ทุกวันนี้ ในประเทศไทยยังพบการกระจายตัวของสมเสร็จอยู่ในพื้นที่ต่างๆ หลายแห่ง ทั้งในผืนป่าตะวันตก เช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง (ใช้รูปสมเสร็จเป็นสัญลักษณ์ของเขตรักษาพันธุ์ฯ) ในส่วนทางภาคใต้นั้นเคยมีงานวิจัยระบุการแพร่กระจายประชากร ของสมเสร็จอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสงและฮาลา-บาลา
สมเสร็จใช้พื้นที่อาศัยหลายรูปแบบ ได้แก่ ป่าดงดิบ ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ทุ่งหญ้า ป่าปลูก ป่าพื้นพูตามธรรมชาติและป่าเสื่อมโทรม ซึ่งจากการสำรวจพบว่า ค่าความถี่ในการพบ ร่องรอยของสมเสร็จของเส้นสํารวจที่อยู่ในพื้นที่ป่าดงดิบในภาคตะวันตกและภาคใต้จะมีค่าสูงสุด (ค่า RA)
เมื่อวานนี้ (27 เมษายน 2564) เป็นวันสมเสร็จโลกซึ่งตรงกับวันที่ 27 เมษายนของทุกปี มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักถึงปัญหาปริมาณที่ลดลงของสมเสร็จจากการรุกรานของมนุษย์ซึ่งถือว่าเป็นศัตรูหมายเลขหนึ่งเช่นเดียวกับสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครองอีกหลายชนิด
สมเสร็จ หรือ ผสมเสร็จ (Tapir) ถือเป็นสัตว์ดึกดำบรรพ์ชนิดหนึ่ง มีสายเลือดใกล้เคียงม้าและแรด ถือเป็น 1 ในสัตว์ป่าสงวนของไทย จากทั้งหมด 19 ชนิด ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562 โดยในประเทศไทยจะพบสมเสร็จสายพันธุ์มาลายู (Tapirus indicus) ซึ่งมีถิ่นกระจายพันธุ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทย มาเลเซีย และเกาะสุมาตรา
สมเสร็จเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ในอันดับ Perissodactyla หรืออันดับของสัตว์กีบเดี่ยว อยู่ในกลุ่มเดียวกับม้า แรด และกระซู่ ลักษณะรูปร่างของสมเสร็จมีส่วนคล้ายสัตว์หลายชนิดผสมอยู่ในตัวเดียวกัน โดยมีรูปร่างใหญ่ ขาสั้น และตีนมีกีบเหมือนแรด หูตั้งและตาเล็กเหมือนหมู หางสั้นเหมือนหมี จมูกและริมฝีปากบนยื่นออกมาคล้ายงวงช้างยืดและหดได้ สามารถใช้หักกิ่งไม้และพ่นน้ำได้ สีขนบนลําตัวที่ตัดกันระหว่างสีขาวที่ท้องและสีดําที่ส่วนหัวและท้ายลําตัว ทําให้สมเสร็จกลมกลืนไปกับสภาพแวดล้อม ทำให้ศัตรูโดยธรรมชาติอย่างเสือโคร่งสังเกตเห็นได้ยาก นอกจากนั้นสมเสร็จเป็นสัตว์ที่มีระบบสายตาที่ไม่ดี แต่มีระบบประสาทรับฟังทางหูและดมกลิ่นดีเยี่ยม แถมยังดำน้ำเก่ง ปกติเป็นสัตว์ที่มีอุปนิสัยเรียบร้อย ไม่ก้าวร้าว
สมเสร็จถูกจัดอยู่ในกลุ่มของสัตว์ป่าที่มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ (Vulnerable) ใน IUCN Red List of Threatened Species (2014) เนื่องมีอัตราการสืบพันธุ์ต่ำ โดยออกลูกครั้งละ 1 ตัว นอกจากนั้น ยังมีสาเหตุเนื่องจากถิ่นที่อยู่อาศัยลดน้อยลง การล่าจากมนุษย์ (ไม่นิยมล่าเพื่อการบริโภค แต่อาจมีการล่าเพื่อไปเป็นสัตว์โชว์ในสวนสัตว์) การตายจากกับดักที่ไว้ใช้ดักสัตว์ชนิดอื่น เป็นต้น
กล้องถ่ายภาพอัตโนมัติ จับภาพครอบครัวสมเสร็จในผืนป่า
อุทยานแห่งชาติกุยบุรี เมื่อปี 2015 อีกหลักฐานหนึ่งที่บอกว่ายังมีสมเสร็จอาศัยอยู่ในผืนป่าไทย
เครดิตคลิป wwfthailandchannel