ในระดับโลกผู้นำ 193 ประเทศได้สนับสนุนองค์การสหประชาชาติให้เดินหน้า เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และยืนยันจะเร่งแก้ปัญหาสำคัญของโลก 17 ประการ ให้สำเร็จภายในปี 2030
โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาภูมิอากาศโลกรวน (Crimate Crisis) ที่กำลังวิกฤตทั้ง ดิน น้ำ อากาศ ที่เป็นผลจากภาวะโลกร้อน จนต้องมีมาตรการ ลดอุณหภูมิของโลก ไม่ให้เพิ่มเกิน 1.5 องศา ไม่เช่นนั้นเกิดภัยร้ายแรงกว่านี้
แล้วเมืองไทยเรา อะไรคือปัญหาวิกฤตสั่งสม ที่ยังรอการแก้ให้ถูกจุด
แน่นอน เรารู้กันอยู่ ว่ามีปัญหาน้ำ สำหรับพื้นที่ภาคการเกษตร ที่ยังเป็นปัญหาตามฤดูกาล จนภาครัฐทุกยุคต้องมีมาตรการช่วยเหลือกันทุกปี
การเป็นประเทศเกษตรกรรมมายาวนาน เพราะอยู่ในภูมิประเทศที่เหมาะกับการเพาะปลูก พลเมืองส่วนใหญ่จึงเป็นเกษตรกร และน่าจะประสบความสำเร็จในอาชีพ มีความเชี่ยวชาญในการจัดการปัจจัยการผลิตเพื่อเพิ่มผลิตภาพ
เรื่องความยากจน และหนี้สินของเกษตรกร จึงไม่น่าเกิดขึ้นมากและกว้างขวาง อย่างที่กำลังเผชิญ
ผมอยากเห็นการยกย่องว่าเกษตรกรมีความสำคัญ ไม่ใช่มีแค่ในเพลงหรือคำขวัญ แบบภาษาดอกไม้ อยากเห็นเกษตรกรมีชีวิตที่มีความสุขกับธรรมชาติ ไม่ขัดสน และควรมีอยู่เป็นส่วนใหญ่ ไม่ใช่มีทุกข์และความขาดแคลน เป็นส่วนใหญ่
จังหวะดีที่สำนักพิมพ์วิช ได้เปิดตัวหนังสือ Critical Thinking ที่ร่วมเขียนโดย ศุภวิทย์ ภาษิตนิรันดร์ ธเนศ นะธิศร๊ และ ปรีเวช วรรณโกวิท ก็พอจะเป็นคำตอบ
เมื่ออ่านแล้วน่าจะช่วยจุดประกายความคิดและกระตุ้นให้มี ”การคิดเชิงวิพากษ์” ตามชื่อหนังสือ ที่ต้องมีวิธีคิดอย่างมีวิจารณญาณ คือไม่ติดยึดในความคิดวิธีการที่เคยทำ แต่เป็นการคิดใหม่ (Rethinking) ด้วยการช่างสังเกต จึงเปรียบเทียบ และมุ่งหาโอกาสใหม่ มีการวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยเหตุผล อย่างเปิดกว้าง
Tony Wagner แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด ถึงกับระบุว่า ”การคิดเชิงวิพากษ์”เป็นทักษะที่จําเป็นสําหรับศตวรรษที่ 21 ในยุคปัจจุบัน เพื่อใช้ในการพิจารณา ตัดสินใจ หรือแก้ปัญหาอย่างฉลาดรอบคอบ
เรามาดูกันว่าวิธีการ Critical Thinking ที่ว่านี้ จะช่วยตอบโจทย์ "ปัญหาวัฏจักรความยากจน” และความไม่สมดุลในปัจจัยการผลิตของเกษตรกรได้อย่างไร
ก็เพราะภาคการเกษตรเจอผลกระทบจากการจัดการน้ำฝน ที่ไม่ดีพอ จึงมีทั้งช่วงที่น้ำ มากเกินไป และช่วงที่ขาดแคลนน้ำ
ฤดูฝน ที่ดีสำหรับการเพาะปลูก และการอุปโภคบริโภค ก็สร้างรายได้ให้ครอบครัว แต่ช่วงที่ฝนตกมากเกินไป จนแหล่งกักเก็บน้ำเอาไม่อยู่ ก็เกิดภาวะน้ำท่วม ทำให้พื้นที่การเกษตรเสียหาย
พอถึงฤดูแล้ง ก็ขาดน้ำสำหรับการเพาะปลูก แม้มีระบบชลประทานส่งน้ำให้เกษตรกร แต่ก็ไม่เพียงพอ เพราะพื้นที่ชลประทานมีเพียง 26 ล้านไร่ ของพื้นที่การเกษตรที่มีกว่า 154 ล้านไร่ แสดงว่าพื้นที่นอกเขตชลประทาน ยังขาดการจัดการน้ำมีถึง 128 ล้านไร่( 83%)
เมื่อเกิดความเสียหายจะน้ำท่วมและน้ำแล้ง รัฐบาลชุดต่างๆก็มักมองเป็นการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ เช่น มีการประกันราคา การรับซื้อผลผลิต การลดอัตราดอกเบี้ย รวมทั้งการจ่ายเงินชดเชยความเสียหาย จากน้ำท่วม
สาเหตุที่แท้จริง ที่เกิดน้ำท่วมและน้ำแล้ง ก็ยังไม่ได้รับ”การจัดการ” เพื่อแก้ไขอย่างเหมาะสม
แม้แต่พื้นที่ภาคอีสาน ซึ่งไม่สามารถสร้างเขื่อนได้ ผู้คนใช้วิธีสูบน้ำจากใต้ดิน ซึ่งในระยะยาวก็จะเกิดผลเสีย เนื่องจากการเสียสมดุลของชั้นน้ำใต้ดิน ซึ่งเสมือนเป็นธนาคารน้ำใต้ดิน เมื่อไม่มีการฝากน้ำเติมกลับเข้าไป ในที่สุดก็จะหมดหรือติดลบ
ดร.คุณหญิง กัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงมีดำริและทุ่มเทให้กับ”โครงการบริหารจัดการน้ำในชุมชน ตามแนวพระราชดำริ” โดยสนับสนุนการสัมผัสความจริงและดำเนินการ”หลักสูตรชลกร”เข้าสู่ระบบการศึกษาของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี เป็นรุ่นที่ 2แล้ว ในปีนี้
หลักการบริหารจัดการน้ำตามแนวพระราชดำริเรียกสั้นๆว่า
"3นอก"
1. มีที่ให้น้ำอยู่ คือ รักษาแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น สระ คู คลอง หนอง บึง หรือสร้างแก้มลิง
2.หาที่ให้น้ำไหล คือ การควบคุมทิศทางไหลของน้ำ ไปยังแหล่งน้ำที่เราต้องการ
3.เก็บน้ำไว้ใต้ดิน หรือ การสร้างธนาคารน้ำใต้ดิน
"3 ใน"
1.ประหยัด ออกแบบการจัดการน้ำที่ใช้ต้นทุนไม่สูง
2.ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ จัดการน้ำโดยใช้พลังงานน้อยที่สุด เช่น ทำให้น้ำสามารถไหลด้วยแรงโน้มถ่วง ลดการใช้ไฟฟ้าเพื่อสูบน้ำ
3.ชุมชนมีส่วนร่วม ชักชวนให้ช่วยกันแก้ปัญหา และรับผิดชอบในชุมชนของตน กระตุ้นให้ทุกคนรักและหวงแหนทรัพยากรน้ำของชุมชน และบริหารจัดการน้ำในพื้นที่อย่างยั่งยืน ทั้งยังสามารถแก้ปัญหาความยากจน และเพิ่มรายได้ให้ชุมชนมากถึง 300%
มีตัวอย่างหลายชุมชนเล็กๆในภาคอีสาน ได้นำหลักการนี้ไปใช้แล้วได้ผลจริง เช่น ชุมชนบ้านลิ่มทอง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ใช้กระบวนการเรียนรู้จัดการทรัพยากรน้ำ ลงมือทำจนเกิดประสบการณ์ทำให้คนในท้องถิ่นเปลี่ยนแปลง คิดเป็น ทำเป็น และเกิดเครือข่ายการมีส่วนร่วม มีการทำบัญชีครัวเรือน วางแผนอาชีพ วางแผนปลดหนี้
ข้อคิด….
หนังสือเล่มนี้ เริ่มต้นครึ่งเล่่มเป็นการถอดบทเรียน เบื้องหลังภารกิจถ้ำหลวง เพื่อช่วยเหลือ 13 ชีวิตทีมหมูป่า ที่ติดอยู่ในถ้ำเกือบครึ่งเดือน ให้ออกมาได้สำเร็จ จนเป็นข่าวดังระดับโลก และกลายเป็นภาพยนตร์สารคดี “The Rescue” ของ National Geographic ที่ได้รับยกย่องด้วยรางวัลมากมาย
ครึ่งหลังต่อยอดที่หน้าสนใจ ได้ประมวลองค์ความรู้และประสบการณ์ ช่วยให้เข้าใจชัดต่อระบบคิดแบบ Critical Thinking ในการตัดสินใจและแก้ปัญหา
ก็พบว่าหัวใจสำคัญก็คือ “การบริหารจัดการน้ำ”และขยายผลมายังวิธีคิดแก้ปัญหาน้ำสำหรับเกษตรกรในประเทศไทยด้วย”หลักสูตรชลกร” ที่จะสร้างนักบริหารจัดการน้ำซึ่งจะมีบทบาทต่อการพัฒนาชุมชน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาภูมิอากาศโลกรวน (Crimate Crisis) ที่กำลังวิกฤตทั้ง ดิน น้ำ อากาศ ที่เป็นผลจากภาวะโลกร้อน จนต้องมีมาตรการ ลดอุณหภูมิของโลก ไม่ให้เพิ่มเกิน 1.5 องศา ไม่เช่นนั้นเกิดภัยร้ายแรงกว่านี้
แล้วเมืองไทยเรา อะไรคือปัญหาวิกฤตสั่งสม ที่ยังรอการแก้ให้ถูกจุด
แน่นอน เรารู้กันอยู่ ว่ามีปัญหาน้ำ สำหรับพื้นที่ภาคการเกษตร ที่ยังเป็นปัญหาตามฤดูกาล จนภาครัฐทุกยุคต้องมีมาตรการช่วยเหลือกันทุกปี
การเป็นประเทศเกษตรกรรมมายาวนาน เพราะอยู่ในภูมิประเทศที่เหมาะกับการเพาะปลูก พลเมืองส่วนใหญ่จึงเป็นเกษตรกร และน่าจะประสบความสำเร็จในอาชีพ มีความเชี่ยวชาญในการจัดการปัจจัยการผลิตเพื่อเพิ่มผลิตภาพ
เรื่องความยากจน และหนี้สินของเกษตรกร จึงไม่น่าเกิดขึ้นมากและกว้างขวาง อย่างที่กำลังเผชิญ
ผมอยากเห็นการยกย่องว่าเกษตรกรมีความสำคัญ ไม่ใช่มีแค่ในเพลงหรือคำขวัญ แบบภาษาดอกไม้ อยากเห็นเกษตรกรมีชีวิตที่มีความสุขกับธรรมชาติ ไม่ขัดสน และควรมีอยู่เป็นส่วนใหญ่ ไม่ใช่มีทุกข์และความขาดแคลน เป็นส่วนใหญ่
จังหวะดีที่สำนักพิมพ์วิช ได้เปิดตัวหนังสือ Critical Thinking ที่ร่วมเขียนโดย ศุภวิทย์ ภาษิตนิรันดร์ ธเนศ นะธิศร๊ และ ปรีเวช วรรณโกวิท ก็พอจะเป็นคำตอบ
เมื่ออ่านแล้วน่าจะช่วยจุดประกายความคิดและกระตุ้นให้มี ”การคิดเชิงวิพากษ์” ตามชื่อหนังสือ ที่ต้องมีวิธีคิดอย่างมีวิจารณญาณ คือไม่ติดยึดในความคิดวิธีการที่เคยทำ แต่เป็นการคิดใหม่ (Rethinking) ด้วยการช่างสังเกต จึงเปรียบเทียบ และมุ่งหาโอกาสใหม่ มีการวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยเหตุผล อย่างเปิดกว้าง
Tony Wagner แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด ถึงกับระบุว่า ”การคิดเชิงวิพากษ์”เป็นทักษะที่จําเป็นสําหรับศตวรรษที่ 21 ในยุคปัจจุบัน เพื่อใช้ในการพิจารณา ตัดสินใจ หรือแก้ปัญหาอย่างฉลาดรอบคอบ
เรามาดูกันว่าวิธีการ Critical Thinking ที่ว่านี้ จะช่วยตอบโจทย์ "ปัญหาวัฏจักรความยากจน” และความไม่สมดุลในปัจจัยการผลิตของเกษตรกรได้อย่างไร
ก็เพราะภาคการเกษตรเจอผลกระทบจากการจัดการน้ำฝน ที่ไม่ดีพอ จึงมีทั้งช่วงที่น้ำ มากเกินไป และช่วงที่ขาดแคลนน้ำ
ฤดูฝน ที่ดีสำหรับการเพาะปลูก และการอุปโภคบริโภค ก็สร้างรายได้ให้ครอบครัว แต่ช่วงที่ฝนตกมากเกินไป จนแหล่งกักเก็บน้ำเอาไม่อยู่ ก็เกิดภาวะน้ำท่วม ทำให้พื้นที่การเกษตรเสียหาย
พอถึงฤดูแล้ง ก็ขาดน้ำสำหรับการเพาะปลูก แม้มีระบบชลประทานส่งน้ำให้เกษตรกร แต่ก็ไม่เพียงพอ เพราะพื้นที่ชลประทานมีเพียง 26 ล้านไร่ ของพื้นที่การเกษตรที่มีกว่า 154 ล้านไร่ แสดงว่าพื้นที่นอกเขตชลประทาน ยังขาดการจัดการน้ำมีถึง 128 ล้านไร่( 83%)
เมื่อเกิดความเสียหายจะน้ำท่วมและน้ำแล้ง รัฐบาลชุดต่างๆก็มักมองเป็นการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ เช่น มีการประกันราคา การรับซื้อผลผลิต การลดอัตราดอกเบี้ย รวมทั้งการจ่ายเงินชดเชยความเสียหาย จากน้ำท่วม
สาเหตุที่แท้จริง ที่เกิดน้ำท่วมและน้ำแล้ง ก็ยังไม่ได้รับ”การจัดการ” เพื่อแก้ไขอย่างเหมาะสม
แม้แต่พื้นที่ภาคอีสาน ซึ่งไม่สามารถสร้างเขื่อนได้ ผู้คนใช้วิธีสูบน้ำจากใต้ดิน ซึ่งในระยะยาวก็จะเกิดผลเสีย เนื่องจากการเสียสมดุลของชั้นน้ำใต้ดิน ซึ่งเสมือนเป็นธนาคารน้ำใต้ดิน เมื่อไม่มีการฝากน้ำเติมกลับเข้าไป ในที่สุดก็จะหมดหรือติดลบ
ดร.คุณหญิง กัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงมีดำริและทุ่มเทให้กับ”โครงการบริหารจัดการน้ำในชุมชน ตามแนวพระราชดำริ” โดยสนับสนุนการสัมผัสความจริงและดำเนินการ”หลักสูตรชลกร”เข้าสู่ระบบการศึกษาของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี เป็นรุ่นที่ 2แล้ว ในปีนี้
หลักการบริหารจัดการน้ำตามแนวพระราชดำริเรียกสั้นๆว่า
"3นอก"
1. มีที่ให้น้ำอยู่ คือ รักษาแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น สระ คู คลอง หนอง บึง หรือสร้างแก้มลิง
2.หาที่ให้น้ำไหล คือ การควบคุมทิศทางไหลของน้ำ ไปยังแหล่งน้ำที่เราต้องการ
3.เก็บน้ำไว้ใต้ดิน หรือ การสร้างธนาคารน้ำใต้ดิน
"3 ใน"
1.ประหยัด ออกแบบการจัดการน้ำที่ใช้ต้นทุนไม่สูง
2.ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ จัดการน้ำโดยใช้พลังงานน้อยที่สุด เช่น ทำให้น้ำสามารถไหลด้วยแรงโน้มถ่วง ลดการใช้ไฟฟ้าเพื่อสูบน้ำ
3.ชุมชนมีส่วนร่วม ชักชวนให้ช่วยกันแก้ปัญหา และรับผิดชอบในชุมชนของตน กระตุ้นให้ทุกคนรักและหวงแหนทรัพยากรน้ำของชุมชน และบริหารจัดการน้ำในพื้นที่อย่างยั่งยืน ทั้งยังสามารถแก้ปัญหาความยากจน และเพิ่มรายได้ให้ชุมชนมากถึง 300%
มีตัวอย่างหลายชุมชนเล็กๆในภาคอีสาน ได้นำหลักการนี้ไปใช้แล้วได้ผลจริง เช่น ชุมชนบ้านลิ่มทอง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ใช้กระบวนการเรียนรู้จัดการทรัพยากรน้ำ ลงมือทำจนเกิดประสบการณ์ทำให้คนในท้องถิ่นเปลี่ยนแปลง คิดเป็น ทำเป็น และเกิดเครือข่ายการมีส่วนร่วม มีการทำบัญชีครัวเรือน วางแผนอาชีพ วางแผนปลดหนี้
ข้อคิด….
หนังสือเล่มนี้ เริ่มต้นครึ่งเล่่มเป็นการถอดบทเรียน เบื้องหลังภารกิจถ้ำหลวง เพื่อช่วยเหลือ 13 ชีวิตทีมหมูป่า ที่ติดอยู่ในถ้ำเกือบครึ่งเดือน ให้ออกมาได้สำเร็จ จนเป็นข่าวดังระดับโลก และกลายเป็นภาพยนตร์สารคดี “The Rescue” ของ National Geographic ที่ได้รับยกย่องด้วยรางวัลมากมาย
ครึ่งหลังต่อยอดที่หน้าสนใจ ได้ประมวลองค์ความรู้และประสบการณ์ ช่วยให้เข้าใจชัดต่อระบบคิดแบบ Critical Thinking ในการตัดสินใจและแก้ปัญหา
ก็พบว่าหัวใจสำคัญก็คือ “การบริหารจัดการน้ำ”และขยายผลมายังวิธีคิดแก้ปัญหาน้ำสำหรับเกษตรกรในประเทศไทยด้วย”หลักสูตรชลกร” ที่จะสร้างนักบริหารจัดการน้ำซึ่งจะมีบทบาทต่อการพัฒนาชุมชน