Global Coral Reef Monitoring Network (GCRMN) เป็นเครือข่ายตรวจสอบแนวปะการังทั่วโลก ออกรายงาน “Status of Coral Reefs of the World 2020” ฉบับที่ 6 (ฉบับแรกออกมาตั้งแต่ปี 2008) ให้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์จากการวิเคราะห์เชิงปริมาณของชุดข้อมูลทั่วโลกต่อเหตุการณ์การฟอกขาวของปะการังทั่วโลกที่เกิดบ่อยครั้งมากขึ้น
เครือข่าย GCRMN ระบุผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นต่อแนวปะการังทั่วโลก ว่าเกิดจากอุณหภูมิมหาสมุทรที่สูงขึ้นเนื่องจากกิจกรรมของมนุษย์
ล่าสุดพบการสูญเสียแนวปะการังทั่วโลกประมาณ 14% เมื่อนับตั้งแต่ปี 2009 (พ.ศ.2552) หรือประมาณ 12 ปีที่ผ่านมา ซึ่งใหญ่กว่าพื้นที่แนวปะการังที่มีชีวิตทั้งหมดในออสเตรเลีย และการฟอกขาวของปะการังที่เกิดขึ้นเป็นวงกว้างถือเป็นเป็นรบกวนแนวปะการังที่รุนแรงที่สุด เฉพาะในปี 1998 (พ.ศ.2541) มีปะการังทั่วโลกตายไปถึง 8%
แนวปะการังทั่วโลก อยู่ในพื้นที่มากกว่า 100 ประเทศ ถึงแม้จะครอบคลุมพื้นทะเลเพียง 0.2% แต่ก็เป็นปัจจัยที่สำคัญต่อระบบนิเวศของสัตว์ทะเลอย่างน้อย 25% รวมถึงสนับสนุนให้เกิดความปลอดภัยในการปกป้องชายฝั่ง แนวปะการังเป็นแหล่งอาหารที่จะสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และสร้างความเป็นอยู่ที่ดีแก่มนุษย์โลก
อย่างไรก็ตาม แนวปะการังเป็นระบบนิเวศที่เปราะบางที่สุดในโลกต่อแรงกดดันจากมนุษย์ รวมถึงยังมีภัยคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กิจกรรมของมนุษย์ที่ทำให้มหาสมุทรเป็นกรดมากขึ้นเกิดจากมลภาวะบนบก เช่น การใช้สารเคมีทางการเกษตร ส่วนมลภาวะทางทะเล เช่น การทำประมงเกินขนาด หรือการทำประมงแบบทำลายล้าง
ข้อมูลอ้างอิง https://www.unep.org/resources/status-coral-reefs-world-2020
Credit Clip International Coral Reef Initiative
วัตถุประสงค์ของ GCRMN คือรายงานสถานะของแนวปะการังของโลกที่อธิบายสถานะและแนวโน้มของแนวปะการังทั่วโลก รายงาน GCRMN Status of Coral Reefs of the World ฉบับที่ 6 เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2008 และเป็นครั้งแรกที่อิงจากการวิเคราะห์เชิงปริมาณของชุดข้อมูลทั่วโลกที่รวบรวมจากข้อมูลการตรวจสอบดิบซึ่งมีสมาชิกมากกว่า 300 รายในเครือข่าย ชุดข้อมูลทั่วโลกครอบคลุมมากกว่า 40 ปีตั้งแต่ปี 1978 ถึง 2019 และประกอบด้วยการสังเกตการณ์เกือบ 2 ล้านครั้งจากไซต์มากกว่า 12,000 แห่งใน 73 ประเทศที่มีแนวปะการังทั่วโลก