QS ประกาศผล QS Graduated Employability Rankings 2022 มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดด้านการจ้างงานบัณฑิต เผย 5 มหาวิทยาลัยไทยได้รับการจัดอันดับ “ธรรมศาสตร์” ขึ้นแท่นอันดับ 1 ร่วมกับ “จุฬาฯ” ชี้ 3 ความก้าวหน้าหนุนม.ธรรมศาสตร์คว้าดาว
Quacquarelli Symonds (QS) สถาบันการจัดอันดับมหาวิทยาลัยจากประเทศอังกฤษ ประกาศผลการจัดอันดับ QS Graduated Employability Rankings 2022 อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2564 โดยมีมหาวิทยาลัยมากกว่า 786 มหาวิทยาลัยทั่วโลกเข้าร่วมการจัดอันดับในครั้งนี้
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ติดอยู่ในกลุ่มอันดับที่ 141-150 ดีขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา (อันดับที่ 171-180) และเป็นอันดับที่ 1 ในประเทศไทย ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
QS Top University Ranking ได้เปิดเผยการจัดอันดับในหัวข้อ QS Graduate Employability Rankings 2019 หรือ มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดด้านการจ้างงานบัณฑิต ซึ่งเป็นการสะท้อนผลสำเร็จของสถาบันการศึกษาในการผลิตบัณฑิตที่ดีและมีคุณภาพ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้จ้างงาน
โดยมีเกณฑ์การจัดอันดับประกอบไปด้วย 5 ตัวชี้วัด ประกอบด้วย
1 ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยจากผู้จ้างงาน Employer reputation (30%)
2 ความสำเร็จของศิษย์เก่า Alumni outcomes (25%)
3 ความร่วมมือกับองค์กรภายนอกของแต่ละคณะ Partnerships with Employers per Faculty (25%)
4 บทบาทและความร่วมมือกับภาคธุรกิจ Employer/Student Connections (10%)
5 อัตราการจ้างงานบัณฑิต Graduate employment rate (10%)
ในปี 2022 มี มหาวิทยาลัยไทยได้รับการจัดอันดับ เป็นจำนวนทั้งสิ้น 5 สถาบัน ได้แก่
อันดับที่ 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อันดับที่ 2 มหาวิทยาลัยมหิดล
อันดับที่ 3 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สำหรับสิ่งที่ทำให้ “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” ได้รับการจัดอันดับเป็น “มหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของประเทศไทย” และ”อันดับ 3 ของอาเซียน” คือความก้าวหน้าใน 3 ด้านสำคัญ สะท้อนผ่านคะแนนที่ได้รับเพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมาก ได้แก่
1. ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยจากผู้จ้างงาน คะแนนเพิ่มขึ้นจาก 23.1 ในปี 2020 เป็น 29.1 ในปี 2022
2. ความสำเร็จของศิษย์เก่า คะแนนเพิ่มขึ้นจาก 75.7 ในปี 2020 เป็น 81 ในปี 2022
3. ความร่วมมือของมหาวิทยาลัยกับนายจ้าง คะแนนเพิ่มขึ้นจาก 9.5 ในปี 2020 เป็น 19.2 ในปี 2022
หากเปรียบเทียบผลการจัดอันดับย้อนหลังกลับไป 3 ปี จะพบว่า ม.ธรรมศาสตร์ได้รับคะแนนดีขึ้นในทุกมิติ สะท้อนถึงคุณภาพของมหาวิทยาลัยในด้านวิชาการ ซึ่งไม่เพียงแต่วิชาการดีเลิศหากแต่ยังให้ความสำคัญกับรับใช้สังคมและประชาชน โดยเฉพาะในสถานการณ์โควิด-19 ในปีหน้า คาดว่าจะได้รับการจัดอันดับในตำแหน่งที่ดีขึ้นอีก ซึ่งหมายถึงชื่อเสียงและการยอมรับของประเทศไทยในเวทีโลก