xs
xsm
sm
md
lg

รฟท.คาด 3 อุปสรรค ส่งผลไฮสปีดฯ ล่าช้า เสี่ยงทั้งรัฐ-เอกชน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เผยปมปัญหาการบริหาร ระบุเวนคืนพื้นที่ไฮสปีดฯ ล่าช้า หวั่นความเสี่ยงของทั้งรัฐและเอกชน ชี้อุปสรรคสำคัญ 3 ประการ ย้ำต้องรอบคอบ


แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยถึงการเข้าดำเนินการแอร์พอร์ตลิงก์และโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินของซีพีว่า การที่ซีพีทำจดหมายขอเลื่อนถ่ายโอนธุรกิจ-จ่ายค่าสิทธิแอร์พอร์ เรล ลิงก์ ออกไป 3 เดือน เพื่อดูว่าจะแก้ปัญหาการเวนคืนที่ได้ 100% ตามสัญญาหรือไม่ อาจมีเหตุผลหลักที่ทำให้ซีพีไม่กล้ารับสัญญาเริ่มดำเนินการแอร์พอร์ตลิงค์ และไม่กล้าลงเสาเข็มโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เนื่องจากความไม่มั่นใจว่า รัฐจะสามารถส่งมอบพื้นที่ได้ตามสัญญา เนื่องจากตามสัญญากำหนดไว้ว่าเอกชนต้องเข้าไปดำเนินการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา แต่การจะรับมอบพื้นที่มาทำรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินตามสัญญาแล้ว รัฐบาลต้องส่งมอบพื้นที่ให้ได้ 100% แต่ตามสัญญา รัฐต้องดำเนินการส่งมอบพื้นที่ ช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ระยะทาง 170 กม. ให้ได้ทั้ง 100% แต่ในความเป็นจริง รัฐยังไม่สามารถส่งมอบพื้นที่โครงการในช่วงแรกคือ ช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ได้ 100% ล่าช้ากว่าที่เคยประกาศไว้

นอกจากนี้ ล่าสุดอีอีซี คาดว่า จะส่งมอบพื้นที่ให้กับกลุ่มซีพี ภายในเดือน มี.ค. 2565 แต่ยังมีอุปสรรคสำคัญ 3 ประการคือ 1. ช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ระยะทาง 170 กม.จะส่งมอบพื้นที่ให้กับกลุ่มซีพี ภายในเดือน มี.ค. 𝟐𝟓𝟔𝟓 หรือไม่ ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่ ยังไม่ได้ส่งมอบให้เอกชน และ ยังอยู่ในกระบวนการตรวจสอบความถูกต้อง และยังต้องรีบเคลียร์อีกกว่า 100 สัญญาเวนคืน และ 200 ผู้บุกรุกพื้นที่

2. ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 𝟏𝟎 กม.ซึ่ง ตามแผนจะส่งมอบพื้นที่ในเดือน มี.ค. 𝟐𝟓𝟔𝟓

3. ช่วงบางซื่อ-พญาไท ระยะทาง 𝟏𝟐 กม. อยู่ระหว่างการรื้อย้ายสาธารณูปโภค 2 จุด คือ ระบบระบายน้ำและสถานีสูบน้ำคลองสามเสนของทางกรุงเทพมหานคร และท่อขนส่งน้ำมันของ บจ.ขนส่งน้ำมันทางท่อ (FPT) คาดว่าจะส่งมอบในช่วงเดือน ต.ค. 𝟐𝟓𝟔𝟔

จากการส่งมอบที่ล่าช้า ทำให้ความไม่แน่นอนมีอยู่หลายจุด ว่าจะมีอุปสรรคในการส่งมอบพื้นที่ขึ้นที่จุดใดหรือไม่ ทั้งนี้ หากภาครัฐไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ได้ตามกำหนด ก็อาจนำมาซึ่งความเสียหายต่อภาครัฐได้ และเอกชนจะกล้าลงทุนมหาศาลล่วงหน้าหรือไม่

ในขณะที่ นายวรวุฒิ มาลา อดีตรักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ในฐานะประธานคณะกรรมการคัดเลือกโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน เคยให้สัมภาษณ์ในทำนองเดียวกันว่า มีความกังวลเรื่องการส่งมอบพื้นที่ ซึ่งต้องทำให้รอบคอบ และให้เข้าใจตรงกันทั้ง 2 ฝ่าย เพราะเป็นความเสี่ยงของทั้งรัฐและเอกชน


กำลังโหลดความคิดเห็น