จุฬาฯ จัดเสวนา “ชัวร์ก่อนแชร์ : โรคฝีดาษวานร” สร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เผยวิทยาการล่าสุดการตรวจวินิจฉัยโรคโดยแพทย์จุฬาฯ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเสวนาวิชาการ Chula the Impact ครั้งที่ 9 เรื่อง “ชัวร์ก่อนแชร์: โรคฝีดาษวานร” ในวันอังคารที่ 21 มิถุนายน 2565 เวลา 10.00 – 12.00 น. ณ ห้อง 111 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ เพื่อเป็นเวทีวิชาการเผยแพร่ความรู้และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรค “ฝีดาษลิง” (Monkeypox) โรคติดต่อจากสัตว์ สู่คนซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสที่อยู่ในสัตว์ที่เป็นพาหะ ซึ่งสามารถติดต่อจากจากคนสู่คนได้ พร้อมสร้างความตระหนักแก่ประชาชนในการเฝ้าระวังและป้องกันตนเองจากโรคฝีดาษลิง
งานเสวนาครั้งนี้ กล่าวเปิดงานโดย ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ วิทยากรผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และ ผศ.น.สพ.ดร.สว่าง เกษแดงสกลวุฒิ ภาควิชาพยาธิวิทยาและหน่วยชันสูตรโรคสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.เอกก์ ภทรธนกุล Chief Brand Officer จุฬาฯ
ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ กล่าวว่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีพันธกิจในการชี้นำและขับเคลื่อนสังคมไทยและสังคมโลก เมื่อสังคมไทยและประเทชาติเผชิญปัญหา จุฬาฯ พร้อมให้คำตอบซึ่งเป็นความรู้ ที่ถูกต้องน่าเชื่อถือ เพื่อสร้างความเข้าใจแก่สาธารณชน ข่าวการระบาดของโรคติดต่อล่าสุดคือ “ฝีดาษลิง” สร้างความตื่นตระหนกเกี่ยวกับโรคนี้ไปทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยที่เตรียมพร้อมเฝ้าระวังเพื่อป้องกันโรคนี้ งานเสวนาครั้งนี้จะให้คำตอบเพื่อไขความกระจ่างเกี่ยวกับโรคฝีดาษลิง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการตรวจวินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้องได้มาตรฐาน ซึ่งดำนินการโดยศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
ผศ.น.สพ.ดร.สว่าง เกษแดงสกลวุฒิ ภาควิชาพยาธิวิทยาและหน่วยชันสูตรโรคสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า โรคฝีดาษลิงเกิดจากเชื้อไวรัส Monkeypox เป็นไวรัสที่มีความใกล้เคียงกับโรคฝีดาษคนหรือไข้ทรพิษ พบครั้งแรกเมื่อปี 2501 ในห้องแลปที่ประเทศเดนมาร์ก
จากลิงที่ใช้ในการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ส่วนการพบโรคนี้ในมนุษย์ครั้งแรกเมื่อปี 2513 ที่ประเทศคองโก ทวีปแอฟริกา พาหะของโรคฝีดาษลิงคือ “สัตว์ฟันแทะ” เช่น กระรอก หนู แพรีด็อก ฯลฯ สามารถติดเชื้อได้จากการโดนสารคัดหลังจากสัตว์ป่วยที่มีเชื้ออยู่ สำหรับกลุ่มคนที่ล่าสัตว์และนำเนื้อมาชำแหละก็มีความเสี่ยงได้เช่นกัน
“สิ่งที่ต้องระวังคือการนำเข้าสัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะสัตว์ต่างถิ่นเข้ามาโดยไม่รู้ที่มา เพราะถึงแม้สัตว์จะเป็นพาหะนำโรค แต่อาการของสัตว์จะไม่แสดงออกชัดเจน จึงต้องเฝ้าระวังสัตว์ที่นำเข้ามา
และควรให้ความรู้กับคนที่เลี้ยงสัตว์ต่างถิ่นในเรื่องความเสี่ยงและวิธีการรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคลด้วย”ผศ.น.สพ.ดร.สว่าง กล่าว
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า ขณะนี้พบผู้ติดเชื้อในหลายประเทศทั่วทวีปยุโรป และอเมริกาเหนือ ข้อมูลเบื้องต้นจากการทดสอบทางแล็ปโดยวิธี PCR ระบุว่าไวรัสฝีดาษชนิด Monkeypox ที่ตรวจพบในยุโรปและพื้นที่อื่นๆ ที่ไม่ใช่เฉพาะถิ่น
เป็นสายพันธุ์ไวรัสจากแอฟริกาตะวันตก
ในระยะ 3-4 วันแรกผู้ที่ติดเชื้อจะมีอาการเหมือนการติดเชื้อไวรัส แล้วจึงเกิดเป็นตุ่มแผลกระจายตามจุดต่างๆ แผลที่อวัยวะเพศและบริเวณรอบทวารหนัก อาการแสดงทางผิวหนังเป็นผื่น ตุ่มหนองขึ้นเหมือนอีสุกอีใส เมื่อแห้งจะตกสะเก็ดโดยทิ้งรอยโรคและสามารถหายเองได้ในระยะเวลา 2-4 สัปดาห์ รวมถึงอาการข้างเคียงที่เกิดร่วมมีไข้ ต่อมน้ำเหลืองโตและแผลในปาก ปวดระหว่างการกลืน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หลังหรือศีรษะ อ่อนเพลีย
สำหรับประเทศไทยจะต้องคอยสังเกตการณ์ความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ตามมติประกาศของกระทรวงสาธารณสุขให้โรคฝีดาษลิงเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง โดยต้องมีการศึกษาและเก็บข้อมูลเรื่องโรคฝีดาษลิงอย่างเร่งด่วน แม้โรคฝีดาษลิงมีความรุนแรงน้อย เมื่อติดเชื้อแล้วมีอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 1-10 % เท่านั้น แต่สิ่งที่ต้องระวังคือจะไม่ทราบได้ว่าใครติดแล้วจะมีระดับความรุนแรงมากขนาดใด ดังนั้น ควรป้องกันตนเองและไม่ไปสัมผัสเชื้อจะปลอดภัยที่สุด
ทั้งนี้ ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เป็นหน่วยงานภายใต้ความร่วมมือกับองค์การอนามัยโลกด้านการค้นคว้าและอบรมไวรัสจากสัตว์สู่คน มีบริการตรวจวิเคราะห์เชื้อไวรัสฝีดาษลิงโดยการตรวจสารพันธุกรรมไวรัสจีนัส Orthopoxvirus ด้วยเทคนิค Conventional PCR และตรวจจำแนกไวรัสฝีดาษลิงด้วยการทดสอบลำดับสารพันธุกรรมของเชื้อ สามารถติดต่อส่งตัวอย่างเพื่อตรวจวินิจฉัยโรคได้ที่ โทร. 0-2256-4000 ต่อ 3562, 09-4364-1594, 08-5858-1469
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเสวนาวิชาการ Chula the Impact ครั้งที่ 9 เรื่อง “ชัวร์ก่อนแชร์: โรคฝีดาษวานร” ในวันอังคารที่ 21 มิถุนายน 2565 เวลา 10.00 – 12.00 น. ณ ห้อง 111 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ เพื่อเป็นเวทีวิชาการเผยแพร่ความรู้และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรค “ฝีดาษลิง” (Monkeypox) โรคติดต่อจากสัตว์ สู่คนซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสที่อยู่ในสัตว์ที่เป็นพาหะ ซึ่งสามารถติดต่อจากจากคนสู่คนได้ พร้อมสร้างความตระหนักแก่ประชาชนในการเฝ้าระวังและป้องกันตนเองจากโรคฝีดาษลิง
งานเสวนาครั้งนี้ กล่าวเปิดงานโดย ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ วิทยากรผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และ ผศ.น.สพ.ดร.สว่าง เกษแดงสกลวุฒิ ภาควิชาพยาธิวิทยาและหน่วยชันสูตรโรคสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.เอกก์ ภทรธนกุล Chief Brand Officer จุฬาฯ
ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ กล่าวว่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีพันธกิจในการชี้นำและขับเคลื่อนสังคมไทยและสังคมโลก เมื่อสังคมไทยและประเทชาติเผชิญปัญหา จุฬาฯ พร้อมให้คำตอบซึ่งเป็นความรู้ ที่ถูกต้องน่าเชื่อถือ เพื่อสร้างความเข้าใจแก่สาธารณชน ข่าวการระบาดของโรคติดต่อล่าสุดคือ “ฝีดาษลิง” สร้างความตื่นตระหนกเกี่ยวกับโรคนี้ไปทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยที่เตรียมพร้อมเฝ้าระวังเพื่อป้องกันโรคนี้ งานเสวนาครั้งนี้จะให้คำตอบเพื่อไขความกระจ่างเกี่ยวกับโรคฝีดาษลิง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการตรวจวินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้องได้มาตรฐาน ซึ่งดำนินการโดยศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
ผศ.น.สพ.ดร.สว่าง เกษแดงสกลวุฒิ ภาควิชาพยาธิวิทยาและหน่วยชันสูตรโรคสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า โรคฝีดาษลิงเกิดจากเชื้อไวรัส Monkeypox เป็นไวรัสที่มีความใกล้เคียงกับโรคฝีดาษคนหรือไข้ทรพิษ พบครั้งแรกเมื่อปี 2501 ในห้องแลปที่ประเทศเดนมาร์ก
จากลิงที่ใช้ในการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ส่วนการพบโรคนี้ในมนุษย์ครั้งแรกเมื่อปี 2513 ที่ประเทศคองโก ทวีปแอฟริกา พาหะของโรคฝีดาษลิงคือ “สัตว์ฟันแทะ” เช่น กระรอก หนู แพรีด็อก ฯลฯ สามารถติดเชื้อได้จากการโดนสารคัดหลังจากสัตว์ป่วยที่มีเชื้ออยู่ สำหรับกลุ่มคนที่ล่าสัตว์และนำเนื้อมาชำแหละก็มีความเสี่ยงได้เช่นกัน
“สิ่งที่ต้องระวังคือการนำเข้าสัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะสัตว์ต่างถิ่นเข้ามาโดยไม่รู้ที่มา เพราะถึงแม้สัตว์จะเป็นพาหะนำโรค แต่อาการของสัตว์จะไม่แสดงออกชัดเจน จึงต้องเฝ้าระวังสัตว์ที่นำเข้ามา
และควรให้ความรู้กับคนที่เลี้ยงสัตว์ต่างถิ่นในเรื่องความเสี่ยงและวิธีการรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคลด้วย”ผศ.น.สพ.ดร.สว่าง กล่าว
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า ขณะนี้พบผู้ติดเชื้อในหลายประเทศทั่วทวีปยุโรป และอเมริกาเหนือ ข้อมูลเบื้องต้นจากการทดสอบทางแล็ปโดยวิธี PCR ระบุว่าไวรัสฝีดาษชนิด Monkeypox ที่ตรวจพบในยุโรปและพื้นที่อื่นๆ ที่ไม่ใช่เฉพาะถิ่น
เป็นสายพันธุ์ไวรัสจากแอฟริกาตะวันตก
ในระยะ 3-4 วันแรกผู้ที่ติดเชื้อจะมีอาการเหมือนการติดเชื้อไวรัส แล้วจึงเกิดเป็นตุ่มแผลกระจายตามจุดต่างๆ แผลที่อวัยวะเพศและบริเวณรอบทวารหนัก อาการแสดงทางผิวหนังเป็นผื่น ตุ่มหนองขึ้นเหมือนอีสุกอีใส เมื่อแห้งจะตกสะเก็ดโดยทิ้งรอยโรคและสามารถหายเองได้ในระยะเวลา 2-4 สัปดาห์ รวมถึงอาการข้างเคียงที่เกิดร่วมมีไข้ ต่อมน้ำเหลืองโตและแผลในปาก ปวดระหว่างการกลืน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หลังหรือศีรษะ อ่อนเพลีย
สำหรับประเทศไทยจะต้องคอยสังเกตการณ์ความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ตามมติประกาศของกระทรวงสาธารณสุขให้โรคฝีดาษลิงเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง โดยต้องมีการศึกษาและเก็บข้อมูลเรื่องโรคฝีดาษลิงอย่างเร่งด่วน แม้โรคฝีดาษลิงมีความรุนแรงน้อย เมื่อติดเชื้อแล้วมีอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 1-10 % เท่านั้น แต่สิ่งที่ต้องระวังคือจะไม่ทราบได้ว่าใครติดแล้วจะมีระดับความรุนแรงมากขนาดใด ดังนั้น ควรป้องกันตนเองและไม่ไปสัมผัสเชื้อจะปลอดภัยที่สุด
ทั้งนี้ ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เป็นหน่วยงานภายใต้ความร่วมมือกับองค์การอนามัยโลกด้านการค้นคว้าและอบรมไวรัสจากสัตว์สู่คน มีบริการตรวจวิเคราะห์เชื้อไวรัสฝีดาษลิงโดยการตรวจสารพันธุกรรมไวรัสจีนัส Orthopoxvirus ด้วยเทคนิค Conventional PCR และตรวจจำแนกไวรัสฝีดาษลิงด้วยการทดสอบลำดับสารพันธุกรรมของเชื้อ สามารถติดต่อส่งตัวอย่างเพื่อตรวจวินิจฉัยโรคได้ที่ โทร. 0-2256-4000 ต่อ 3562, 09-4364-1594, 08-5858-1469