xs
xsm
sm
md
lg

กัมพูชาปลื้ม! พบลูกจระเข้สยามหายาก 8 ตัว ครั้งแรกในรอบกว่าสิบปี

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์




บันทึกการเพาะพันธุ์จระเข้สยามที่หายากที่สุดในเขตเซรย์ปก ครั้งแรกในปี 2564 ? Ien Khve / WWF-กัมพูชา
ทีมวิจัยของกระทรวงสิ่งแวดล้อมกัมพูชา (MoE) และกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF) ร่วมเปิดเผยถึงการค้นพบลูกจระเข้พันธุ์สยาม หรือ Siamese Crocodile (Crocodylus siamensis) ที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง จำนวน 8 ตัว ในจังหวัดมณฑลคีรี (Mondulkiri) ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศกัมพูชา เมื่อวันที่ 21 กันยายนที่ผ่านมา

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อม Say Samal กล่าวว่าการค้นพบนี้ตอกย้ำถึงความสำคัญของพื้นที่รกร้างว่างเปล่าเซรย์ปก ( Srepok) ว่าเป็นฮอตสปอตระดับโลกที่มีศักยภาพสูงในการย้อนกลับการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและเพื่อการฟื้นฟูสัตว์ป่าที่มีความสำคัญระดับโลก

“ข่าวที่น่าตื่นเต้นนี้ยังแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของราชอาณาจักรกัมพูชาสำหรับการอนุรักษ์จระเข้ที่หายากนี้อย่างยิ่งและสายพันธุ์ที่สำคัญอื่นๆ” เขากล่าว “กัมพูชาเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ เป็นตัวแทนของความภาคภูมิใจของชาติอย่างแท้จริงสำหรับชาวกัมพูชาทุกคน”

เขากล่าวว่ากระทรวงสิ่งแวดล้อมพร้อมที่จะทำงานร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชนระหว่างประเทศ กลุ่มชุมชน และพันธมิตรอื่น ๆ เพื่อปกป้องและรักษาป่าธรรมชาติและมรดกสัตว์ป่าของกัมพูชาเพื่อประโยชน์ทางสังคมและเศรษฐกิจในระยะยาวของคนรุ่นปัจจุบันและอนาคต

การค้นพบนี้ถือเป็นหลักฐานการถ่ายภาพครั้งแรกของประชากรจระเข้สยามหลังจากความพยายามในการวิจัยกว่าทศวรรษในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเซรย์ปก ซึ่งเป็นพื้นที่คุ้มครองที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ราบทางทิศตะวันออก

นักวิจัยดำเนินการติดตามภาคสนามเป็นประจำ และสำรวจแหล่งที่อยู่อาศัยของจระเข้ในเวลากลางคืนเพื่อสังเกตจระเข้สยาม ? Ien Khve / WWF-กัมพูชา
Sothea Bun หนึ่งในทีมนักวิจัยจาก WWF เล่าให้ฟังถึงการลงพื้นที่ครั้งล่าสุดนี้ว่า “พวกเราออกสำรวจเป็นประจำอยู่แล้ว โดยครั้งนี้ พวกเราใช้เวลา 4 วันเพื่อสำรวจแหล่งที่อยู่อาศัยของจระเข้น้ำจืด เราทำงานกันตั้งแต่หนึ่งทุ่ม จนถึงตีสอง ระหว่างที่พวกเรากำลังลุยอยู่นั้น ก็มีสมาชิกทีมเหลือบไปเห็นลูกจระเข้ที่เพิ่งฟักออกมา ตอนนั้นเหมือนช่วงเวลาต้องมนต์”

จระเข้สยามน้ำจืดถูกจัดให้เป็นสัตว์กล้สูญพันธุ์อย่างยิ่งในบัญชีแดงสหภาพระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN Red List) พวกมันเคยอาศัยอยู่อย่างแพร่หลายทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก่อนจะค่อย ๆ ลดจำนวนลง และทยอยหายไป

การค้นพบครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการจัดทำงานวิจัยจระเข้สยามน้ำจืด นำโดยกระทรวงสิ่งแวดล้อมของประเทศกัมพูชา ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (GEF) และโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) รวมถึงเงินสนับสนุนเพิ่มเติมจาก WWF เบลเยียม

ปัจจุบัน ลูกจระเข้ทั้งหมด 8 ตัว ปลอดภัยดี และอยู่ภายใต้การคุ้มครองอย่างเข้มงวดของเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเซรย์ปก (Srepok Wildlife Sanctuary)

ข้อมูลอ้างอิง

https://www.globaltimes.cn/page/202109/1234796.shtml
#WWFThailand

https://bit.ly/3lOT490


กำลังโหลดความคิดเห็น