xs
xsm
sm
md
lg

5 มิ.ย. : วันสิ่งแวดล้อมโลก “วราวุธ” ชวนปกป้องโลกที่มีเพียงใบเดียว

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



วันสิ่งแวดล้อมโลก 5 มิถุนายน ของทุกปี ถือเป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก World Environment Day และได้มีการสถาปนาวันสิ่งแวดล้อมขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2515 หรือเมื่อราว 50 ปีที่ผ่านมา โดยได้ทำการจัดการประชุมที่เรียกว่า การประชุมสหประชาชาติเรื่องสิ่งแวดล้อม (UN Conference on the Human Environment) ณ กรุงสตอกโฮม ประเทศสวีเดน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมพิจารณาหามาตรการในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ต่างๆ ที่แต่ละประเทศสมาชิกกำลังประสบอยู่อย่างเร่งด่วน ซึ่งประเด็นสำคัญในการหารือก็คือ ทุกๆ ประเทศสมาชิกต่างต้องสรรหาวิธีการดูแลแก้ไขปัญหา และให้ความตื่นตัวเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมของทุกภูมิภาคทั่วโลกอย่างจริงจัง ภายใต้การกำกับดูแลของ องค์การสหประชาชาติ (United Nations)

วันสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย
ในประเทศไทย มีการตรากฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมขึ้นในปี 2518 เป็นฉบับแรก เรียกว่า พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พุทธศักราช 2518 ต่อมาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติฯ ฉบับที่ 2 ปี พ.ศ.2521 และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 พ.ศ.2522 ต่อมาในสมัยรัฐบาลของนายอานันท์ ปันยารชุน ได้มีร่างพระราชบัญญัติฯ ขึ้นใหม่โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน2535 เรียกว่า พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กรมควบคุมมลพิษ และกรมพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม

พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พุทธศักราช2535 เป็นพระราชบัญญัติที่มุ่งกระจายอำนาจของการวางแผนและปฏิบัติการการสิ่งแวด ล้อมลงสู่ท้องถิ่นและให้ความสำคัญในเรื่องของเรื่องของการติดตาม ตรวจสอบ ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการควบคุมมลพิษ

ดังนั้น การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม จึงถือเป็นหน้าที่ของทุกๆ คน ที่จะต้องร่วมมือกันเพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต


สำหรับในวันสิ่งแวดล้อมโลกในปี 2565 ทาง UNEP เล็งเห็นว่าสุขภาพของมนุษย์ โดยเฉพาะสุขภาพของสมอง มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอย่างแปรผันตรง โดยที่มลพิษทางอากาศ เป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตโดยเฉพาะโรคทางระบบประสาทและหลอดเลือดหัวใจ อันเป็นผลกระทบจากการทำลายสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

เป็นที่ทราบกันดีว่า ความผิดปกติทางระบบสมอง เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะทุพพลภาพที่สุด ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาทางร่างกาย อันส่งผลเป็นลูกโซ่ต่อระบบสังคม และเศรษฐกิจ ภาระโรคทางระบบประสาทเรื้อรังเพิ่มขึ้นทั่วโลก และการค้นหาการป้องกันและรักษายังคงล่าช้า

ดังนั้นแล้ว การทำความเข้าใจสาเหตุดังกล่าวนั้น เป็นกุญแจสำคัญในการป้องกันโรคทางสมองได้ดีที่สุด โดยเริ่มจากสาเหตุด้านสิ่งแวดล้อมของความผิดปกติทางระบบประสาท ดังนั้นแล้ว เพื่อโลกในเดียวของเรา จึงควรต้องรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อควมยั่งยืนต่อไป

ด้าน นายวราวุธ ศิลปะอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ได้โพสต์บนเพจเฟซบุ๊ค TOP
Varawut - ท็อป วราวุธ ศิลปอาชา
 ได้เชิญชวนให้ทุกคนตระหนัก 5 มิถุนายน วันสิ่งแวดล้อมโลก : คุณรู้หรือไม่ ?

- ในปี 2021 ปีเดียว โลกสูญเสียผืนป่าไปด้วยความเร็ว ประมาณ 10 สนามฟุตบอลต่อนาที
- โลกมีอากาศร้อนที่สุด ใน 7 ปีที่ผ่านมา
- ส่งผลให้ เกาะกรีนแลนด์ สูญเสียน้ำแข็งไปแล้วกว่า 5,100 ล้านตัน
- ทำให้ระดับน้ำทะเลทั่วโลกเพิ่มระดับสูงขึ้นครึ่งนิ้ว
- ในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา มนุษย์มีส่วนทำให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติเพิ่มมากขึ้น ประมาณ 350-500 ครั้งต่อปี
- ส่งผลให้ประชากรโลกกว่า 2 พันล้านคน ต้องเผชิญกับความไม่มั่นคงทางอาหาร

“เพราะโลกมีเพียงใบเดียว จึงถึงเวลาแล้วที่พวกเราจะช่วยกัน ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตใหม่ ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ช่วยกันลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทย ให้บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี ค.ศ. 2050 ไปด้วยกันครับ”


กำลังโหลดความคิดเห็น