนของอบจ.ปทุมธานีเอง ผมได้มีโอกาสเป็นตัวแทนของนายกอบจ. ทั้ง 76 จังหวัด ในการที่จะเป็นคณะกรรมการในสื่อสุขภาพแห่งชาติ
ซึ่งได้มีการนำปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพทั้งหมดนำข้อเท็จจริงไปถ่ายทอดให้ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขได้ทราบว่าสถานการณ์จริงเป็นอย่างไร ในปัจจุบันเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุซึ่งจะต้องเตรียมรองรับเรื่องนี้
อย่างไรก็ตาม อบจ.ปทุมธานี
นอกจากสนับสนุนหลายสิ่งหลายอย่างในช่วงโควิดเราพยายามที่จะนำนวัตกรร
มใหม่ๆ มาใช้ เพื่อแก้ปัญหาให้พี่น้องประชาชนได้ตรงประเด็นและรวดเร็ว
โดยได้มีการตั้งกองสาธารณสุขขึ้นมา เพื่อให้พี่น้องประชาชนมีสุขภาพที่ดี
ดังนั้น ในเรื่องของสุขภาพเราได้เล็งเห็นความสำคัญมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนให้ประชาชนออกกำลังกาย ต้องขอขอบคุณมหาวิทยาลัยรังสิต และสสส. ที่ให้โอกาสและให้ความสำคัญกับอบจ.ปทุมธานี ได้เข้ามาร่วมในการพัฒนาตรงนี้
ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโมเดลที่หลักหกจะเป็นโมเดลต่อไปทั้งจังหวัดปทุมธานี
และเป็นต้นแบบที่ทำให้พี่น้องชาวปทุมธานีมีสุขภาพที่ดีต่อไปในอนาคต