xs
xsm
sm
md
lg

กลุ่มธุรกิจ TCP มอบเครื่องเอกซเรย์พัฒนาโดยนักวิจัย สวทช. แก่สภากาชาดไทย เพื่อส่งต่อ 3 โรงพยาบาลสนามช่วยวินิจฉัยผู้ป่วยโควิด-19

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



กลุ่มธุรกิจ TCP สนับสนุนสภากาชาดไทยมอบเครื่องเอกซเรย์แก่ 3 โรงพยาบาลสนามเพื่อช่วยคัดกรองผู้ป่วยโรคโควิด-19 รวมถึงใช้วินิจฉัยโรคปอดและโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจอื่นๆ ที่คิดค้นโดยฝีมือคนไทย จากศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ประกอบด้วย เครื่องเอกซเรย์ดิจิทัลสำหรับถ่ายทรวงอก บอดีเรย์ เอส จำนวน 2 เครื่อง มอบแก่โรงพยาบาลแม่สอด จังหวัดตาก และโรงพยาบาลสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร และชุดแปลงเอกซเรย์เป็นดิจิทัล บอดีเรย์ อาร์ จำนวน 1 เครื่อง มอบแก่โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) จังหวัดสมุทรสาคร มูลค่าราว 4.3 ล้านบาท

สราวุฒิ อยู่วิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ TCP กล่าวว่า “ในปัจจุบัน ยังมีผู้ติดเชื้อโรคโควิด-19 และมีความเสี่ยงติดเชื้อที่ต้องได้รับการรักษาและคัดกรองอยู่อย่างต่อเนื่อง นำมาสู่ปัญหาการขาดแคลนเครื่องมือแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงพยาบาลสนามที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่เฝ้าระวัง เราจึงร่วมมือกับสภากาชาดไทยเพื่อมอบเครื่องเอกซเรย์แก่โรงพยาบาลเหล่านี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการคัดกรองและวินิจฉัยผู้ป่วยโรคโควิด-19 รวมถึงโรคปอดและโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจอื่นๆ ในอนาคต”

เครื่องเอกซเรย์ดิจิทัลสำหรับถ่ายทรวงอกและชุดแปลงเอกซเรย์เป็นดิจิทัลเป็นนวัตกรรมที่คิดค้นและวิจัยโดยคนไทยเพื่อคนไทยอย่างแท้จริง เหมาะสำหรับเอกซเรย์อวัยวะภายในแบบสองมิติ เพื่อใช้ในการคัดกรองและวินิจฉัยโรคเบื้องต้นเน้นบริเวณปอด เครื่องผ่านมาตรฐานการตรวจสอบความปลอดภัยทางรังสี จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข รวมถึงความปลอดภัยทางระบบไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ จากศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (PTEC) และได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 13485 (ระบบการบริหารจัดการคุณภาพเครื่องมือแพทย์) จึงมั่นใจได้ว่าจะช่วยให้การรักษาโรคโควิด-19 รวมถึงโรคปอดและโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจอื่นๆ มีประสิทธิภาพขึ้น

เครื่องเอกซเรย์ที่กลุ่มธุรกิจ TCP มอบให้แก่สภากาชาดไทย
จุดเด่นของเครื่องเอกซเรย์ดิจิทัลสำหรับถ่ายทรวงอกและชุดแปลงเอกซเรย์เป็นดิจิทัล ได้แก่
•สามารถแสดงผลภาพเอกซเรย์ได้ทันที
•ซอฟต์แวร์ใช้งานง่าย และสามารถปรับได้ตามความต้องการของผู้ใช้
•ปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับน้อยกว่าเครื่องเอกซเรย์แบบฟิล์ม
•สามารถเชื่อมต่อกับระบบจัดเก็บและสื่อสารข้อมูลภาพทางการแพทย์ (PACS)