xs
xsm
sm
md
lg

ฝนพันปี! ตกหนัก-น้ำท่วมขยายวงกว้าง! กรีนพีซ ชี้สัญญาณวิกฤตสภาพภูมิอากาศโลกยกระดับรุนแรง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



สภาพฝนที่ตกหนักและน้ำท่วมครั้งใหญ่ทางตอนกลางของมณฑลเหอหนานในจีน ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก เมืองเจิ้งโจวได้รับความเสียหายหนัก

นับเป็นเหตุการณ์ฝนตกหนักที่เหอหนานครั้งหนักที่สุดในรอบ 1,000 ปี รวมทั้งมีรายงานข่าวอีกว่าตรวจพบรอยร้าวที่เขื่อนซึ่งเสี่ยงต่อการพังทลาย 

ก่อนหน้านี้ยังมีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นในหลายแห่งทั่วโลก เช่น ออสเตรีย เบลเยี่ยม เยอรมนี ลักแซมเบิร์ก อินเดีย จีน และล่าสุด คือจังหวัดชุมพร ของประเทศไทย ที่ได้รับผลกระทบ




Credit Clip DW News

ดร.หลิว จวินเอี๋ยน หัวหน้าโครงการสภาพภูมิอากาศและพลังงาน กรีนพีซเอเชียตะวันออก กล่าวว่า ความเสี่ยงและความไม่แน่นอนได้กลายเป็นคุณลักษณะใหม่ของแบบแผนสภาพอากาศ ดังที่เรารู้กันว่าเมื่ออุณหภูมิผิวโลกร้อนขึ้นทำให้สภาพอากาศแปรปรวนและรุนแรงถึงชีวิตมากขึ้น

“รัฐบาลท้องถิ่นต้องรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างเร่งด่วน และจะต้องมีความกล้าหาญที่จะต่อสู้และกอบกู้วิกฤตสภาพภูมิอากาศด้วย ซึ่งหากเราไม่ทำอะไรเลยก็จะเกิดวิกฤตกว่าเดิมในอนาคต ซึ่งสร้างหายนะเหมือนกับเหตุการณ์นี้ ซึ่งในภาพรวมเรายังมีความเข้าใจถึงวิกฤตสภาพภูมิอากาศ เหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว และความเสี่ยงของปรากฎการณ์ดังกล่าวไม่เพียงพอ”

ประเทศไทยเองก็ได้รับผลกระทบจากพายุโซนร้อน เจิมปากา ที่พัดถล่มตำบลพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร ฝนที่ตกหนักและน้ำป่าไหลหลาก ชุมชนต้องอพยพหนีออกจากพื้นที่ สร้างความเสียหายต่อบ้านเรือน ทรัพย์สินและสวนผลไม้ของชุมชน

พายุหมุนเขตร้อนที่มีกำลังแรงมากขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นสัญญาณเตือนที่เด่นชัดถึงวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่เรากำลังเผชิญ สิ่งที่น่ากังวลคือเรากำลังจะเจอปัญหาเรื่อง “ความเป็นธรรมด้านสภาพภูมิอากาศ”มากขึ้น เราจะเห็นว่ากลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศที่แปรปรวนอย่างรุนแรงนี้คือกลุ่มผู้มีรายได้น้อย กลุ่มชายขอบ ซึ่งเป็นกลุ่มที่เข้าถึงทรัพยากรในการเอาตัวรอดจากวิกฤตดังกล่าวได้น้อยกว่ากลุ่มผู้มีรายได้สูงที่เข้าถึงทรัพยากรได้มากกว่า

คำประกาศว่าด้วยภาวะฉุกเฉินด้านสภาพภูมิอากาศ (climate emergency declaration) เป็นกลยุทธเชิงนโยบายที่รัฐบาลหลายประเทศทั่วโลกและชุมชนวิทยาศาสตร์นำมาใช้เพื่อรับรู้ร่วมกันว่ามนุษยชาติกำลังเผชิญกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ คำประกาศแรกมีขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ.2559 จนถึงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563 รัฐบาลท้องถิ่นมากกว่า 1,400 แห่งใน 28 ประเทศทั่วโลกได้ประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสภาพภูมิอากาศขึ้น

อ่านเพิ่มเติม “ถึงเวลาประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสภาพภูมิอากาศ”
>>https://www.greenpeace.org/thailand/story/11430/climate-emergency-annoucnment/

ข้อมูลอ้างอิง Greenpeace Thailand


กำลังโหลดความคิดเห็น