xs
xsm
sm
md
lg

แผนการรับมือสภาพภูมิอากาศของจีน ไม่เป็นตามเป้า “การชะลออุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกของ COP26”

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


แปลงปลูกผักใกล้กับหอทำความเย็นของโรงไฟฟ้าถ่านหินในเมืองถงหลิง มณฑลอานฮุย ประเทศจีน Photograph: Qilai Shen/Bloomberg
ผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นเกี่ยวกับแผนที่นำทางลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของจีน (Nationally Determined Contributions:NDCs) ที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ขององค์การสหประชาชาติ (UN) สำหรับการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) ซึ่งระบุว่าจีนจะต้องปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปถึงจุดสูงสุดก่อนปี 2030 หลังจากนั้นจะเข้าสู่ ‘ความเป็นกลางทางคาร์บอนก่อนปี 2060’

ผู้เชี่ยวชาญต่างผิดหวังกับเป้าหมายใหม่ของจีน เพราะแผนที่นำทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (NDCs)ไม่เพียงพอที่จะชะลอการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยพื้นผิวโลกไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับยุคก่อนอุตสาหกรรม

ก่อนการเปิดการประชุมสุดยอดด้านสภาพอากาศ COP26 ไม่กี่วัน ทางการจีนได้เผยแพร่แผนระดับชาติที่รอคอยมานานเกี่ยวกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ได้แสดงถึงความคืบหน้าเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับความมุ่งมั่นที่ประกาศไว้ก่อนหน้านี้ นั่นทำให้ผู้สังเกตการณ์ต่างผิดหวัง

Li Gao อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในกระทรวงสิ่งแวดล้อมของจีน เป็นผู้ส่งข้อเสนอถึง Patricia Espinosa เลขาธิการบริหารของอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติ

แผน NDCs ของจีนที่ส่งไปยัง UN ระบุถึงการปล่อยมลพิษจะสูงสุดภายในปี 2030 และจะเข้าสู่ ‘ความเป็นกลางทางคาร์บอนก่อนปี 2060’ หรือในอีกสามทศวรรษข้างหน้า

ผู้เชี่ยวชาญ มองว่าเป็นเรื่องสายเกินไปที่จะรับประกันว่าโลกจะจำกัดอุณหภูมิของโลกไว้ที่ 1.5 องศาเซลเซียส เหนือระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม เมื่อเทียบกับ NDCs ก่อนหน้าของจีนเมื่อปี 2015 กลับมีความคืบหน้าเพียงเล็กน้อย

แม้ว่าเอกสารฉบับใหม่มีความชัดเจนมากขึ้นว่าจีนตั้งใจที่จะปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้สูงสุดภายในปี 2030 โดยลดความเข้มข้นของคาร์บอนในระบบเศรษฐกิจลงมากกว่า 65% เพิ่มส่วนแบ่งของเชื้อเพลิงที่ไม่ใช่ฟอสซิลในการใช้พลังงานขั้นต้นเป็น 25% จากเป้าหมายเดิมที่ 20% และยกระดับเป้าหมายของการปลูกป่าเป็น 6 พันล้านลูกบาศก์เมตรจาก 4.5 พันล้าน และในเอกสารก่อนหน้านี้ ไม่มีตัวเลขระบุกำลังการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์และลมภายในปี 2030 แต่การส่งใหม่ระบุว่าจะอยู่ที่ 1,200 GW

อย่างไรก็ตาม ปฏิกิริยาของนักวิเคราะห์ เห็นว่าแผนภูมิอากาศใหม่ขาดรายละเอียดอย่างน่าผิดหวัง เพราะเป้าหมายหลักของ NDC ที่อัปเดตได้รับการประกาศเมื่อปีที่แล้วโดยประธานาธิบดี สี จิ้นผิงของจีน ยังไม่เพียงพอที่จะรักษาโลกให้มีอุณหภูมิความร้อนทั่วโลกไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส

Belinda Schäpe กล่าวว่าคำเตือนล่าสุดจากนักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพอากาศชั้นนำของโลก ต้องการให้ประเทศต่างๆ ก้าวไปไกลกว่าที่พวกเขาเต็มใจจะทำในปีที่แล้ว

“สิ่งต่างๆ เปลี่ยนไปตั้งแต่ปีที่แล้ว 'คำเตือนโค้ดแดง' ล่าสุดโดย IPCC ควรทำให้เป้าหมายของจีนแตกต่างออกไป และความทะเยอทะยานที่เพิ่มขึ้นจากประเทศจีนนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ในฐานะประเทศอันดับ 1 ที่มีการปล่อยคาร์บอนมากที่สุด

“จีนยังสามารถมีส่วนร่วมในการประชุม G20 และ COP26 โดยการสนับสนุนความมุ่งมั่นทางการเมืองเพื่อให้ระดับอุณหภูมิของโลกไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียสอยู่ในมือ และชี้แจงบทบาทของถ่านหินในระบบไฟฟ้าของตนเอง”

ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง เพิ่งให้คำมั่นที่จะหยุดสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในต่างประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญและก้าวหน้า แต่นักรณรงค์ด้านสภาพอากาศ กล่าวว่าถึงเวลาแล้วที่ประเทศจีนจะต้องดำเนินการภายในประเทศมากขึ้นเพื่อควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในช่วงทศวรรษนี้

ด้าน กรีนพีซ เอเชียตะวันออก ให้ความเห็นว่าการที่จีนไม่มีพันธกรณีใหม่นั่นแสดงถึงการสวนทางกับความพยายามต่อกรกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ

“เพราะความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจในประเทศ ดูเหมือนว่าประเทศจะลังเลที่จะยอมรับเป้าหมายที่เข้มข้นมากขึ้น อีกทั้งยังพลาดโอกาสที่จะแสดงความมุ่งมั่นที่จะชะลอการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ”

ขณะนี้จีนกำลังประสบกับปัญหาขาดแคลนไฟฟ้าอย่างหนักที่สุดในรอบหลายปี และขอให้เหมืองถ่านหินเพิ่มการขุดถ่านหินเพื่อป้อนสู่โรงไฟฟ้าถ่านหินมากขึ้น การพึ่งพาถ่านหินเป็นสาเหตุหลักของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ หรือคิดเป็นเกือบ 60% ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด

อย่างไรก็ตาม ทางการจีนจำเป็นจะต้องนำเสนอแผนที่นำทางการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อย่างชัดเจน รวมทั้งกำหนดแนวทางเพื่อหยุดขยายโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินใหม่โดยเร็วที่สุด โดยกรีนพีซเสนอให้จีนบรรลุการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สูงสุดภายในปี 2025

ข้อมูลอ้างอิง :
- https://www.theguardian.com/.../disappointing-but-not...
- https://www.reuters.com/.../china-submits-updated.../



Clip Cr.Down To Earth
จีนกลายเป็นผู้ก่อมลพิษทางสภาพอากาศที่ใหญ่ที่สุดในโลกได้อย่างไร

สถานะของการปล่อยก๊าซทั่วโลกเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญถ้านับจากเวลาที่จีนเข้าร่วมองค์การการค้าโลกในปี 2001 โดยระหว่างปี1990 ถึง 2019 จีนเพิ่มส่วนแบ่งการปล่อยCO2 ทั่วโลกจาก 5.11% เป็น 20.72 เปอร์เซ็นต์

และวันนี้จีนเป็นผู้ก่อมลพิษที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วยการปล่อยCO2 จำนวนมหาศาลถึง 10.17 กิกะตัน (Gt)ในปี 2019 เพียงปีเดียว หรือเป็นสัดส่วนประมาณ 28 เปอร์เซ็นต์ของการปล่อยทั้งหมดของโลกในปีนั้น

แล้วทั้งหมดนี้หมายความว่าอย่างไรสำหรับส่วนที่เหลือของโลก?



กำลังโหลดความคิดเห็น