xs
xsm
sm
md
lg

‘เดลต้า’ บทเรียนรู้ กิจการที่เข้มงวดกลยุทธ์สู่ความยั่งยืน หลังผงาดในดัชนี DJSI ต่อเนื่อง 11 ปี

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



จากผลการประกาศรายชื่อกิจการที่ผ่านเกณฑ์ DJSI มีชื่อของบริษัทเดลต้า อิเล็กทรอนิกส์ เป็นหนึ่งในบริษัทที่ได้รับเลือกให้อยู่ในกลุ่ม "ดัชนีโลก" DJSI World ของ DJSI เป็นปีที่ 11 ติดต่อกันด้วยคะแนนสูงสุดในอุตสาหกรรมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลก

ในปีนี้ เดลต้าได้รับคะแนนสูงสุดในกลุ่มอุตสาหกรรมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลก และยังเป็นกิจการที่สามารถทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ในการประเมินเกณฑ์ด้านความยั่งยืนในหมวดของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าว ได้แยกประเด็นออกเป็นหลายหมวดย่อย รวมทั้งในด้าน "การจัดการนวัตกรรม" การพัฒนาและวิจัย "รายงานสิ่งแวดล้อม", "รายงานทางสังคม" การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร ความยั่งยืนของผลิตภัณฑ์ และความพยายามต่อเนื่องในการบ่มเพาะผู้ที่มีความสามารถและมีส่วนร่วมในการพัฒนาสวัสดิภาพของทางสังคม ซึ่งบริษัท เดลต้าได้รับคะแนนสูงสุดใน 6 หมวดหมู่

ตามรายงานการเปิดเผยของบริษัท อธิบายถึงที่มาของคะแนนสูงสุดดังกล่าวว่า เป็นเพราะบริษัท เดลต้าคำนึงถึงมิติความยั่งยืนทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านของสิ่งแวดล้อม ด้านสังคม และด้านการกำกับดูแลกิจการ (ESG) โดยนายเจสซี่ ชู ประธานเจ้าหน้าที่ด้านความยั่งยืนของบริษัท เดลต้า กล่าวว่า "เดลต้าดำเนินการตามภารกิจขององค์กรอย่างจริงจัง เพื่อมอบโซลูชันธุรกิจที่เป็นนวัตกรรม เน้นความเป็นกรีนที่ไม่ทำร้ายสิ่งแวดล้อม และประหยัดพลังงานเพื่ออนาคตที่ดีกว่า"

นอกจากนั้น บริษัทเดลต้ายังให้ความสำคัญกับการเฝ้าระวังและการติดตามความคิดริเริ่มด้านความยั่งยืนระดับสากล โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบจาก การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เพื่อให้ทีมบริหารระดับสูงของบริษัทสามารถนำมาปรับรูปแบบ และโครงสร้างการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมได้อย่างยืดหยุ่นและทันท่วงที เพื่อตอบสนองต่อความท้าทายที่ร้ายแรงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

หลังจากผ่านการประเมินครั้งใหญ่ในปี 2560 เดลต้าได้ริเริ่มโครงการด้านการประหยัดพลังงานทั้งหมด 2,270 โครงการ ที่ผ่านแนวปฏิบัติหลัก 3 ประการ ได้แก่ 1. การประหยัดพลังงานโดยสมัครใจและการลดคาร์บอน 2. การผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ภายในองค์กร และ 3. การซื้อพลังงานสีเขียวหรือการรับพลังงานหมุนเวียนระหว่างประเทศ จนได้รับใบรับรองพลังงาน เกินกว่าเป้าหมายประจำปีที่กำหนดไว้ และต่อเนื่องมาตามลำดับเป็นเวลาสามปีติดต่อกันแล้ว


ที่ผ่านมาบริษัท เดลต้า ไม่เพียงลดความเข้มข้นของการปล่อยคาร์บอนลงได้ถึง 55% แต่ยังสามารถปรับโครงสร้างการดำเนินงานไปใช้ไฟฟ้าหมุนเวียนได้ถึง 45% หรือคิดเป็นสัดส่วนที่สูงถึง 7%* ของการดำเนินงานของกิจการต่างๆ ทั่วโลก โดยมีเป้าหมายโดยรวมในการบรรลุการใช้พลังงานหมุนเวียน 100% และสามารถรักษาระดับความเป็นกลางของคาร์บอนได้ภายในปี 2573 และก้าวไปสู่การปล่อยมลพิษสุทธิเป็นศูนย์ในที่สุด 

นอกจากนี้บริษัทยังได้ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าเพื่อสิ่งแวดล้อมระยะยาวอย่างต่อเนื่อง (PPA) ร่วมกับ TCC Green Energy Corporation และ Foxwell Power Co., Ltd. เพื่อซื้อพลังงานลมจากบนบกปริมาณ 19 ล้านกิโลวัตต์ต่อชั่วโมง และ 8 ล้านกิโลวัตต์ต่อชั่วโมงสำหรับพลังงานลมบนบกต่อปี โดยบริษัทฯ จะเริ่มจัดหาพลังงานทางเลือกอย่างเป็นทางการภายในสิ้นเดือนพฤศจิกายนนี้ ซึ่งคาดว่าจะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลกจากกระบวนการที่ใช้ในการประกอบการของกิจการลงได้มากกว่า 271,000 ตัน

สิ่งที่เป็นจุดเด่นในกรณีของบริษัทเดลต้า ได้แก่ กลยุทธ์ที่ชัดเจนในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเดลต้ากำหนดเป้าหมายตามค่าวัดทางวิทยาศาสตร์ (Science-Based Target) ตั้งแต่ปี 2560 เพื่อลดความเข้มข้นของการปล่อยคาร์บอนลง 5.6% ภายในปี 2568 ด้วยความพยายามและความร่วมมือจากพนักงานทุกคน ความเข้มข้นของคาร์บอนในปี 2563 ของเดลต้าจึงลดลง 55% เร็วกว่าเป้าหมาย การลดคาร์บอนสัมบูรณ์ต่อปีโดยเฉลี่ยมากกว่า 8.2% การลดลงได้เกินเป้าหมาย 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นการวางรากฐานสำหรับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปีนี้

นอกจากนั้น เดลต้าได้เข้าร่วมโครงการ "Race to Zero" เพื่อกำหนดเป้าหมายลดคาร์บอนเป็นศูนย์สุทธิให้สอดคล้องกับอนาคต 1.5°C โดยเดลต้ามุ่งมั่นจะส่งมอบโซลูชันที่เป็นนวัตกรรมสะอาดและประหยัดพลังงาน โดยได้จัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาขึ้นทั่วโลกในปี 2020 ซึ่งเดลต้าได้ใช้จ่ายเงินในสัดส่วน 9.0% ของรายได้ทั้งหมดไปกับนวัตกรรมและการวิจัยและพัฒนาเพื่อการส่งมอบผลิตภัณฑ์ของเดลต้าในระหว่างปี 2553 ถึง 2563 ซึ่งได้ช่วยลูกค้าประหยัดเงินได้ถึง 33.5 พันล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง