Pipatchara แบรนด์กระเป๋าหนังของคนไทย ที่โด่งดังไปไกลในระดับโลก เมื่อไม่นานนี้ กระเป๋าใบเก๋ Pipatchara แอนน์ แฮททาเวย์ ใช้ถือออกงานในเทศกาลภาพยนตร์ SXSW (South by Southwest) ซึ่งจัดขึ้นที่ เมืองออสติน รัฐเท็กซัส
ล่าสุดออกคอลเลกชันรับวันสิ่งแวดล้อมโลก (6 มิ.ย.2565) เป็นไอเท็มทำจากแมททีเรียลซึ่งเป็นพลาสติกรีไซเคิล 100%
เพชร-ภิพัชรา แก้วจินดา เจ้าของแบรนด์ Pipatchara บอกว่าเดือนมิถุนายน เป็นเดือนของสิ่งแวดล้อม เรามีโปรดักส์ที่เป็นไอเท็มทำจากแมททีเรียลซึ่งเป็นพลาสติกรีไซเคิล 100% ไม่ว่าจะเป็นฝาพลาสติก กล่องทัพเพอร์แวร์ที่อยู่ในร้านสะดวกซื้อ เราเอาทั้งหมดนี้มารีไซเคิลทำเป็นกระเป๋า เราเปิดตัวในวันที่ 6 มิถุนายน ซึ่งเป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก และก็เป็นวันเกิดของแบรนด์พอดีค่ะ
“Pipatchara ตั้งเป้าที่จะอัพขึ้นไปอีกขั้น เราอยากเป็นแบรนด์ที่ชัดเจนในเรื่องของการใช้พลาสติกรีไซเคิลที่เป็นขยะจริงๆ มาทำโปรดักส์ ซึ่งตอนนี้เพชรเองก็ได้ไปติดต่อกับบริษัทใหญ่ๆ หลายบริษัท เช่น สิงห์ ที่เขาไปเก็บฝาน้ำดื่ม เก็บขวดพลาสติกในทะเล ซึ่งเพชรก็ขอเขาเพื่อเอามาทำ ตอนแรกเขาก็ยังงงๆ อยู่ว่าเอาไปทำอะไร สำหรับโปรเจ็คนี้ เพชร และพี่สาวคุณทับทิม ใช้เวลาถึง 1 ปีเต็ม เพื่อจะทำคอลเล็คชั่นนี้ออกมาให้ได้ค่ะ”
Pipatchara ไม่ใช่แค่ความใส่ใจเพียงแค่คุณภาพและการออกแบบให้มีความสวยงามเท่านั้น แต่ยังมีวัตถุประสงค์ในการก่อตั้งแบรนด์ที่หลายคนยังไม่รู้ว่า คอนเซปต์ของแบรนด์นั้นคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและไม่ทำลายระบบนิเวศ และข้อสำคัญเป็นแบรนด์โดยชุมชนอย่างแท้จริง คือสามารถสร้างอาชีพและรายได้ให้แก่คนในชุมชนด้วย
“ในสิ่งที่เพชรกับพี่สาว คุณทับทิม-จิตริณี แก้วจินดา ทำมาตั้งแต่แรกคือ Fashion Community เราสอนคนในชุมชนและพื้นที่ต่างๆ ให้มาร่วมเป็นทีมในการผลิตกระเป๋า เอกลักษณ์ของ Pipatchara คือการถัก งานคราฟแมนที่ต้องมีอยู่เสมอไม่ว่าจะเป็นใบไหนก็ตาม”
สินค้าทุกชิ้นของ Pipatchara ผลิตโดยคนในชุมชนท้องถิ่นจากที่ต่างๆในประเทศไทย เราได้เดินทางไปยังภาคเหนือของประเทศไทย เพื่อที่จะได้สอนกลุ่มคุณครูในท้องถิ่นในการถักปมและถักสานเป็นลวดลายตามแบบฉบับที่เป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ Pipatchara เราได้มีการสร้างชุมชนและสร้างงานในพื้นที่ชนบท ทำให้พวกเขาได้มีงานทำและมีรายได้เสริมซึ่งไม่เพียงแต่รายได้เสริมที่พวกเขาจะได้รับเท่านั้น พวกเขายังได้รับความรู้ ทักษะอาชีพ และยังได้รับความสุขอีกด้วย
เพชร ภิพัชรา แก้วจินดา พูดถึง กระเป๋าใบที่ แอนน์ แฮททาเวย์ ใช้ถือออกงานในเทศกาลภาพยนตร์ SXSW (South by Southwest) ว่าตอนแรกเพชรไม่ทราบเลยว่าเขาเอาไปกันตอนไหน มารู้อีกทีคือมีโทรศัพท์โทรเข้ามาบอกว่า แอนน์ แฮททาเวย์ อยากจะซัพพอร์ตกลุ่มทรานเจนเดอร์ คุณอยากจะร่วมด้วยไหม เพชรก็ตอบไปทันทีว่าไม่มีปัญหาเลย เพชรซัพพอร์ตเต็มที่อยู่แล้ว ดีใจด้วยซ้ำที่แบรนด์จะได้เป็นส่วนหนึ่งของงานนี้ ซึ่งแอนน์เขานำธงไปติดตรงกระเป๋า เพื่อแสดงว่า เขาสนับสนุนความหลากหลายทางเพศ
เธอพูดถึงคอนเซปต์ของแบรนด์ที่ต้องการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ว่านอกจาก Pipatchara จะใช้หนังเป็นวัตถุดิบหลักในการทำกระเป๋าแล้ว เรายังได้มีการสำรวจเพื่อที่จะค้นคว้าหาวัตถุดิบอื่นๆที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและไม่ทำลายระบบนิเวศ เราได้มีการทำงานร่วมกับนักศึกษาและศาตราจารย์ในมหาวิทยาลัยทางภาคเหนือของประเทศไทย ในการทำการทดลอง เพื่อที่จะนำวัตถุดิบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาใช้ในแบรนด์ Pipatchara สำหรับวัตถุดิบที่ทางเราเลือกใช้ในการผลิตสายสะพายกระเป๋านั้น เราได้มีการตัดสินใจเปลี่ยนจากการใช้วัตถุดิบในแบบเดิมที่สายสะพายกระเป๋าจะทำมาจากพลาสติกเราได้มีการเปลี่ยนแปลงมาใช้วัตถุดิบที่ทำจากเมล็ดกาแฟผสมกับพลาสติกรีไซเคิลแทนการใช้วัตถุดิบที่มาจากพลาสติกเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
เบื้องหลังของแบรนด์ Pipatchara ทุกชิ้น จึงไม่ได้เป็นเพียงแค่แบรนด์สินค้าแฟชั่น แต่เราต้องการให้เป็นแบรนด์สำหรับชุมชนที่แท้จริง สินค้าทุกชิ้นของ Pipatchara ผลิตโดยคนในชุมชนท้องถิ่นจากที่ต่างๆในประเทศไทย เราได้เดินทางไปยังภาคเหนือของประเทศไทย เพื่อที่จะได้สอนกลุ่มคุณครูในท้องถิ่นในการถักปมและถักสานเป็นลวดลายตามแบบฉบับที่เป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ Pipatchara เราได้มีการสร้างชุมชนและสร้างงานในพื้นที่ชนบท ทำให้พวกเขาได้มีงานทำและมีรายได้เสริมไม่เพียงแต่รายได้เสริมที่พวกเขาจะได้รับเท่านั้น พวกเขายังได้รับความรู้ ทักษะอาชีพ และยังได้รับความสุขอีกด้วย
เราสร้าง Community ฝึกทักษะ มอบโอกาส สร้างอาชีพและรายได้ให้แก่คนในชุมชนชนบทในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ประเทศไทยเราได้มีการมองเห็นผ่านกระบวนการทำงานและได้มีการติดตามสังเกตในทุกขั้นตอนการทำงานในการเลือกสรรวัตถุดิบที่จะมาใช้ในกระบวนการผลิต ติดตามกระบวนการผลิตทุกขั้นตอน รวมถึงการบรรจุภัณฑ์ด้วย เพื่อให้มั่นใจว่าทางเราไม่ได้มีการใช้แรงงานที่ไม่ถูกต้องในกระบวนการผลิตและในกระบวนการทำงานของเรา อีกทั้งเรายังได้มีการสำรวจในการนำวัตถุดิบจากพืชและผลิตภัณฑ์รีไซเคิลมาใช้ในการผลิต เป็นการส่งผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยลง และเรามั่นใจว่าคนงานของเราทั้งหมดได้รับค่าครองชีพขั้นต่ำอย่างเป็นธรรม
ถึงแม้ว่า Pipatchara จะก่อตั้งมาได้เพียงแค่ 2 ปี แต่กลับได้สร้างชุมชน และได้สร้างงานให้กับคนในพื้นที่ชนบท ซึ่งนั่นทำให้พวกเขาได้มีงาน ได้มีอาชีพ และมีรายได้ในการเลี้ยงดูตนเองและครอบครัว ซึ่งในอดีตที่ผ่านมา มีหลายครอบครัวที่เป็นเจ้าของโรงงานตัดเย็บเล็กๆในท้องถิ่น แต่เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศไทยนั้นมีการเติบโตช้าในรอบหลายปีที่ผ่านมา ผู้ประกอบการในท้องถิ่นจำนวนมากได้มีการปิดตัวโรงงานของพวกเขาลง เราได้พบกับคนในชุมชนหลายคนที่มีทักษะและความสามารถ ดังนั้นเราจึงตัดสินใจที่จะให้พวกเขาเป็นซัพพลายเออร์ในการผลิตสินค้าของ Pipatchara เพื่อเป็นการสนับสนุนพวกเขาให้มีงานทำและมีอาชีพที่จะสามารถเลี้ยงดูตนเองและครอบครัวได้ต่อไปกระเป๋าหนังของคนไทย ที่ไม่ได้ใส่ใจเพียงแค่คุณภาพ
เพชรมองว่า ด้วยความที่ Pipatchara เป็นแบรนด์ Sustainability (การรักษาสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน) ซึ่งเราก็เล่าให้เขาฟังว่า กระเป๋าของเราทุกใบมาจากฝีมือชาวบ้านที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน หรือว่าแบรนด์ของเราใช้หนังที่เป็น Sustainable กี่เปอร์เซนต์บ้าง ซึ่งพอเขาได้ฟัง เขาก็ชอบ
ข้อมูลอ้างอิง
แพรว https://praew.com/fashion/fashion-celebrity/439573.html
เพจเฟซบุ๊ค Pipatchara