xs
xsm
sm
md
lg

นายกฯ ประกาศต่อหน้าผู้นำ COP26 “เป้าหมายไทย Carbon Neutral ในปี 2050 และ Net Zero Emission ในปี 2065

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



จากนี้ไป ถือว่าประเทศไทยได้ให้คำมั่นต่อนานาประเทศ ในที่ประชุมผู้นำ COP26 เมื่อนายกรัฐมนตรี ประกาศเจตนารมณ์ของประเทศไทย ว่าพร้อมยกระดับการแก้ไขปัญหาภูมิอากาศอย่างเต็มที่


ไม่มีโลกใบที่สองเหมือนโลกใบนี้อีกแล้ว

เมื่อวานนี้ (1 พ.ย.2564) พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้กล่าวถึงเหตุผลสำคัญที่ไปร่วมการประชุมสุดยอดเรื่องภูมิอากาศของสหประชาชาติที่กรุงปารีส เมื่อปี ค.ศ. 2015 เพราะไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกเพียงร้อยละ 0.72 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วทั้งโลก แต่ไทยเป็น 1 ใน 10 ประเทศที่ได้รับผลกระทบร้ายแรงที่สุดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไทยจึงอยู่ในกลุ่มแรกที่ให้สัตยาบันเป็นภาคีของความตกลงปารีส และไทยได้ปฏิบัติตามคำมั่นที่ให้ไว้กับประชาคมโลกอย่างต่อเนื่อง แข็งขัน

ในส่วนของไทย ได้กำหนดเป้าหมาย NAMA (Nationally Appropriate Mitigation Actions) ภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในภาคพลังงานและขนส่งอย่างน้อย ร้อยละ 7 ภายในปี ค.ศ. 2020 แต่ไทยสามารถทำได้เกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ถึงกว่า 2 เท่า ก่อนกำหนดเวลาถึง 1 ปี เพราะในปี ค.ศ. 2019 ไทยลดก๊าซเรือนกระจกได้แล้วถึงร้อยละ 17 นอกจากนี้ ไทยยังเป็นประเทศแรกๆ ที่จัดส่งเป้าหมายการมีส่วนร่วมของประเทศ (Nationally Determined Contributions : NDC) และได้ส่งยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกระดับต่ำให้กับ UNFCCC รวมถึงได้จัดทำแผนงานต่างๆ ในระดับประเทศ และระดับท้องถิ่น

นายกรัฐมนตรีประกาศเจตนารมณ์ว่าไทยพร้อมยกระดับการแก้ไขปัญหาภูมิอากาศอย่างเต็มที่ด้วยทุกวิถีทาง เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) ภายในปี ค.ศ. 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ภายในปี ค.ศ. 2065 และด้วยการสนับสนุนจากความร่วมมือระหว่างประเทศ และกลไกภายใต้ กรอบอนุสัญญาฯ ไทยจะยกระดับ NDC ของเราขึ้นเป็นร้อยละ 40 ได้ ซึ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้ภายในปี ค.ศ. 2050

นายกรัฐมนตรี ยังกล่าวถึงการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปคของไทยในปี 2565 (ค.ศ. 2022) ว่าไทยได้กำหนดให้แนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว หรือ BCG เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจที่ไม่ทำลายระบบนิเวศ เป็นวาระหลักในการประชุมฯ

ซึ่งในตอนท้ายของการประชุมนายกรัฐมนตรีได้เรียกร้องให้ทุกประเทศร่วมกันดูแล รักษาโลก เพราะ “เราทุกคนไม่มี ‘แผนสอง’ ในเรื่องการรักษา เยียวยาสภาพภูมิอากาศ เพราะเราจะไม่มี ‘โลกที่สอง’ ซึ่งเป็นบ้านของพวกเราเหมือนโลกนี้อีกแล้ว”


Carbon Neutral กับ Net Zero Emission ต่างกันยังไง

นายกรัฐมนตรี ชี้เป้าหมายประเทศไทย ว่าจะเป็นประเทศที่เป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) ในปี 2050 พร้อมกับประเทศส่วนใหญ่ และจะบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission)ได้ในปี ค.ศ. 2065

ตรงนี้อาจจะทำให้หลายคนสับสน ว่า Carbon Neutral กับ Net Zero Emission คือผลลัพธ์เดียวกันไม่ใช่หรือ นั่นคือ เราจะไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกส่วนเพิ่มให้กับบรรยากาศ

แต่ความจริงแล้วสองคำนี้มีความต่างนิดหน่อย ถ้าให้เปรียบเทียบง่ายๆ คือ Carbon Neutral จะดูแค่ผลลัพธ์
ส่วน Net Zero Emission จะดูที่การกระทำ

การทำให้ Carbon Neutral ไม่ใช่เรื่องยาก เอาจริงๆ แค่มีเงินก็ทำได้ เพราะตามหลักการ ถ้าเราปล่อยคาร์บอนจำนวนเท่าไหร่ ก็สามารถไปซื้อคาร์บอนส่วนเกินของคนอื่นมาชดเชย หรือใช้การปลูกป่าชดเชยได้

ด้วยเหตุนี้ หลายประเทศ เช่น ภูฏาณ จึงประกาศตัวเป็น Carbon Negative หรือปล่อยคาร์บอนติดลบ เพราะทรัพยากรธรรมชาติ เช่นป่าไม้ที่ดูดซับคาร์บอนได้ มีเยอะกว่าการปล่อยคาร์บอนของประชาชนและอุตสาหกรรม ทำให้เมื่อคำนวณตัวเลขแล้ว กลายเป็นติดลบ ทั้งๆ ที่อาจจะไม่ได้ทำอะไร

ทางกลับกัน การเป็น Net Zero จะต้องเปลี่ยนกระบวนการที่ก่อคาร์บอนเยอะ ให้น้อยลง จนเข้าใกล้ศูนย์ไปเอง โดยที่ไม่ต้องซื้อคาร์บอนของใครมาทดแทน เช่น การเปลี่ยนการผลิตไฟฟ้าของประเทศให้เป็นพลังงานสะอาด เป็นต้น

ดังนั้นการเป็น Net Zero เลยยากกว่า Carbon Neutral มาก การประกาศของนายกฯ เป็นสองขยักแบบนี้ ก็แฟร์และชัดเจนดี ถึงแนวทางการปฏิบัติของประเทศไทย

ข้อมูลอ้างอิง
https://plana.earth/.../what-is-difference-between.../

https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/47700

ลุงซาเล้งกับขยะที่หายไป


กำลังโหลดความคิดเห็น