xs
xsm
sm
md
lg

‘แองเกลา แมร์เคิล’ โลกสีเขียวใบนี้ต้องจดจำเธอ "𝐂𝐥𝐢𝐦𝐚𝐭𝐞 𝐂𝐡𝐚𝐧𝐜𝐞𝐥𝐥𝐨𝐫"

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


อดีตนายกรัฐมนตรีเยอรมัน Angela Merkel  เมื่อครั้งที่โยนบัตรลงคะแนนของเธอลงในกล่องลงคะแนนในระหว่างการร่างกฎหมายเกี่ยวกับสภาพอากาศ เดือนธันวาคม 2019 เครดิต: Fabian Sommer / Getty Images
แองเกลา แมร์เคิล (Angela Merkel) หลังดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเยอรมนีมายาวนานถึง 16 ปี นั่งกุมบังเหียนพญาอินทรีเหล็กจนครบวาระที่ 4 ด้วยวัย 67 ปี

เธอนับว่าเป็นสตรีแถวหน้าที่ชาวโลกต้องจดจำ โดยเฉพาะในบทบาทสำคัญของผู้นำประเทศ จนถูกเรียกขานอีกชื่อหนึ่งว่า "𝐂𝐥𝐢𝐦𝐚𝐭𝐞 𝐂𝐡𝐚𝐧𝐜𝐞𝐥𝐥𝐨𝐫" ซึ่งมาจากความมุ่งมั่นและทุ่มเทอย่างยาวนานในเวทีนานาชาติ เกี่ยวกับการลดก๊าซเรือนกระจก เพื่อลดภาวะโลกร้อน

ถ้ายังจดจำกันได้ การตัดสินใจครั้งใหญ่ของ Merkel เมื่อปี 2011 หลังเกิดแผ่นดินไหว สึนามิ และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิดในญี่ปุ่น ส่งผลให้ไม่กี่วันหลังจากโศกนาฏกรรมนี้ ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดของยุโรปอย่างเยอรมนี ตัดสินใจปิดเตาปฏิกรณ์ที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศทันที พร้อมประกาศปิดเตาปฏิกรณ์ที่เหลืออยู่ในภายในปี 2022 รวมถึงได้เริ่มยุติการผลิตถ่านหินและการขุดเจาะหาเชื้อเพลงเก่าแก่ประเภทนี้ภายในปี 2048

โดยหนึ่งปีก่อนเกิดภัยพิบัติครั้งนั้น พลังงานนิวเคลียร์คิดเป็นกว่า 1 ใน 5 ของการผลิตไฟฟ้าในเยอรมนี ขณะที่พลังงานหมุนเวียนคิดเป็นสัดส่วนเพียง 17% เท่านั้น แต่มาถึงปีที่แล้ว (2020) พลังงานหมุนเวียนถือเป็นแหล่งพลังงานที่ใหญ่ที่สุดของเยอรมนีด้วยสัดส่วนสูงถึง 45% ในขณะที่พลังงานนิวเคลียร์ถูกลดสัดส่วนลงจนเหลือเพียง 11% เท่านั้น

ซึ่งสะท้อนถึงการขยายตัวอย่างมหาศาลของพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมที่ทำให้เยอรมนีเป็นอันดับที่ 5 ของโลกในด้านกำลังการผลิตพลังงานหมุนเวียน และในอนาคตต คาดว่าสัดส่วนของพลังงานหมุนเวียนของเยอรมนีจะแตะ 65% ภายในปี 2030


"𝐂𝐥𝐢𝐦𝐚𝐭𝐞 𝐂𝐡𝐚𝐧𝐜𝐞𝐥𝐥𝐨𝐫" สำหรับความทุ่มเทอย่างยาวนานของ Angela Merkel ในเวทีนานาชาติ เกี่ยวกับการลดก๊าซเรือนกระจก ก่อนถึงเวลาสิ้นสุดการดำรงตำแหน่ง Merkel ได้ปรับร่นระยะเวลาของประเทศที่จะบรรลุเป้าหมาย Climate Neutrality เข้ามาเป็นภายในปี 2045 และนี่คือเรื่องราวของหญิงแกร่งคนนี้ ที่นิตยสาร Time เคยยกย่องว่าเป็น 1 ในบุคคลที่มีอิทธิพลต่อโลก

𝟏𝟗𝟓𝟒-𝟏𝟗𝟖𝟗 𝐌𝐞𝐫𝐤𝐞𝐥 𝐭𝐡𝐞 𝐬𝐜𝐢𝐞𝐧𝐭𝐢𝐬𝐭

Merkel เติบโตในเยอรมันตะวันออก เป็นบุตรสาวของบาทหลวงนิกาย Protestant เธอเข้าศึกษาในสาขาวิชาฟิสิกส์ที่ University of Leipzig จากนั้นเธอทำงานเป็นนักวิจัยที่ Central Institute for Physical Chemistry แห่ง the Academy of Sciences ในกรุง Berlin เธอได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิต ในปี 1986 และเข้าสู่สายงานการเมืองเมื่อเกิดการล่มสลายของกำแพงเบอร์ลินในปี 1989 เธอเติบโตในทางการเมืองในพรรค Christian Democratic Union (CDU) ที่มีแนวคิดขวากลาง ภายใต้การนำของ Chancellor Helmut Kohl

𝟏𝟗𝟗𝟒-𝟏𝟗𝟗𝟖 𝐄𝐧𝐯𝐢𝐫𝐨𝐧𝐦𝐞𝐧𝐭 𝐌𝐢𝐧𝐢𝐬𝐭𝐞𝐫

Merkel เข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีด้านสิ่งแวดล้อม ในปี 1995 เธอเป็นประธาณการประชุมชาติภาคีสมาชิกสหประชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งแรก หรือ COP1 ซึ่งจัดขึ้นที่กรุง Berlin ทำให้เยอรมนีก้าวขึ้นเป็นชาติแถวหน้าในความเคลื่อนไหวด้านการลดการปล่อย CO2

“𝑮𝒓𝒆𝒆𝒏𝒉𝒐𝒖𝒔𝒆 𝒈𝒂𝒔 𝒆𝒎𝒊𝒔𝒔𝒊𝒐𝒏𝒔 𝒅𝒐 𝒏𝒐𝒕 𝒐𝒏𝒍𝒚 𝒉𝒂𝒗𝒆 𝒕𝒐 𝒃𝒆 𝒔𝒕𝒂𝒃𝒊𝒍𝒊𝒔𝒆𝒅, 𝒃𝒖𝒕 𝒉𝒂𝒗𝒆 𝒕𝒐 𝒃𝒆 𝒓𝒆𝒅𝒖𝒄𝒆𝒅 𝒂𝒔 𝒒𝒖𝒊𝒄𝒌𝒍𝒚 𝒂𝒔 𝒑𝒐𝒔𝒔𝒊𝒃𝒍𝒆,”

Merkel ได้เขียนลงใน the Frankfurter Allgemeine Sonntagszeitung ก่อนการประชุมเริ่มขึ้น และในปี 1997 เธอเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนการเจรจาของเยอรมนี เข้าร่วมในการประชุม ที่เป็นจุดกำเนิดของ Kyoto Protocol ซึ่งเป็นพิธีสารแรกที่ผูกพันนานาประเทศเข้าสู่การดำเนินการเพื่อการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

𝟐𝟎𝟎𝟓-𝟐𝟎𝟎𝟕 𝐓𝐡𝐞 𝐦𝐚𝐤𝐢𝐧𝐠 𝐨𝐟 𝐭𝐡𝐞 “𝐂𝐥𝐢𝐦𝐚𝐭𝐞 𝐂𝐡𝐚𝐧𝐜𝐞𝐥𝐥𝐨𝐫”

Merkel ได้รับเลือกเข้าดำรงตำแหน่ง Chancellor ในปี 2005 ในฐานะผู้นำพรรค CDU ซึ่งชนะในการเลือกตั้งทั่วไป ต่อพรรคการเมืองคู่แข่งที่มีจุดยืนเป็นฝ่ายซ้ายอย่าง Social Democratic Party (SPD) ต่อมาในปี 2007 ในการประชุม World Economic Summit ของกลุ่มประเทศ G8 เธอได้ให้สัมภาษณ์ว่า “I have been fighting for climate action for over ten years now and I consider it to be a tough struggle,” และในการประชุมผู้นำกลุ่มประเทศ G8 เธอได้พยายามโน้มน้าวให้ผู้นำยอมรับในรายงานทางวิทยาศาสตร์จาก IPCC ถึงความจำเป็นในพันธกรณีสำหรับเป้าหมายการลด CO2 รวมถึงการที่เธอนำสหภาพยุโรปให้ยอมรับเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก สื่อมวลชนเยอรมนี จึงได้ตั้งฉายาให้เธอว่า “𝐊𝐥𝐢𝐦𝐚𝐤𝐚𝐧𝐳𝐥𝐞𝐫𝐢𝐧” หรือ 𝐂𝐥𝐢𝐦𝐚𝐭𝐞 𝐂𝐡𝐚𝐧𝐜𝐞𝐥𝐥𝐨𝐫

𝟐𝟎𝟎𝟗 𝐃𝐞𝐟𝐞𝐚𝐭 𝐢𝐧 𝐂𝐨𝐩𝐞𝐧𝐡𝐚𝐠𝐞𝐧

Merkel ได้ยอมรับความพ่ายแพ้ในการผลักดันเป้าหมายในการประชุม UN Climate Conference ที่ Copenhagen เธอได้พยายามชักจูงให้นานาประเทศยอมรับเป้าหมายการลด CO2 ลงที่ 25% ภายในปี 2020

24 ชั่วโมงการสิ้นสุดการประชุม Merkel ได้ปรากฏตัวขึ้นและได้กล่าวท่ามกลางผู้นำจากนานาชาติว่า “𝑰𝒇 𝒘𝒆 𝒈𝒐 𝒉𝒐𝒎𝒆 𝒂𝒏𝒅 𝒉𝒂𝒗𝒆 𝒕𝒐 𝒆𝒙𝒑𝒍𝒂𝒊𝒏 𝒘𝒉𝒚 𝒘𝒆 𝒉𝒂𝒗𝒆𝒏’𝒕 𝒂𝒄𝒄𝒐𝒎𝒑𝒍𝒊𝒔𝒉𝒆𝒅 𝒂𝒏𝒚𝒕𝒉𝒊𝒏𝒈, 𝒕𝒉𝒊𝒔 𝒘𝒊𝒍𝒍 𝒃𝒆 𝒈𝒐𝒐𝒅 𝒇𝒐𝒓 𝒕𝒉𝒐𝒔𝒆 𝒘𝒉𝒐 𝒅𝒐𝒏’𝒕 𝒘𝒂𝒏𝒕 𝒕𝒐 𝒇𝒊𝒈𝒉𝒕 𝒄𝒍𝒊𝒎𝒂𝒕𝒆 𝒄𝒉𝒂𝒏𝒈𝒆, 𝒘𝒉𝒐 𝒅𝒐𝒏’𝒕 𝒘𝒂𝒏𝒕 𝒕𝒐 𝒇𝒊𝒈𝒉𝒕 𝒑𝒐𝒗𝒆𝒓𝒕𝒚, 𝒂𝒏𝒅 𝒘𝒉𝒐 𝒅𝒐𝒏’𝒕 𝒘𝒂𝒏𝒕 𝒕𝒐 𝒄𝒉𝒂𝒏𝒈𝒆 𝒕𝒉𝒆𝒊𝒓 𝒍𝒊𝒗𝒆𝒔. 𝑻𝒉𝒂𝒕 𝒘𝒐𝒖𝒍𝒅 𝒃𝒆 𝒂 𝒕𝒆𝒓𝒓𝒊𝒃𝒍𝒆 𝒔𝒊𝒈𝒏𝒂𝒍 𝒕𝒐 𝒂𝒍𝒍 𝒘𝒉𝒐 𝒘𝒂𝒏𝒕 𝒕𝒐 𝒔𝒆𝒄𝒖𝒓𝒆 𝒂 𝒈𝒐𝒐𝒅 𝒇𝒖𝒕𝒖𝒓𝒆 𝒇𝒐𝒓 𝒕𝒉𝒆 𝒘𝒐𝒓𝒍𝒅 𝒊𝒏 𝒕𝒉𝒆 𝟐𝟏𝒔𝒕 𝒄𝒆𝒏𝒕𝒖𝒓𝒚.”

แต่ในที่สุดในการประชุมครั้งนั้น นานาชาติไม่สามารถบรรลุข้อตกลงร่วมกันถึงเป้าหมายการจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกในศตวรรษนี้ไว้ที่ 2°C Merkel ได้กล่าวถึงการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งต้องได้รับความร่วมมือจากทั่วโลกว่า "𝑊𝑒 𝑎𝑙𝑙 𝑛𝑒𝑒𝑑 𝑡𝑜 ℎ𝑒𝑙𝑝 𝑒𝑎𝑐ℎ 𝑜𝑡ℎ𝑒𝑟, 𝑎𝑛𝑑 𝑤𝑒 𝑎𝑙𝑙 ℎ𝑎𝑣𝑒 𝑡𝑜 𝑏𝑒 𝑤𝑖𝑙𝑙𝑖𝑛𝑔 𝑡𝑜 𝑐ℎ𝑎𝑛𝑔𝑒 𝑡ℎ𝑒 𝑤𝑎𝑦 𝑤𝑒 𝑙𝑖𝑣𝑒."

𝟐𝟎𝟏𝟏 𝐅𝐮𝐤𝐮𝐬𝐡𝐢𝐦𝐚 𝐭𝐮𝐫𝐧𝐬 𝐌𝐞𝐫𝐤𝐞𝐥 𝐚𝐠𝐚𝐢𝐧𝐬𝐭 𝐧𝐮𝐜𝐥𝐞𝐚𝐫

ไม่กี่เดือนหลังจากการตัดสินใจต่อเวลาการเดินระบบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ออกไป เหตุการณ์ภัยพิบัติของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Fukushima ผลักดันใน Merkel ติดสินใจ u-turns นับเป็นประวัติการณ์ในการเมืองของเยอรมนี ซึ่งภายในวันที่เกิดเหตุกับโรงไฟฟ้าของญี่ปุ่น เธอได้มีแถลงการณ์ที่จะหยุดการพึ่งพาเทคโนโลยีนี้ และกฏหมายที่จะปิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทุกแห่งผ่านด้วยเสียงส่วนใหญ่ของสภาในปี 2022 โดย Merkel ได้กล่าวต่อสภาว่า "Fukushima changed my attitude towards nuclear energy" จากเหตุการณ์ส่งผลให้หลายประเทศมีแนวคิดที่จะลดการพึ่งพาพลังงานนิวเคลียร์ และเป็นจุดเริ่มที่แท้จริงของ “𝐄𝐧𝐞𝐫𝐠𝐢𝐞𝐰𝐞𝐧𝐝𝐞” - 𝐄𝐧𝐞𝐫𝐠𝐲 𝐓𝐫𝐚𝐧𝐬𝐢𝐭𝐢𝐨𝐧


อดีตผู้นำประเทศเยอรมนี เป็นคนสำคัญที่อยู่เบื้องหลังการผลักดันเป้าหมายในการเจรจาของการประชุมประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตั้งแต่ครั้งแรก COP1 เมื่อปี 1995 จนถึง COP26 ในปีนี้

ข้อมูลอ้างอิง
https://www.cleanenergywire.org/.../making-climate...

https://insideclimatenews.org/news/31122020/germany-angela-merkel-clean-energy-transition/


กำลังโหลดความคิดเห็น