นักวิชาการชี้ทำไมโอเปอเรเตอร์ Telco ต้องเปลี่ยนเป็น Techco บริษัทเทคโนโลยี หน่วยงานรัฐ ต้องส่งเสริมผู้ประกอบการเปลี่ยนบริการแบบท่อ (Dump Pipe) สู่บริการแบบแพลตฟอร์ม ชี้หากโอเปอเรเตอร์ทุกรายมีความแข็งแรงใกล้เคียงกัน ก็จะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้บริโภค
อุตสาหกรรมโทรคมนาคม เปลี่ยนยุคอย่างรวดเร็ว จากยุคที่ประเทศไทย เข้าสู่ยุค 3G ช้าที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง จากความล่าช้าในการประมูล และการรักษาส่วนแบ่งตลาด 2G ของผู้เล่นในตลาดในยุคนั้น จนมาถึงการเข้าสู่ 4G ที่ประเทศไทยเข้าสู่อุตสาหกรรมพร้อมกับประเทศอื่นๆ และสร้างมูลค่าเพิ่มจากบริการ Value Added Service ทำให้ประเทศไทยเข้าสู่ยุคของโมบายอินเทอร์เน็ตและ สุดท้ายมาถึงยุค 5G ที่ประเทศไทยเข้าสู่ยุคเทคโนโลยีใหม่ รวมถึง IOT, Data Analytics และ การให้บริการดิจิทัลในรูปแบบ OTT ทำให้คนไทย ได้ประโยชน์สูงสุด
ผศ.ดร.ปกป้อง ส่องเมือง อาจารย์ ประจำคณะวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระบุถึงความสำคัญที่ผู้ประกอบการในธุรกิจโทรคมนาคมต้องปรับตัวนั้นมาจากการปรับตัวของพฤติกรรมผู้บริโภค นอกจากนี้ ยังมองว่าการส่งเสริมให้โอเปอเรเตอร์ทุกรายปรับตัวให้มีขนาดที่ใกล้เคียงกัน จะทำให้เกิดการแข่งขันที่สูสีกันมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการพัฒนามีนวัตกรรมเพื่อแย่งส่วนแบ่งลูกค้า โดยนักวิชาการจากยุโรป Jeanjean และ Houngbonon (2017) พบว่าในตลาดที่ไม่สมมาตร (เช่น บริษัทที่มีขนาดต่างกัน) จำนวนบริษัทที่เพิ่มขึ้น แต่เป็นรายเล็กๆ มีแนวโน้มที่จะส่งผลลบอย่างมีนัยสำคัญต่อการลงทุนของบริษัทขนาดเล็ก ทำให้ไม่สามารถถึงจุดคุ้มทุน (Economy of Scale) ตัวอย่างเช่น ผู้นำตลาดมีการใช้งบการตลาดมากกว่าคู่แข่งมูลค่าสูงกว่า 2000% ก็จะทำผู้ประกอบการรายเล็กแข่งขันไม่ได้ แม้มีจำนวนผู้แข่งขันหลายรายก็ตาม โดยปัจจัยด้านขนาดที่ต่างกันนั่นเอง แสดงให้เห็นว่าการควบรวมกิจการจะส่งผลให้โครงสร้างตลาดมีความสมมาตรมากขึ้น เกิดการแข่งขันของผู้เล่นที่ใกล้เคียงกันมากขึ้น จะสัมพันธ์กับผลลัพธ์ในเชิงบวกต่อการลงทุนที่มากขึ้น
ทั้งนี้ ปัจจุบันการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารเปลี่ยนไปจากการใช้โทรศัพท์ในการพูดคุย เป็นการใช้บริการออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น application ในการสื่อสารทั้งภาพและเสียง ทำให้ส่วนแบ่งตลาดการสื่อสารเปลี่ยนแปลงไปโดยในประเทศไทย Line ได้ขึ้นมาเป็น application อันดับหนึ่งในการสื่อสาร LINE ประเทศไทย แจ้งตัวเลขด้วยการมียอดผู้ใช้งาน 50 ล้านคน มากกว่าโมบายโอเปอเรเตอร์ทุกรายในประเทศไทย นอกจากนั้นเทคโนโลยีสมาร์ทโฟนได้ ขยายความสามารถให้ผู้ใช้ ทำงาน รับความบันเทิง ทำธุรกรรมได้หลากหลายมากขึ้น ซึ่งเป็นโอกาสที่บริษัท Telco ต้องปรับตัวเป็น Techco เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน
ตัวอย่าง เช่น Vodafone มีการให้บริการ 5G, IoT, SD Wan มีเป้าหมายเป็น digital service provider โดยทำการนำระบบหลัก 60% ขึ้น cloud environment โดยมีพาร์ทเนอร์ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญคือ IBM เป็นผู้ให้คำปรึกษา การใช้cloud จะทำให้การ scale ระบบสามารถทำได้อย่างง่ายดาย ข้อมูลที่ถูกเก็บขึ้น Cloud จะกลายเป็นแหล่งทรัพยากรอย่างดีในวิเคราะห์โดยใช้ machine learning ซึ่ง IBM มีเครื่องมือเหล่านี้อยู่แล้ว ผลลัพธ์ที่ได้สามารถนำมาการพัฒนาคุณภาพ service เพื่อให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นในอนาคต Vodafone ทำการสร้างมาตรฐานการทำงานให้เป็น Digital first ในการทำทุกอย่างในองค์กร เช่น การตลาด การจัดการลูกค้า การพัฒนา platform และ solution แต่การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ต้องใช้เวลา คนในองค์กรต้องปรับตัวและสั่งสมประสบการณ์จึงยังไม่เห็นผลการเปลี่ยนแปลงมากนักในรูปแบบของผลประกอบการโทรคมนาคม
นักวิจัยจาก PACE LAW SCHOOL มหาวิทยาลัยทางด้านกฎหมายที่ชื่อเสียงในสหรัฐอเมริกา ได้ศึกษาข้อจำกัดของดัชนี HHI ในการประเมินการผูกขาดในอุตสาหกรรมเครือข่ายที่มีลักษณะของผลกระทบจากเครือข่าย (Network Effect) โดยพบว่า ในอุตสาหกรรมที่ผู้นำตลาดมีส่วนแบ่งตลาดสูงอยู่แล้ว (เกิน 41%) ไม่ว่าจะควบรวมกับใคร/อย่างไร ตัวเลข HHI หลังการควบรวมก็จะสูงเกินค่ามาตรฐาน หากเทียบกับมีรายเดียวที่แข็งแรง กับมีสองรายที่มีศักยภาพสูสีกัน ย่อมเกิดการแข่งขันที่สูงขึ้นในอุตสาหกรรมที่ผู้ประกอบการจำกัด ดังเช่นในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมซึ่งมีผู้เล่นจำนวนจำกัดด้วยใบอนุญาต เทคโนโลยี และทุน ที่บริษัทขนาดเล็กในประเทศไม่สามารถเข้ามาแข่งขันได้ และบริษัทขนาดใหญ่ภายนอกประเทศแม้มีความสนใจในการลงทุนด้านโทรคมนาคมในประเทศไทย ก็ไม่สามารถเข้ามาลงทุนได้โดยง่ายจากโครงสร้างการบริหาร และกระบวนการออกใบอนุญาต ทั้งนี้ การกระจุกตัวของตลาด เกิดจากการลงทุนสูง
ดังนั้น การใช้ค่า HHI มาวัดด้านการแข่งขันนั้น จึงเป็นการมองมิติเดียว โดย กสทช. ระบุในรายงานการรวมธุรกิจและสภาพตลาดโทรคมนาคม ไตรมาส 3 /2564 ว่า“อย่างไรก็ตาม ค่าดัชนี HHI เป็นเพียงการวัดด้วยมิติเดียว ซึ่งในการวิเคราะห์ระดับความมีประสิทธิภาพในการแข่งขันในตลาดจำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยอื่นประกอบด้วย เช่น อุปสรรคในการเข้าสู่ตลาด ทั้งด้านโครงสร้าง ด้านกฎหมายและด้านการกำกับดูแล แนวโน้มของระดับการแข่งขันในตลาดเป็นต้น” ทั้งนี้หากผู้ประกอบการทุกรายมีความแข็งแกร่งมากขึ้น การให้บริการใหม่ๆ ก็จะมีมากขึ้น และค่าบริการก็มีแนวโน้มลดลง และ กสทช. ก็มีอำนาจในการกำกับราคาโดยกำหนดเพดานราคาอยู่แล้ว Both Frontier (2015) and WIK (2015) ไม่พบความสัมพันธ์ที่มีนัยสำคัญทางสถิติของการตลาดที่ทำการทดสอบโดย HHI หรือหุ่นจำลองสี่บริษัท (เทียบกับสามบริษัท) ระหว่างราคา กับค่า HHI ดังนั้น เมื่อผู้ประกอบการมีความแข็งแรงใกล้เคียงกัน การแข่งขันย่อมสูงขึ้น
นอกจากนี้ ในปีที่ผ่านมา 2561 ก็มีการควบรวมกิจการ TOT กับ CAT เป็น NT หรือ บริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ ทำให้มีความแข็งแรงมากขึ้นในการแข่งขัน หลังจากมีการควบรวมกิจการอย่างเป็นทางการระหว่าง บมจ.ทีโอที และ บมจ. กสท. โทรคมนาคม เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2564 เป็น บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT (National Telecom Public Company Limited) เร่งบูรณาการทรัพยากรไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลและโทรคมนาคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรัพยากรบุคคลที่เปี่ยมประสิทธิภาพและประสบการณ์ด้านดิจิทัลและศักยภาพ เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านองค์กรไปสู่ดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ (Organizational Transformation)
นักวิจัยของ Top Dollar ได้วิจัยผู้ใช้บริการสมาร์ทโฟนประมาณ 3.8 พันล้านคนทั่วโลก ซึ่งเท่ากับประมาณร้อยละ 50 ของประชากรโลก รายงานค้นพบข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับประเทศไทยคือ ประเทศไทย และ ประเทศอินโดนีเซีย มีค่าบริการต่อข้อมูลมือถือ จำนวน 10GB หรือมีราคาต่ำกว่า 0.21 เหรียญสหรัฐ ต่อความเร็วในการดาวโหลด 1 Mbps จำนวน 0.13 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 6.82 บาท หากเทียบกับประเทศต่าง ๆในโลก จะพบว่า ประเทศไทยมีค่าบริการถูกที่สุด ติดอันดับ Top ในโลก หากดูค่า HHI ที่มีค่าสูงอยู่แล้ว แต่ผลเชิงประจักษ์ได้บอกว่า ค่าบริการของไทยก็ยังถูกมาก ดังนั้น การนำ HHI มากำหนดว่า ค่าบริการจะสูงขึ้นนั้น จึงไม่สมเหตุสมผล
ทุกวันนี้ผู้ใช้บริการมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป เนื่องจากเทคโนโลยีมีความหลากหลาย และผู้ใช้มีอิสระในการเข้าถึงบริการต่างๆ ได้จากทั่วโลก ดังนั้น ผู้เล่นจึงมาได้จากทั่วโลก จากตัวอย่างข้อมูลปี 2022 (chiefmartec.com) มีกว่า 9,932 solutions จากทั่วโลก หากมองภายในประเทศไทย ตามพฤติกรรมการใช้งาน เช่น สังคมออนไลน์: Facebook, Twitter, LinkedIn, Instagram, Tiktok, etc.บันเทิง: Games, Youtube, Netflix, HBO, Disney+, Mono, Hulu, Viu, etc. การทำงาน/การศึกษา : Ms Teams, G-suite, Zoom, Moocs, Coursera, edx, Udacity, Udemy, etc. การเงิน/Crypto/ลงทุน/ประกัน/wallet: App ธนาคาร, Binance, Bitkub, Satang Pro, Zipmex, Finomina, Jitta, เป๋าตัง, Truemoney etc. การท่องเที่ยว/เดินทาง: App สายการบิน, Taveloka, Agoda, Airbnb, Booking, etc. การซื้อของ: Shopee, Lazada, Kaidee, Amazon, JD Central, Alibaba, Apple, etc.
การเปลี่ยนบริษัทโทรคมนาคมทุกรายในอุตสาหกรรม เมื่อเทียบกับแพลตฟอร์มสังคมออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดของโลก Facebook ที่มีผู้ใช้ในประเทศไทย 51 ล้านบัญชี (อ้างอิงข้อมูลจาก Hootsuite และ WeAreSocial เดือนมกราคม 2021) จึงสามารถมองได้ว่ามีข้อมูลลูกค้าในการตั้งต้นแข่งขันกับ Facebook ได้หากปรับตัวสู่ Tech Company หากแต่ว่าแพลตฟอร์มที่พัฒนาขึ้นมานั้นผูกติดกับระบบโทรศัพท์ หรืออินเทอร์เน็ต เพียงรายใดรายหนึ่งก็จะทำให้ฐานลูกค้าลดลง โดยเฉพาะหากมีผู้นำตลาดเพียงรายเดียว หรือพัฒนาเป็นแพลตฟอร์มที่มีบริการจำนวนมากอยู่ในแพลตฟอร์มเดียวกัน หากไม่มีการจัดหมวดหมู่ให้ใช้งานง่าย หรือไม่ได้ออกแบบให้สามารถใช้งานแบบ seamless experience ได้ อาจทำให้ผู้ใช้สับสนในการใช้งาน นอกจากนั้น บริการที่มีจำนวนมากและซับซ้อนทำให้พนักงานที่มีหน้าที่ให้บริการหลังการขายมีความสับสน และไม่สามารถให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ควรใช้การวิเคราะห์ข้อมูลของผู้ใช้ว่ามีพฤติกรรมแบบใด และทำการพัฒนาให้เป็น personalized interface ให้เกิด seamless experience เพื่อลดภาระของผู้ใช้ในการเข้าใช้งาน
มุมมองต่อประเทศ ผู้ให้บริการดิจิทัลในปัจจุบัน Technology company เกินครึ่งเป็นบริษัทต่างชาติที่ไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย แต่มีรายได้จากคนไทย และมีการเก็บข้อมูลที่มีคุณค่าในการพัฒนาบริการให้กับคนไทย หากมีบริษัทที่เป็นของไทยสามารถแข่งขันกับบริษัทของต่างชาติได้ ก็จะสามารถช่วยให้ข้อมูลยังอยู่ในการดูแลของไทย และสามารถใช้ข้อมูลนี้ร่วมกับบริษัท partners ซึ่งอาจเป็น startup ไทย เพื่อสนับสนุนให้มีบริการเฉพาะที่เหมาะกับพฤติกรรมของคนไทยได้ดียิ่งขึ้น สามารถแข่งขันกับบริษัทต่างชาติได้ รายได้หมุนเวียนในประเทศมากขึ้น
แนวโน้มจากการเพิ่มขึ้นของความต้องการเทคโนโลยีที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ในทุกอุตสาหกรรม อุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้จะมีมากขึ้น ดังนั้น ข้อมูลที่สามารถเก็บได้ก็จะมากขึ้น พร้อมกับการดูแลระบบเครือข่ายที่มีการขยายตัวอย่างมากจะมีความซับซ้อนมากขึ้น บริษัท Techco มีแนวโน้มดังนี้
•การใช้ Software-Defined Networking (SDN) จะช่วยลดภาระในการดูแลระบบ
•การนำปัญญาประดิษฐ์เข้ามาช่วยในการดูแลระบบให้มีเสถียรภาพ
•ข้อมูลที่ได้จากเครือข่ายต่าง ๆ จะถูกเก็บบนระบบ cloud เพื่อง่ายต่อการขยาย scale และมีเสถียรภาพสูงขึ้น
•การทำข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่มารถนำไปใช้ประโยชน์ได้สะดวกขึ้น
•มีการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วย data analytics, machine learning เพื่อพัฒนา service ที่มีอยู่ให้ดีขึ้น และสร้าง service ใหม่ที่ให้ประสบการณ์ใหม่ที่ดีกับลูกค้า ทำให้ ลูกค้าเก่าอยู่ต่อ ลูกค้าใหม่อยากเปลี่ยนมาใช้
•การตัดสินใจในองค์กร เป็น Data-driven decision-making (DDDM)
•การทำงานภายในมีการใช้ระบบ automation เข้ามาช่วยลดความผิดพลาดในกระบวนการทำงาน
•มี API เพื่อให้ partners สามารถนำข้อมูลไปใช้ในการให้บริการกับลูกค้าให้เกิดประสบการณ์ที่แตกต่างจากคู่แข่ง
•มี partners ที่อาจเป็น ventures หรือ startups ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางมาร่วมกันสร้างบริการที่สามารถช่วยแก้ pain point ของตนเองหรือลูกค้าได้