เงือกกรามช้าง นกเงือก 1 ใน 13 ชนิดที่พบในประเทศไทย อุทยานแห่งชาติตาดหมอก โชว์ภาพที่งดงามของนกเงือกกรามช้างในผืนป่า ได้สมกับฉายาที่ว่า “นกปลูกป่า”
เพราะนกเงือกสามารถสะท้อนถึงความสมบูรณ์ของผืนป่าแห่งนั้นได้ รับวันสัตว์ป่าและพืชป่าโลก (3 มีนาคม 2565)
อช.ตาดหมอก ระบุว่า "ที่นี่คือบ้านหลังใหญ่ของนกเงือก สัญลักษณ์ความสมบูรณ์ของผืนป่า" ทางเจ้าหน้าที่ทีมลาดตระเวนเชิงคุณภาพ (Smart Patrol) ของอุทยานแห่งชาติตาดหมอก บันทึกไว้ได้
“การพบเจอนกเงือกกรามช้างซึ่งเป็นสัตว์ป่าอีกหนึ่งชนิดที่หายาก ต้องขอชื่นชมเจ้าหน้าที่ อช.ตาดหมอก ผู้ปฏิบัติหน้าที่กันอย่างเข้มแข็ง ลาดตระเวนเชิงคุณภาพกันอย่างเต็มกำลังและความสามารถ รวมถึงพี่น้องประชาชนที่มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ทั้งไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ช่วยกันฟื้นฟูดูแล และแจ้งเบาะแสการกระทำผิดกฎหมายผ่านในทุกช่องทาง รวมถึงการแจ้งผ่านสายด่วนพิทักษ์ป่า 1362
นกเงือกกรามช้าง (Wreathed Hornbill) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rhyticeros undulatus เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพุทธศักราช 2562 ,สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) จัดให้อยู่ในระดับ VU - Vulnerable มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์
สำหรับ "วันสัตว์ป่าและพืชป่าโลก” (World Wildlife Day)ในปีนี้วางแนวคิดหลัก คือ “Recovering Key Species for Ecosystem Restoration หรือ กู้วิกฤตชีวิตในป่า พลิกฟื้นชะตาระบบนิเวศ” ที่ต้องการสื่อสารให้สาธารณชนให้ความสนใจและตระหนักถึงสถานภาพของสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง และบทบาทหน้าที่ของสัตว์ป่าและพืชป่าเหล่านั้นที่มีต่อระบบนิเวศ และการฟื้นฟูประชากรสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ให้กลับคืนสู่แหล่งที่อยู่อาศัย ตามธรรมชาติ สามารถดำรงชีวิตในธรรมชาติได้อีกครั้งเพื่อระบบนิเวศที่มีความอุดมสมบูรณ์
ข้อมูลอ้างอิง อุทยานแห่งชาติตาดหมอก
-Tat Mok National Park