ทุกวันนี้มีเหตุปัจจัยที่ทำให้”การพัฒนาอย่างยั่งยืน”ไม่ใช่แค่คำกล่าวอ้างให้ดูดี หรือเป็นทางเลือก แต่เป็นสิ่งที่ต้องทำเพื่อความอยู่รอดในระยะยาว และเพิ่มจุดเด่นในการแข่งขันเชิงธุรกิจ ที่มีผลลัพธ์จับต้องได้
เพราะภัยธรรมชาติ ที่รุนแรง และเกิดบ่อยขึ้นในทุกภูมิภาค ประเด็นภาวะโลกร้อนและสภาพภูมิอากาศ”โลกรวน” ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่สหประชาชาติกระตุ้นให้ทุกประเทศทั้งภาครัฐและเอกชนต้อง”ลงมือทำจริง” เพื่อช่วยกันลดวิกฤต
แต่จาก”ความเสี่ยง”อาจกลายเป็น”โอกาส”สำหรับกิจการที่มีความคิดก้าวหน้าและปรับวิธีให้ทันการณ์-ทันเกมส์ เช่นจะมีมาตรการควบคุม เช่นภาษีสิ่งแวดล้อม ก็เป็นผลกีดกันสินค้าที่ซ้ำเติมสภาพแวดล้อม
แนวทางการทำธุรกิจยุคใหม่ ที่โลกยอมรับจึงเป็นกระบวนการผลิตสินค้าและบริการ ที่คำนึงถึงผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสีย ใน 3 มิติที่เรียกว่า ESGs ได้แก่
E : Environmental
เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ
S : Social
รับผิดชอบต่อสังคมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
G : Governance
บริหาร จัดการ ด้วยหลักธรรมาภิบาล เช่น ซื่อสัตย์ สุจริต ถูกต้องและเป็นธรรม
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จึงได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้บริษัทจดทะเบียนมีนโยบายและกลยุทธ์ดำเนินกิจการอยู่ในแนวทาง ESGs ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจมีความโดดเด่น และมีการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน คือมีผลประกอบการดี ควบคู่กับการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม
ขณะเดียวกัน ด้านนักลงทุนมืออาชีพในวงการตลาดทุน ทั้งในระดับโลกและเมืองไทยก็ตื่นตัวในแนวคิดการลงทุนอย่างยั่งยืน (Sustainable Investment) จึงเลือกลงทุนในกิจการที่เปิดเผย โปร่งใสให้ข้อมูลเกี่ยวกับ ESGs อย่างรอบด้านเพราะจะช่วยลดความเสี่ยง เนื่องจากกิจการที่ยึดหลักธรรมาภิบาล ที่บริหารธุรกิจ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ทำสิ่งที่ถูกต้อง และเป็นธรรมต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียย่อมจะลดความเสี่ยงจากการทำผิดกฎหมาย และลดความเสี่ยงจากการถูกต่อต้าน เมื่อเป็นธุรกิจที่ ”เก่งและดี” สังคมและลูกค้าก็ยอมรับและสนับสนุน นักลงทุนจึงมีความเชื่อมั่นว่ากิจการนั้นจะยั่งยืน
เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาของนักลงทุน ตลาดหลักทรัพย์ฯจึงได้จัดทำรายชื่อ”หุ้นยั่งยืน THSI” และตามมาด้วยรายงานกรณีศึกษาESG Impact Assessment Report
ส่วนสถาบันไทยพัฒน์ ก็มีการคัดเลือกกลุ่มหลักทรัพย์ ESG 100 เป็นประจำทุกปี และล่าสุดได้คัดเลือกหลักทรัพย์ที่น่าลงทุน กลุ่ม ESG Emerging ปี 2565
ศรพล ดุลยเสถียร รองผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ หัวหน้าสายงานวางแผนและกลยุทธ์องค์กร เปิดเผยผลสรุปการดำเนินแนวทาง ESGs ของบริษัทจดทะเบียนในรอบปี 2564 ว่าเกิดผลดี ได้แก่
ด้านสิ่งแวดล้อม (E)
มีการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องจักร ลดการใช้พลังงาน ลดของเสีย และหมุนเวียนนำทรัพยากรธรรมชาติกลับมาใช้ใหม่ เกิดผลดี เช่น
* ลดการใช้น้ำมันรวม 6 ล้านลิตร
*ใช้ไฟฟ้าลดลง 941 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง
* ใช้พลังงานหมุนเวียนกว่า 814 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง
* ลดการใช้น้ำและปรับสภาพกลับมาใช้ใหม่ 177.2 ล้านลูกบาศก์เมตร
*ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทั้งจากการผลิตและการได้สินเชื่อสีเขียว ได้กว่า 15 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์
ด้านสังคม(S)
มีการเปิดเผยนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน เน้นการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม
* ส่งเสริมความปลอดภัยและสุขอนามัยแก่พนักงาน
* พัฒนาคุณภาพชีวิต ทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นกว่า 250 ล้านบาท
* มีโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ทำให้ชุมชนได้ประโยชน์กว่า
14,000 ชุมชน
* ส่งเสริมอาชีพผู้พิการและกลุ่มเปราะบาง ช่วยให้มีรายได้เพิ่มกว่า 10 ล้านบาท
ด้านธรรมาภิบาล(G)
*ร่วมสร้างวัฒนธรรมโปร่งใส มี 111 บจ.เข้าร่วมเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชั่น
* ช่วยให้ลูกค้ามีสภาพคล่องดีขึ้น ด้วยการชำระค่าสินค้า-บริการเร็วขึ้น
*พัฒนาคู่ค้าให้ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนด้วย
ข้อคิด…
จากการ ติดตามพัฒนาการของแนวคิดและแนวปฏิบัติด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม(CSR )ซึ่งเป็นรากแก้วของกระบวนการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ทีมงาน Green Innovation & SD ซึ่งเป็นสื่อในเครือผู้จัดการ กำลังจะครบรอบ 10 ปีในการทำงานด้านนี้ ในเดือนสิงหาคมนี้ อาจกล่าวได้เห็นคลื่นแรกของการเปลี่ยนแปลงยุคใหม่ ที่เริ่มเปลี่ยนชุดความคิดหลายกิจการจากมุ่ง “กอบโกย”เป็นการ "เกื้อกูล" ผู้มีส่วนได้เสีย
เราได้เห็นวิถีการพัฒนาองค์กร ในแนวทาง ESGs ซึ่งเป็นบทบาทในมิติด้านข้อมูล ที่สื่อสารกับนักลงทุน ต่อเนื่องจากมิติด้านปฏิบัติการ CSR ที่มุ่งสื่อสารกับสังคม
คุณลักษณะ ESGs จึงเป็นคำตอบต่อสังคม ว่าเป็นกิจการที่มีองค์ประกอบของการพัฒนาที่สมดุล สู้ความยั่งยืนและมีโอกาสเป็น "องค์กร100ปี" เพราะได้รับการสนับสนุน จาก ลูกค้า คู่ค้า และนักลงทุน
เพราะภัยธรรมชาติ ที่รุนแรง และเกิดบ่อยขึ้นในทุกภูมิภาค ประเด็นภาวะโลกร้อนและสภาพภูมิอากาศ”โลกรวน” ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่สหประชาชาติกระตุ้นให้ทุกประเทศทั้งภาครัฐและเอกชนต้อง”ลงมือทำจริง” เพื่อช่วยกันลดวิกฤต
แต่จาก”ความเสี่ยง”อาจกลายเป็น”โอกาส”สำหรับกิจการที่มีความคิดก้าวหน้าและปรับวิธีให้ทันการณ์-ทันเกมส์ เช่นจะมีมาตรการควบคุม เช่นภาษีสิ่งแวดล้อม ก็เป็นผลกีดกันสินค้าที่ซ้ำเติมสภาพแวดล้อม
แนวทางการทำธุรกิจยุคใหม่ ที่โลกยอมรับจึงเป็นกระบวนการผลิตสินค้าและบริการ ที่คำนึงถึงผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสีย ใน 3 มิติที่เรียกว่า ESGs ได้แก่
E : Environmental
เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ
S : Social
รับผิดชอบต่อสังคมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
G : Governance
บริหาร จัดการ ด้วยหลักธรรมาภิบาล เช่น ซื่อสัตย์ สุจริต ถูกต้องและเป็นธรรม
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จึงได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้บริษัทจดทะเบียนมีนโยบายและกลยุทธ์ดำเนินกิจการอยู่ในแนวทาง ESGs ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจมีความโดดเด่น และมีการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน คือมีผลประกอบการดี ควบคู่กับการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม
ขณะเดียวกัน ด้านนักลงทุนมืออาชีพในวงการตลาดทุน ทั้งในระดับโลกและเมืองไทยก็ตื่นตัวในแนวคิดการลงทุนอย่างยั่งยืน (Sustainable Investment) จึงเลือกลงทุนในกิจการที่เปิดเผย โปร่งใสให้ข้อมูลเกี่ยวกับ ESGs อย่างรอบด้านเพราะจะช่วยลดความเสี่ยง เนื่องจากกิจการที่ยึดหลักธรรมาภิบาล ที่บริหารธุรกิจ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ทำสิ่งที่ถูกต้อง และเป็นธรรมต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียย่อมจะลดความเสี่ยงจากการทำผิดกฎหมาย และลดความเสี่ยงจากการถูกต่อต้าน เมื่อเป็นธุรกิจที่ ”เก่งและดี” สังคมและลูกค้าก็ยอมรับและสนับสนุน นักลงทุนจึงมีความเชื่อมั่นว่ากิจการนั้นจะยั่งยืน
เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาของนักลงทุน ตลาดหลักทรัพย์ฯจึงได้จัดทำรายชื่อ”หุ้นยั่งยืน THSI” และตามมาด้วยรายงานกรณีศึกษาESG Impact Assessment Report
ส่วนสถาบันไทยพัฒน์ ก็มีการคัดเลือกกลุ่มหลักทรัพย์ ESG 100 เป็นประจำทุกปี และล่าสุดได้คัดเลือกหลักทรัพย์ที่น่าลงทุน กลุ่ม ESG Emerging ปี 2565
ศรพล ดุลยเสถียร รองผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ หัวหน้าสายงานวางแผนและกลยุทธ์องค์กร เปิดเผยผลสรุปการดำเนินแนวทาง ESGs ของบริษัทจดทะเบียนในรอบปี 2564 ว่าเกิดผลดี ได้แก่
ด้านสิ่งแวดล้อม (E)
มีการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องจักร ลดการใช้พลังงาน ลดของเสีย และหมุนเวียนนำทรัพยากรธรรมชาติกลับมาใช้ใหม่ เกิดผลดี เช่น
* ลดการใช้น้ำมันรวม 6 ล้านลิตร
*ใช้ไฟฟ้าลดลง 941 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง
* ใช้พลังงานหมุนเวียนกว่า 814 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง
* ลดการใช้น้ำและปรับสภาพกลับมาใช้ใหม่ 177.2 ล้านลูกบาศก์เมตร
*ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทั้งจากการผลิตและการได้สินเชื่อสีเขียว ได้กว่า 15 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์
ด้านสังคม(S)
มีการเปิดเผยนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน เน้นการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม
* ส่งเสริมความปลอดภัยและสุขอนามัยแก่พนักงาน
* พัฒนาคุณภาพชีวิต ทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นกว่า 250 ล้านบาท
* มีโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ทำให้ชุมชนได้ประโยชน์กว่า
14,000 ชุมชน
* ส่งเสริมอาชีพผู้พิการและกลุ่มเปราะบาง ช่วยให้มีรายได้เพิ่มกว่า 10 ล้านบาท
ด้านธรรมาภิบาล(G)
*ร่วมสร้างวัฒนธรรมโปร่งใส มี 111 บจ.เข้าร่วมเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชั่น
* ช่วยให้ลูกค้ามีสภาพคล่องดีขึ้น ด้วยการชำระค่าสินค้า-บริการเร็วขึ้น
*พัฒนาคู่ค้าให้ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนด้วย
ข้อคิด…
จากการ ติดตามพัฒนาการของแนวคิดและแนวปฏิบัติด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม(CSR )ซึ่งเป็นรากแก้วของกระบวนการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ทีมงาน Green Innovation & SD ซึ่งเป็นสื่อในเครือผู้จัดการ กำลังจะครบรอบ 10 ปีในการทำงานด้านนี้ ในเดือนสิงหาคมนี้ อาจกล่าวได้เห็นคลื่นแรกของการเปลี่ยนแปลงยุคใหม่ ที่เริ่มเปลี่ยนชุดความคิดหลายกิจการจากมุ่ง “กอบโกย”เป็นการ "เกื้อกูล" ผู้มีส่วนได้เสีย
เราได้เห็นวิถีการพัฒนาองค์กร ในแนวทาง ESGs ซึ่งเป็นบทบาทในมิติด้านข้อมูล ที่สื่อสารกับนักลงทุน ต่อเนื่องจากมิติด้านปฏิบัติการ CSR ที่มุ่งสื่อสารกับสังคม
คุณลักษณะ ESGs จึงเป็นคำตอบต่อสังคม ว่าเป็นกิจการที่มีองค์ประกอบของการพัฒนาที่สมดุล สู้ความยั่งยืนและมีโอกาสเป็น "องค์กร100ปี" เพราะได้รับการสนับสนุน จาก ลูกค้า คู่ค้า และนักลงทุน