xs
xsm
sm
md
lg

“ซิตี้แบงก์” คว้ารางวัลธนาคารยอดเยี่ยมเพื่อการลงทุนประจำปี 64

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


ภาพประกอบ_ซิตี้ คว้ารางวัล Investment Bank of the Year in Asia จากนิตยสาร The Banker
ธนาคารซิตี้แบงก์ ได้รับรางวัลธนาคารเพื่อภาคธุรกิจยอดเยี่ยมของเอเชีย ประจำปี 2564 (Investment Bank of the Year in Asia for 2021) จากนิตยสาร The Banker ที่ดำเนินการโดย Financial Times ทั้งนี้ รางวัลดังกล่าวเป็นที่ยอมรับจากการสนับสนุนของลูกค้าซิตี้ทั่วทั้งเครือข่ายระดับภูมิภาค สะท้อนให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของซิตี้ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ให้บริการจัดหาเงินทุนครอบคลุมลูกค้าในทุกภาคส่วน อาทิ ตลาดทุน ตลาดตราสารหนี้ และการควบรวมและเข้าซื้อกิจการ ฯลฯ ได้เป็นอย่างดี

มร.ยาน เมตสเกอร์ ผู้บริหารสูงสุดฝ่ายการธนาคารและตลาดทุน ซิตี้แบงก์ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า ปัจจุบันซิตี้แบงก์กำลังดำเนินการเพิ่มทุนให้กับลูกค้าในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยมีการระดมทุนมากกว่า 100 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯต่อปี แสดงให้เห็นถึงการผสมผสานระหว่างการเพิ่มความแข็งแกร่งของงบดุล และการจัดหาเงินทุนเพื่อรองรับการเติบโตของภาคธุรกิจต่าง ๆ เนื่องจากปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในทุกภาคอุตสาหกรรม และด้วยเครือข่ายทั่วโลกของซิตี้แบงก์ได้ช่วยให้การดำเนินงานกับลูกค้ามีความชัดเจนมากขึ้น ในขณะที่ลูกค้ามีความต้องการทราบถึงมุมมองและความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญระดับโลกมากขึ้นเช่นกัน

Citibank Office Thailand
โดยตลอดปี 2564 ซิตี้แบงก์ยังได้รับการเสนอชื่อจากทั่วโลกในฐานะธนาคารเพื่อภาคธุรกิจแห่งปีในด้านบริการจัดหาเงินทุนครอบคลุม อาทิ ด้านการลงทุน (Investment Bank of the Year) การระดมทุนเข้าตลาดหลักทรัพย์ (Investment Bank for IPOs) และการลงทุนควบรวมหรือซื้อกิจการ (Investment Bank for M&A) ซึ่งในช่วงระยะเวลาของข้อตกลง 12 เดือนที่ผ่านมา ซิตี้แบงก์เป็นผู้นำข้อตกลงที่สำคัญหลายแห่งของภาคธุรกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก 

นอกจากนี้ซิตี้แบงก์ยังเป็นผู้นำด้านการจัดหาเงินทุนด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ในภูมิภาค โดยทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานร่วมระดับโลกด้านพันธบัตรสีน้ำเงินเปิดตัวของธนาคารแห่งประเทศจีนถือเป็นรายแรกในเอเชียแปซิฟิก รวมถึงพันธบัตรเพื่อความยั่งยืน 2.75 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯของโตโยต้า ซึ่งถือเป็นการจัดหาเงินทุน ESG ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาโดยบริษัทในเอเชียแปซิฟิก ตลอดจนตราสารหนี้อิสลามสีเขียว (Green sukuk) อายุ 30 ปี มูลค่า 750 ล้านเหรียญของอินโดนีเซีย เป็นตราสารหนี้อิสลามสีเขียวที่มีอายุยืนยาวที่สุดที่เคยมีมาทั่วโลก สะท้อนให้เห็นว่าธุรกรรมเหล่านี้ได้ผลักดันให้ลูกค้า ESG ของธนาคารฯ สามารถเข้าถึงเงินทุนเกือบ 4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐต่อปีจวบจนถึงปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกคาดว่าจะเป็นภูมิภาคที่มีการเติบโตหลักสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจโลกในปีต่อๆ ไปมากขึ้นเรื่อย ๆ และด้วยเหตุนี้ตลาดทุนที่คึกคักจึงคาดว่าจะมีทิศทางขาขึ้นที่แข็งแกร่งต่อไป ซิตี้แบงก์ในฐานะธนาคารชั้นนำระดับโลกที่มีเครือข่ายระหว่างประเทศที่แข็งแกร่งเพื่อมุ่งสู่การเป็นผู้นำในตลาดทุนของภูมิภาคนี้ ในขณะเดียวกัน ธนาคารฯ ใช้ประโยชน์จากจุดแข็งและความสัมพันธ์ข้ามเครือข่ายทั่วโลกในวงกว้างและเครือข่ายเชิงลึกเพื่อส่งมอบโซลูชันที่ครอบคลุมสำหรับลูกค้าในภูมิภาค ตลอดจนสนับสนุนลูกค้าในตลาดที่จัดตั้งขึ้นเช่นเดียวกับตลาดเกิดใหม่