xs
xsm
sm
md
lg

Gojek ลงนามในสัญญา “No Manel Pledge” ของ UN หยุดการอภิปรายแบบชายล้วน เสริมสร้างความเสมอภาคทางเพศ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



Gojek (โกเจ็ก) แพลตฟอร์มชั้นนำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่นำเสนอหลากหลายบริการแบบออนดีมานด์ ได้ร่วมลงนามในสัญญา “No Manel Pledge” ขององค์การสหประชาชาติ (United Nations: UN) เพื่อยกเลิกการงานและเวทีต่างๆ แบบชายล้วน

นับเป็นการแสดงถึงความมุ่งมั่นของบริษัทฯ ในด้าน Diversity และ Inclusivity หรือการสนับสนุนความเสมอภาคทางเพศ และการมีส่วนร่วมของทุกเพศสภาพอย่างทั่วถึง ซึ่งจะเป็นหลักการที่ยึดถือในการดำเนินธุรกิจของ Gojek ทุกประเทศทั่วโลก

เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสำคัญของสัญญานี้ งานสปีคกิ้งอีเว้นท์ต่างๆ ที่ Gojek จัดขึ้น จึงมีการเชิญผู้เชี่ยวชาญและโฆษกหญิงเข้าร่วมอภิปรายด้วยเสมอ และบริษัทฯ จะเดินหน้าสานความร่วมมือกับผู้จัดงานอื่นๆ นอกองค์กร เพื่อช่วยส่งเสริมความหลากหลายทางเพศในเวทีต่างๆ

ทานาห์ ซัลลิแวน
ทานาห์ ซัลลิแวน ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาความยั่งยืน ของ Gojek กล่าวว่า “Gojek เชื่อมั่นในพลังแห่งความหลากหลาย เรามุ่งมั่นที่จะสร้างพื้นที่ซึ่งปลอดภัยและเข้าถึงได้ เพื่อที่ทุกคนจะได้เป็นตัวของตัวเอง รู้สึกมีคุณค่า มีส่วนร่วม และได้รับการสนับสนุนจากเรา ภายใต้สัญญานี้ เรามีความมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนความเสมอภาคทางเพศทั้งภายในองค์กรนอกองค์กร โดยการยกเลิกการอภิปรายแบบชายล้วนในอีเว้นท์ต่างๆ ของ Gojek ซึ่งถูกรวมเป็นนโยบายของ Gojek ในทุกธุรกิจทั่วโลก”

“No Manel Pledge” เริ่มขึ้นเมื่อช่วงต้นปี 2564 โดย วาลารี จูล์เลียน์ด ผู้ประสานงานองค์การสหประชาชาติประจำอินโดนีเซีย ได้เชิญภาคเอกชนให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของแผนการริเริ่มในการยกระดับความเสมอภาคทางเพศและการมีส่วนร่วมของทุกเพศสภาพ

วาลารี จูล์เลียน์ดกล่าวว่า “นอกจากการอภิปรายแบบชายล้วนจะไม่แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายในโลกที่เราอาศัยอยู่แล้ว ยังทำให้เราพลาดโอกาสที่จะสัมผัสกับมุมมองเชิงองค์รวมอันสร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ในหัวข้ออภิปรายต่างๆ ถือเป็นการกีดกันทางเพศซึ่งจะยิ่งส่งเสริมทัศนคติแบบเหมารวมเชิงเพศที่ว่า ผู้ชายเป็นใหญ่หรือมีความเชี่ยวชาญมากกว่า แม้ว่าในความเป็นจริงจะมีผู้หญิงที่มีคุณสมบัติพอๆ กันหรืออาจจะมากกว่าด้วยซ้ำ และยังมีมุมมองหรือความเห็นในด้านอื่นที่เป็นประโยชน์”

“การอภิปรายแบบชายล้วนหลายครั้งถือเป็นเรื่องธรรมดาที่ไม่มีใครสงสัยติดใจอะไร การที่ไม่มีผู้หญิงเป็นส่วนร่วมจึงกลายเป็นเรื่องปกติ ซึ่งทำให้นโยบายสาธารณะต่างๆ ขาดมุมมองล้ำค่า ความเชี่ยวชาญ และเสียงของเพศหญิงไปโดยปริยาย” Jamshed M. Kazi ผู้แทนองการ์เพื่อสตรีประจำอินโดนีเซียและผู้ประสานงานประจำภูมิภาคอาเซียนแห่งสหประชาชาติ กล่าวว่า “เราขอขอบคุณ Gojek เป็นอย่างมากที่เข้าร่วมสัญญา ‘No Manel Pledge’ พร้อมๆ กับพาร์ทเนอร์ทั้งในและต่างประเทศของเราในปีนี้”

ความเสมอภาคทางเพศมีส่วนช่วยในความก้าวหน้าของเศรษฐกิจและการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นอย่างมาก ผลการวิจัยเผยว่าระบบเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะได้รับเงินเพิ่ม 4.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2025 หากความเท่าเทียมแก่ผู้หญิงได้รับการส่งเสริม โดยที่ผ่านมา Gojek ได้สนับสนุนความเสมอภาคและความหลากหลายทางเพศภายในริษัทฯ อย่างต่อเนื่องด้วยความมุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์สังคม และเมื่อเร็วๆนี้ Gojek ได้ก่อตั้งกลุ่ม “Women@Gojek” เพื่อช่วยพัฒนาศักยภาพของพนักงานที่เป็นผู้หญิง ผ่านการให้คำปรึกษา การร่วมมือ และการอภิปราย อีกทั้งเป็นการเสริมสร้างความตระหนักและการมีส่วนร่วมในที่ทำงานไปในตัว

นอกจากการดำเนินงานภายในองค์กรแล้ว Gojek ยังเป็นบริษัทแรกที่สร้างวัฒนธรรมด้านความปลอดภัยของสตรีในพื้นที่สาธารณะ ผ่านโครงการ #AmanBersamaGojek (ปลอดภัยเมื่อใช้ Gojek) ซึ่งโครงการริเริ่มนี้ได้รับการรับรองในระดับชาติและระดับภูมิภาคด้วยรางวัล UN Women Asia Pacific Women’s Empowerment Principle Awards 2020 ซึ่งก่อนหน้านี้ Gojek ได้จับมือกับ UN ในการยกระดับความสามารถของผู้บริหารหญิงในอินโดนีเซียผ่านโปรแกรม “Gojek Wirausaha” ซึ่งช่วยฝึกฝนทักษะในการทำธุรกิจดิจิทัล โดยการฝึกฝนนี้จะทำผ่านแพลตฟอร์มของ UN ที่ชื่อว่า “WeLearn”