xs
xsm
sm
md
lg

เก็บตัวอย่าง “ค้างคาวหน้ายักษ์” หวั่นไวรัสอุบัติใหม่จากสัตว์สู่คน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



กรมอุทยานฯ โดยเขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำค้างคาว-เขาช่องพราน ต.เตาปูน อ.โพธาราม จ.ราชบุรี ลงพื้นที่เก็บตัวอย่าง “ค้างคาวหน้ายักษ์” 50 ตัว ร่วมกับหน่วยงานเกี่ยวข้องทำการสำรวจและวิจัย จุฬาลงกรณ์ฯ ม.เกษตรฯ เพื่อเฝ้าระวังเชื้อไวรัสอุบัติใหม่จากสัตว์สู่คน


เมื่อวานนี้ (17 ต.ค.64) นายสมชาย ปานพวงแก้ว หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำค้างคาว-เขาช่องพราน กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช รายงานว่า ได้ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตามโครงการศึกษาวิจัยการสำรวจและเฝ้าระวังไวรัสอุบัติใหม่จากสัตว์สู่คน ในพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำค้างคาว-เขาช่องพราน และบริเวณใกล้เคียง โดยมีกลุ่มงานจัดการสุขภาพสัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ร่วมภารกิจในครั้งนี้

คณะเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ในช่วงเช้าเพื่อเก็บตัวอย่างค้างคาวเพิ่มเติมอีกจำนวน 50 ตัว (ค้างคาวหน้ายักษ์) จากเลือด น้ำลาย เยี่ยว และมูล ในพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำค้างคาว-เขาช่องพราน ทั้งนี้เพื่อเป็นการเฝ้าระวังโรคอุบัติใหม่ในประเทศไทย โดยวิธีการที่ไม่ทำร้ายสัตว์และปล่อยเป็นอิสระหลังการเก็บตัวอย่าง ซึ่งการดำเนินการในวันนี้เป็นวันที่สาม เมื่อภารกิจเก็บตัวอย่างเสร็จเรียบร้อย จะได้นำตัวอย่างที่เก็บส่งตรวจหาเชื้อไวรัสในห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ต่อไป

สำหรับ ค้าวคาวหน้ายักษ์ หรือ Hipposideros lekaguli เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่กินแมลง จึงมีคุณประโยชน์ต่อภาคการเกษตรของท้องถิ่น แต่ไม่ค่อยพบเห็นทั่วไป มีการกระจายพันธุ์ทางภาคใต้ ภาคตะวันตก และบางส่วนของภาคตะวันออก โดยสถานะภาพปัจจุบันใกล้ถูกคุกคาม NT: Near Treatened (IUCN Red List Ver.2013.2)

ข้อมูลอ้างอิง ประชาสัมพันธ์
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช



กำลังโหลดความคิดเห็น