คุณรู้สึกอย่างไร…เมื่อได้รับรู้ข่าวสารว่าสถานการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีมลพิษเข้าขั้นวิกฤต ทั้งในแม่น้ำและมหาสมุทร บนแผ่นดิน และในอากาศ ที่ส่งผลกระทบกลายเป็นภัยธรรมชาติไปทั่วโลก บ่อยขึ้น และรุนแรงมากขึ้น
ผมเชื่อว่าคนส่วนใหญ่คงจะรู้สึกถึงความไม่แน่นอน ไม่มั่นคง และไม่ปลอดภัย โดยเฉพาะเรื่องภัยธรรมชาติในยุคปัจจุบัน ซึ่งไม่อาจมองว่า”เป็นเรื่องไกลตัว”อีกต่อไป
พิษสงของการเกิด”มหาอุทกภัย”ในเมืองไทยเมื่อปี 2554 ได้สร้างความเดือดร้อนไปทุกวงการทั่วประเทศ ที่ธนาคารโลกประเมินมูลค่าความเสียหายสูงถึง 1.44 ล้านล้านบาท และโอกาสจะเกิดภัยธรรมชาติครั้งใหญ่แบบนั้นก็มีโอกาสจะเกิดกับหลายภูมิภาคของโลกอีก ยังมีการผลิตและการบริโภคยังไม่รับผิดชอบแบบเดิมๆ
การพูดย้ำว่า”รักษ์โลก”หรือผู้บริหารองค์กรที่ยืนยันจะดำเนินกิจการโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ก็ไม่ใช่ ”ภาษาดอกไม้” หรือแค่”ทำเพื่อให้ดูดี”อีกต่อไป แต่นั่นคือ”สิ่งที่ต้องทำ”
เพราะเราไม่มีโลกใบที่ 2 ให้ ไว้สำรอง เราจึงต้องรับผิดชอบต่อโลกใบนี้ ด้วยการไม่เพิ่มปัญหา แต่ต้องช่วยกันปกป้อง ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อไม่ไปบั่นทอนสิทธิ และโอกาสของคนรุ่นต่อไปในอนาคต
แม้ว่าผู้นำประเทศภาคีสหประชาชาติ ตื่นต้ว โดยกำหนดเป้าหมายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)เพื่อแก้17ปัญหาสำคัญของโลก และมีการประชุมสุดยอดผู้นำหลายเครือข่าย เช่นการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 26 ที่เรียกว่าCOP 26 ที่เมืองกลาสโกว์ ประเทศสก็อตแลนด์ เมื่อเร็วๆนี้
เพื่อกำหนดกลยุทธ์การจัดการปัญหานี้ โดยกระตุ้นให้ทุกประเทศดำเนินการตามเป้าหมายและแผนปฏิบัติการ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ระดับเป็นศูนย์ เพื่อคุมไม่ให้อุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้น ถึง 1.5 องศาเซลเซียส เพราะถ้าถึง 2 องศาจะเกิดมหันตภัยต่อชีวิตคนสัตว์และสิ่งแวดล้อม
จากสัญญาณอันตรายยืนยันบ่อยครั้ง ด้วยสถานการณ์ภัยพิบัติยังเกิดซ้ำซากไปทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทย ก็มีทั้ง ฝนแล้ง น้ำท่วม พายุรุนแรง ดินถล่ม และไฟป่า ที่เกิดจากปัจจัยทางธรรมชาติ และพฤติกรรมมนุษย์ในการใช้ชีวิตและการผลิต ที่ส่งผลให้เกิด”ภาวะโลกร้อน” อันเป็นเหตุให้เกิด”การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ”แล้วเกิดภัยธรรมชาติบ่อยขึ้น
น่ายินดีที่ ในสังคมก็ยังมีบุคคลหรือกลุ่มบุคคล ผู้มีจิตสำนึกใฝ่ดี ตระหนักรู้ในคุณค่าความสมดุลของธรรมชาติ ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์และอุทิศตนทำกิจกรรมหรือโครงการ เพื่อปกป้อง ฟื้นฟู อนุรักษ์ระบบนิเวศของทรัพยากรธรรมชาติให้ดีขึ้น
“รางวัลลูกโลกสีเขียว” จึงเกิดขึ้นในปี 2542 ต่อเนื่องจากโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ 1 ล้านไร่ ของปตท.
จุดมุ่งหมายของรางวัลนี้ เพื่อสนับสนุน ยกย่องและเผยแพร่ผลงานการส่งเสริมทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของบุคคลและกลุ่มบุคคล ที่มีบทบาทดีงามต่อสังคมไทย อีกทั้งแนวคิดและกิจกรรมยังสามารถเป็นแบบอย่างนำไปประยุกต์ใช้เพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติให้ยั่งยืนต่อไป
ต่อมาในปี 2548 ได้มีการเพิ่มประเภทรางวัล”สิปปนนท์ เกตุทัต รางวัลแห่งความยั่งยืน”เพื่อเป็นอนุสรณ์และระลึกถึงท่านผู้ร่วมก่อตั้งรางวัลนี้ และเพื่อยกย่องผลงานชุมชนที่เคยได้รับ”รางวัลลูกโลกสีเขียว”มาแล้ว 5 ปีขึ้นไป และยังคงบทบาทการอนุรักษ์ธรรมชาติอย่างเข้มแข็ง
สำหรับการพิจารณา”รางวัลลูกโลกสีเขียว”ครั้งที่ 20 สถาบันลูกโลกสีเขียว ได้คำนึงถึงเป้าหมายและพันธกิจที่ดำเนินมาตลอด 20 ปี อย่างต่อเนื่อง ในการยกย่องผลงานการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
แต่ได้ปรับเกณฑ์การพิจารณาผลงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์สิ่งแวดล้อมใหม่ๆ เช่น การทำงานของชุมชนเมืองที่ไม่มีพื้นที่ป่า แต่สามารถสร้างเครือข่าย ทำให้เกิดพื้นที่ป่าลักษณะใหม่ๆ หรือชุมชนที่ไม่สามารถขยายพื้นที่ป่า ได้สร้างนวัตกรรมการบริหารจัดการเป็นความรู้ใหม่อย่างไม่หยุดนิ่ง และทำงานอนุรักษ์โดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารมาช่วยมากขึ้น
พิธีมอบ”รางวัลลูกโลกสีเขียว” ครั้งที่ 20 จัดขึ้นหลายภูมิภาคยังมีวินัยสาธารณสุขยุคโควิด ในเดือนพฤศจิกายน ศกนี้ ได้แก่ 1) ประเภทชุมชน 8ผลงาน 2) ประเภทบุคคล 8 ผลงาน 3) ประเภทกลุ่มเยาวชน 4 ผลงาน 4) ประเภทงานเขียน 4 ผลงาน 5) ประเภทความเรียงเยาวชน 9 ผลงาน 6) ประเภทสื่อมวลชน 2 ผลงาน 7) ประเภท”สิปปนนท์ เกตุทัต รางวัลแห่งความยั่งยืน” 7 ผลงาน
(สามารถติดตาม 7 ประเภทผลงานรวม 42 รางวัลลูกโลกสีเขียว ครั้งที่ 20 ได้ทาง www.greenglobeinstitute.com)
ข้อคิด….
บทบาทของสถาบันลูกโลกสีเขียว ที่ได้ร่วมมือกับผู้ทรงคุณวุฒิสาขาต่างๆ ทั้งองค์กรพัฒนาเอกชน นักอนุรักษ์ นักวิชาการ นักเขียน และสื่อมวลชน ที่สนใจในเรื่อง การปกป้องและส่งเสริมทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการศึกษาติดตามพัฒนาการด้านนี้อย่างต่อเนื่องกว่า 20 ปี
การส่งเสริม สนับสนุน และยกย่องผลงานดีเด่น เป็นกระบวนที่เกิดผลลัพธ์ของการคัดสรรแนวคิดและได้ตัวอย่างที่ดี มาสร้างเสริมค่านิยมและพฤติกรรมให้ทำสิ่งดีงามแก่โลกใบนี้
การที่ Green Innovation&SD กลุ่มเนื้อหาขนาดใหญ่ ของสื่อในเครือผู้จัดการได้รับ “รางวัลลูกโลกสีเขียว” ประเภทสื่อมวลชน จากสถาบันลูกโลกสีเขียว จึงเป็นเรื่องน่าภูมิใจมาก
ดังที่ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ได้กล่าวย้ำบนเวทีการมอบรางวัลนี้ว่า สื่อมวลชนมีความสำคัญ ในการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องต่อสังคม ทั้งควรช่วยสร้างจิตสำนึกที่ดีให้ภาคส่วนต่างๆ ไม่ให้สร้างมลภาวะและความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม กิจการต่างๆต้องมีเป้าหมายและดำเนินการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งจะช่วยลดภาวะโลกร้อนและภัยธรรมชาติ
กองบรรณาธิการ Green Innovation & SD มีความตระหนักตั้งแต่เริ่มสายงานนี้มาเกือบ 10 ปี จุดยืนยุทธศาสตร์การตลาดของเรา จึงเสนอข่าวสาร ข้อมูล ความคิดเห็น ที่ครอบคลุมแนวทาง”การพัฒนาอย่างยั่งยืน”ก็คือSD ( Sีustainable Development) ซึ่งมีองค์ประกอบ 3 มิติ ESG คือ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Environmental) รับผิดชอบต่อสังคม(Social)และการบริหารด้วยหลักธรรมาภิบาล (Governance) ซึ่งเป็นแนวทางของสังคมโลกยุคปัจจุบัน
การสื่อสารในยุคดิจิทัล ท่านสามารถติดตามความคืบหน้าด้านESG ของภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาสังคม ผ่านเซ็คชั่น Green Innovation & SD ทาง 1).เว็บไซต์ Manager Online 2) Facebook : Green&SD Manager 3) ฉบับรายปักษ์ Green Innovation&SD ในนสพ.ผู้จัดการ360องศารายวัน
ผมเชื่อว่าคนส่วนใหญ่คงจะรู้สึกถึงความไม่แน่นอน ไม่มั่นคง และไม่ปลอดภัย โดยเฉพาะเรื่องภัยธรรมชาติในยุคปัจจุบัน ซึ่งไม่อาจมองว่า”เป็นเรื่องไกลตัว”อีกต่อไป
พิษสงของการเกิด”มหาอุทกภัย”ในเมืองไทยเมื่อปี 2554 ได้สร้างความเดือดร้อนไปทุกวงการทั่วประเทศ ที่ธนาคารโลกประเมินมูลค่าความเสียหายสูงถึง 1.44 ล้านล้านบาท และโอกาสจะเกิดภัยธรรมชาติครั้งใหญ่แบบนั้นก็มีโอกาสจะเกิดกับหลายภูมิภาคของโลกอีก ยังมีการผลิตและการบริโภคยังไม่รับผิดชอบแบบเดิมๆ
การพูดย้ำว่า”รักษ์โลก”หรือผู้บริหารองค์กรที่ยืนยันจะดำเนินกิจการโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ก็ไม่ใช่ ”ภาษาดอกไม้” หรือแค่”ทำเพื่อให้ดูดี”อีกต่อไป แต่นั่นคือ”สิ่งที่ต้องทำ”
เพราะเราไม่มีโลกใบที่ 2 ให้ ไว้สำรอง เราจึงต้องรับผิดชอบต่อโลกใบนี้ ด้วยการไม่เพิ่มปัญหา แต่ต้องช่วยกันปกป้อง ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อไม่ไปบั่นทอนสิทธิ และโอกาสของคนรุ่นต่อไปในอนาคต
แม้ว่าผู้นำประเทศภาคีสหประชาชาติ ตื่นต้ว โดยกำหนดเป้าหมายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)เพื่อแก้17ปัญหาสำคัญของโลก และมีการประชุมสุดยอดผู้นำหลายเครือข่าย เช่นการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 26 ที่เรียกว่าCOP 26 ที่เมืองกลาสโกว์ ประเทศสก็อตแลนด์ เมื่อเร็วๆนี้
เพื่อกำหนดกลยุทธ์การจัดการปัญหานี้ โดยกระตุ้นให้ทุกประเทศดำเนินการตามเป้าหมายและแผนปฏิบัติการ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ระดับเป็นศูนย์ เพื่อคุมไม่ให้อุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้น ถึง 1.5 องศาเซลเซียส เพราะถ้าถึง 2 องศาจะเกิดมหันตภัยต่อชีวิตคนสัตว์และสิ่งแวดล้อม
จากสัญญาณอันตรายยืนยันบ่อยครั้ง ด้วยสถานการณ์ภัยพิบัติยังเกิดซ้ำซากไปทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทย ก็มีทั้ง ฝนแล้ง น้ำท่วม พายุรุนแรง ดินถล่ม และไฟป่า ที่เกิดจากปัจจัยทางธรรมชาติ และพฤติกรรมมนุษย์ในการใช้ชีวิตและการผลิต ที่ส่งผลให้เกิด”ภาวะโลกร้อน” อันเป็นเหตุให้เกิด”การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ”แล้วเกิดภัยธรรมชาติบ่อยขึ้น
น่ายินดีที่ ในสังคมก็ยังมีบุคคลหรือกลุ่มบุคคล ผู้มีจิตสำนึกใฝ่ดี ตระหนักรู้ในคุณค่าความสมดุลของธรรมชาติ ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์และอุทิศตนทำกิจกรรมหรือโครงการ เพื่อปกป้อง ฟื้นฟู อนุรักษ์ระบบนิเวศของทรัพยากรธรรมชาติให้ดีขึ้น
“รางวัลลูกโลกสีเขียว” จึงเกิดขึ้นในปี 2542 ต่อเนื่องจากโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ 1 ล้านไร่ ของปตท.
จุดมุ่งหมายของรางวัลนี้ เพื่อสนับสนุน ยกย่องและเผยแพร่ผลงานการส่งเสริมทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของบุคคลและกลุ่มบุคคล ที่มีบทบาทดีงามต่อสังคมไทย อีกทั้งแนวคิดและกิจกรรมยังสามารถเป็นแบบอย่างนำไปประยุกต์ใช้เพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติให้ยั่งยืนต่อไป
ต่อมาในปี 2548 ได้มีการเพิ่มประเภทรางวัล”สิปปนนท์ เกตุทัต รางวัลแห่งความยั่งยืน”เพื่อเป็นอนุสรณ์และระลึกถึงท่านผู้ร่วมก่อตั้งรางวัลนี้ และเพื่อยกย่องผลงานชุมชนที่เคยได้รับ”รางวัลลูกโลกสีเขียว”มาแล้ว 5 ปีขึ้นไป และยังคงบทบาทการอนุรักษ์ธรรมชาติอย่างเข้มแข็ง
สำหรับการพิจารณา”รางวัลลูกโลกสีเขียว”ครั้งที่ 20 สถาบันลูกโลกสีเขียว ได้คำนึงถึงเป้าหมายและพันธกิจที่ดำเนินมาตลอด 20 ปี อย่างต่อเนื่อง ในการยกย่องผลงานการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
แต่ได้ปรับเกณฑ์การพิจารณาผลงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์สิ่งแวดล้อมใหม่ๆ เช่น การทำงานของชุมชนเมืองที่ไม่มีพื้นที่ป่า แต่สามารถสร้างเครือข่าย ทำให้เกิดพื้นที่ป่าลักษณะใหม่ๆ หรือชุมชนที่ไม่สามารถขยายพื้นที่ป่า ได้สร้างนวัตกรรมการบริหารจัดการเป็นความรู้ใหม่อย่างไม่หยุดนิ่ง และทำงานอนุรักษ์โดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารมาช่วยมากขึ้น
พิธีมอบ”รางวัลลูกโลกสีเขียว” ครั้งที่ 20 จัดขึ้นหลายภูมิภาคยังมีวินัยสาธารณสุขยุคโควิด ในเดือนพฤศจิกายน ศกนี้ ได้แก่ 1) ประเภทชุมชน 8ผลงาน 2) ประเภทบุคคล 8 ผลงาน 3) ประเภทกลุ่มเยาวชน 4 ผลงาน 4) ประเภทงานเขียน 4 ผลงาน 5) ประเภทความเรียงเยาวชน 9 ผลงาน 6) ประเภทสื่อมวลชน 2 ผลงาน 7) ประเภท”สิปปนนท์ เกตุทัต รางวัลแห่งความยั่งยืน” 7 ผลงาน
(สามารถติดตาม 7 ประเภทผลงานรวม 42 รางวัลลูกโลกสีเขียว ครั้งที่ 20 ได้ทาง www.greenglobeinstitute.com)
ข้อคิด….
บทบาทของสถาบันลูกโลกสีเขียว ที่ได้ร่วมมือกับผู้ทรงคุณวุฒิสาขาต่างๆ ทั้งองค์กรพัฒนาเอกชน นักอนุรักษ์ นักวิชาการ นักเขียน และสื่อมวลชน ที่สนใจในเรื่อง การปกป้องและส่งเสริมทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการศึกษาติดตามพัฒนาการด้านนี้อย่างต่อเนื่องกว่า 20 ปี
การส่งเสริม สนับสนุน และยกย่องผลงานดีเด่น เป็นกระบวนที่เกิดผลลัพธ์ของการคัดสรรแนวคิดและได้ตัวอย่างที่ดี มาสร้างเสริมค่านิยมและพฤติกรรมให้ทำสิ่งดีงามแก่โลกใบนี้
การที่ Green Innovation&SD กลุ่มเนื้อหาขนาดใหญ่ ของสื่อในเครือผู้จัดการได้รับ “รางวัลลูกโลกสีเขียว” ประเภทสื่อมวลชน จากสถาบันลูกโลกสีเขียว จึงเป็นเรื่องน่าภูมิใจมาก
ดังที่ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ได้กล่าวย้ำบนเวทีการมอบรางวัลนี้ว่า สื่อมวลชนมีความสำคัญ ในการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องต่อสังคม ทั้งควรช่วยสร้างจิตสำนึกที่ดีให้ภาคส่วนต่างๆ ไม่ให้สร้างมลภาวะและความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม กิจการต่างๆต้องมีเป้าหมายและดำเนินการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งจะช่วยลดภาวะโลกร้อนและภัยธรรมชาติ
กองบรรณาธิการ Green Innovation & SD มีความตระหนักตั้งแต่เริ่มสายงานนี้มาเกือบ 10 ปี จุดยืนยุทธศาสตร์การตลาดของเรา จึงเสนอข่าวสาร ข้อมูล ความคิดเห็น ที่ครอบคลุมแนวทาง”การพัฒนาอย่างยั่งยืน”ก็คือSD ( Sีustainable Development) ซึ่งมีองค์ประกอบ 3 มิติ ESG คือ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Environmental) รับผิดชอบต่อสังคม(Social)และการบริหารด้วยหลักธรรมาภิบาล (Governance) ซึ่งเป็นแนวทางของสังคมโลกยุคปัจจุบัน
การสื่อสารในยุคดิจิทัล ท่านสามารถติดตามความคืบหน้าด้านESG ของภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาสังคม ผ่านเซ็คชั่น Green Innovation & SD ทาง 1).เว็บไซต์ Manager Online 2) Facebook : Green&SD Manager 3) ฉบับรายปักษ์ Green Innovation&SD ในนสพ.ผู้จัดการ360องศารายวัน