xs
xsm
sm
md
lg

กระทิงหนุ่มติดพันวัวสาวชาวบ้าน! ใกล้แนวเขตอุทยานแห่งชาติเขาสก เพราะเหตุใดยังแค่ข้อสันนิษฐาน!

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


กระทิงหนุ่มกลัดมัน มาหลงเสน่ห์วัวสาวชาวบ้าน
วันนี้ (18 เมษายน 2564) เจ้าหน้าที่ อช.เขาสก ร่วมกับ ขสป. และสถานีวิจัย ฯ คลองแสง พร้อมด้วยผู้ใหญ่บ้าน ร่วมวางแผนและสร้างความเข้าใจแก่ชาวบ้านเพื่อความปลอดภัยของสัตว์ป่าเท่านั้น ส่วนสาเหตุที่แท้จริงว่าเพราะเหตุใดนั้นยังเป็นเพียงการคาดการณ์ เช่นเกิดจากกระทิงตัวเมียลดลงเนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง

นายบรรณรักษ์ เสริมทอง ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 4 เปิดเผยว่า จากกรณีกระทิงป่า เพศผู้ อายุประมาณไม่เกิน10 ปี มีลักษณะติดสัด ไม่มีความดุร้าย เข้าติดพันวัวบ้านเพศเมีย ในแปลงสวนปาล์มน้ำมันของนายรัตนชัย สุขอุ่น บ้านช่องม้าเหลียว ต.พังกาญจน์ อ.พนมจ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งอยู่นอกเขตอุทยานแห่งชาติเขาสก ห่างจากเขตอุทยานแห่งชาติเขาสกประมาณ 500 เมตร

ในวันนี้ทางอุทยานแห่งชาติเขาสกได้ร่วมกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสง สถานีวิจัยสัตว์ป่าคลองแสง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 3 บ้านช่องม้าเหลียว และเจ้าของวัว ได้ร่วมกันตรวจสอบและดูพฤติกรรมกระทิงป่า ที่ได้เข้ามาอยู่ร่วมกับวัวบ้านในพื้นที่ของราษฎรและได้หารือร่วมกันวางแผนเพื่อความปลอดภัย

จากการหารือเบื้องต้นได้ข้อสรุปว่า จะมีการจัดกำลังเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเขาสก เจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสง เพื่อเฝ้าระวังและติดตามพฤติกรรมกระทิงป่า ตลอดเวลา 24 ชม. ซึ่งจะได้มีการประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจและความปลอดภัยของสัตว์ป่ากระทิงให้ราษฎรเข้าใจ

นอกจากนี้จะได้สังเกตุพฤติกรรมการกินอาหารของกระทิง หากไม่เพียงพอจะต้องมีกาจัดหาอาหารเพิ่มเติม ทั้งนี้ก่อนหน้านี้เจ้าของวัวบ้านดังกล่าวได้แจ้งต่อคณะเจ้าหน้าที่ว่าปศุสัตว์อำเภอให้มาทำการฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่างๆขั้นพื้นฐานของวัวดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งทางอุทยานแห่งชาติเขาสก ได้ประสานนายสัตวแพทย์สัตว์ป่าสบอ.4 เพื่อมาร่วมกันในการวางแผนผลักดันกระทิงกลับเข้าสู่ป่าเพื่อความปลอดภัยต่อไป




อย่างไรก็ตาม มีผู้แสดงความเห็น เช่น ผู้ใช้เฟซบุ๊ค Krit Saeninyot ได้โพสต์บนเพจเฟซบุ๊ค กรมอุทยานแห่งชาติ
สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
 
ว่าเรื่องที่ควรตั้งข้อสังเกต คือ กระทิงตัวเมียอาจจะลดจำนวนลง ทั้งจากการถูกล่า การตายตามธรรมชาติจากโรค การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมอย่างกะทันหัน 

รวมไปถึงสภาพของป่าที่ดูจากภายนอกอุดมสมบูรณ์ แต่อาณาเขตที่เคยกว้างใหญ่ ถูกตัดแบ่งเป็นผืนย่อยๆ ทั้งจากการเกิดชุมชน พื้นที่เกษตรกรรม การตัดถนน ทำให้เป็นอุปสรรคในการหากินหรือจับคู่ผสมพันธุ์ของสัตว์ป่า โดยเฉพาะสัตว์ใหญ่ เช่น กระทิง ฯลฯ เพราะโดยสัญชาตญาณตามธรรมชาติของสัตว์มักจะไม่มีการผสมข้ามสายพันธุ์อยู่แล้ว

ข้อมูลอ้างอิง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช


กำลังโหลดความคิดเห็น