xs
xsm
sm
md
lg

TikTok- กรมสุขภาพจิต ผุดแคมเปญ #besafebehappy ใช้อินเทอร์เน็ตให้ปลอดภัย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



TikTok ตอบรับกระแส Safer Internet Day หรือ วันแห่งการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัยทั่วโลกซึ่งตรงกับวันที่ 9 กุมภาพันธ์ของทุกปี จับมือ กรมสุขภาพจิต เดินหน้าตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มที่โดดเด่นในเรื่องการสร้างมาตรฐานความปลอดภัยและสร้างสุขภาวะจิตที่ดีให้แก่ผู้คนอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้ผู้ใช้รู้สึกปลอดภัยในทุกการใช้แพลตฟอร์ม พร้อมเชิญชวนคนไทยร่วมแคมเปญสุดสร้างสรรค์เพื่อรณรงค์การใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลอย่างปลอดภัยกับแคมเปญ #besafebehappy เพื่อร่วมสร้างสังคมอินเทอร์เน็ตที่ดีขึ้นให้โลกออนไลน์เป็นสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน

TikTok มุ่งมั่นในการดำเนินงานโดยยึดหลักแนวทางการปฏิบัติด้านความปลอดภัยควบคู่กับการกำหนดหลักจรรยาบรรณบนแพลตฟอร์ม โดยคำนึงถึงบรรทัดฐานทางวัฒนธรรมและกฎระเบียบในแต่ละประเทศ และให้ความสำคัญด้านความปลอดภัยของผู้ใช้ โดยผู้ใช้สามารถกำหนดการตั้งค่าความเป็นส่วนตัว ลบคอมเมนต์ที่ไม่เหมาะสม หรือบล็อกผู้ใช้ที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม อีกทั้งแจ้งรายงานพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมบนแพลตฟอร์มได้ นอกจากนี้ TikTok ยังให้ความสำคัญกับความปลอดภัยในการใช้งานด้านต่างๆ อาทิ Youth Portal เว็บไซต์สำหรับเยาวชน เพื่อรักษาบัญชีที่ปลอดภัยและสนุกสนานเริ่มต้นด้วยความปลอดภัยของบัญชีผู้ใช้, ความปลอดภัยของผู้ใช้ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถจัดการควบคุมระยะเวลาการใช้หน้าจอ, ตั้งค่าเป็นโหมดจำกัด และ Family Pairing โหมดแนะนำโดยผู้ปกครอง รวมถึง แหล่งข้อมูลสำหรับการป้องกันการฆ่าตัวตาย ซึ่ง TikTok พร้อมให้ความช่วยเหลือหากผู้ใช้กำลังเผชิญกับช่วงเวลาที่ยากลำบาก
 
นายสุรยศ เอี่ยมละออ Head of Marketing กล่าวว่า TikTok ไม่เคยหยุดนิ่งในการพัฒนาและให้ความสำคัญกับมาตรฐานด้านความปลอดภัยกับผู้ใช้บนแพลตฟอร์ม ล่าสุดเพื่อตอบรับกระแสวันแห่งการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัย หรือ Safer Internet Day ทาง TikTok ขอเชิญชวนคนไทยร่วมสร้างสังคมออนไลน์เชิงบวกเพื่อให้โลกของอินเทอร์เน็ตเป็นสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับทุกคนผ่านการสร้างสรรค์คอนเทนท์ที่เป็นประโยชน์และสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้คนผ่านแคมเปญ #besafebehappy เพื่อร่วมแบ่งปันเรื่องราวต่างๆ อาทิ การรับมือกับ Cyberbullying หรือ การกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์, โรคซึมเศร้าป้องกันอย่างไร เป็นต้น และนอกจากนี้ TikTok ยังได้ร่วมมือกับกรมสุขภาพจิตในการนำเสนอคอนเทนท์เกี่ยวกับวิธีการดูแลสุขภาพจิตของคนไทยบนโลกออนไลน์ที่เป็นประโยชน์จากหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ
 
พญ.พรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ด้วยจุดเด่นของ TikTok จะทำให้คอนเทนท์เกี่ยวกับสุขภาพจิตได้รับความสนใจและเกิดการรับรู้ จดจำ พร้อมกับการมีส่วนร่วมของผู้คน ซึ่งจะนำไปสู่กระแสที่จะทำให้ประเด็นสุขภาพจิตเป็นเรื่องที่สามารถพูดคุยกันได้ โดยที่ผ่านมาคอนเทนท์ของกรมสุขภาพจิตบน TikTok ได้รับกระแสตอบรับอย่างล้นหลาม และล่าสุด กรมสุขภาพจิต เตรียมส่งคอนเทนท์เกี่ยวกับสุขภาพจากผู้เชี่ยวชาญ และหัวข้อที่เป็นกระแสในสังคม เพื่อตอบรับกระแส Safer Internet Day หรือ วันแห่งการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัย อาทิ ท่องเน็ตปลอดภัยเลี่ยงหลัก3C, Internet Trolling คืออะไร, สงสัยโดน Cyberbullying รับมืออย่างไรดี เป็นต้น
 
ในโอกาสวันแห่งการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัย หรือ Safer Internet Day ในปีนี้ TikTok ได้ส่งแคมเปญ #besafebehappy เพื่อเชิญชวนคนไทยร่วมแบ่งปันคอนเทนท์ในมุมต่างๆ อาทิ การรับมือกับคอมเมนต์ที่บูลลี่, Cyberbullying คืออะไร, การมองโลกมุมบวก เป็นต้น เพื่อส่งเสริมการสร้างสุขภาพจิตที่ดี เนื่องด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในทุกวันนี้มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ทำให้เกิดความท้าทายใหม่ในการรับมือบนโลกออนไลน์ของผู้คนจำนวนมาก ดังนั้น TikTok ในฐานะแพลตฟอร์มออนไลน์จึงของเป็นส่วนช่วยให้ผู้ใช้เกิดภูมิต้านทานให้จิตใจสามารถรับมือกับเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนโลกออนไลน์ และรู้เท่าทันการใช้ชีวิตบนโลกดิจิทัลอย่างปลอดภัย เพื่อร่วมสร้างสังคมอินเทอร์เน็ตที่ดีขึ้นให้โลกออนไลน์เป็นสถานที่ที่ปลอดภัยและดีสำหรับทุกคน
 
ในปีที่ผ่านมา TikTok ได้ร่วมมือกับ กรมสุขภาพจิต เพื่อพัฒนาคอนเทนท์ดิจิทัลโดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีให้กับคนไทย ด้วยการจัดทำแคมเปญชาเลนจ์ #3วิธีดีต่อใจ เชิญชวนผู้คนมาร่วมแบ่งปัน 3 ข้อคิดดีต่อใจที่ทำให้สุขภาพจิตดีและมีความสุข ซึ่งได้กระแสตอบรับดีอย่างล้นหลามด้วยยอดวิวที่สูงถึง 23.2 ล้าน และในปีนี้ TikTok ไม่รอช้าเดินหน้าต่อยอดความสำเร็จในปีที่ผ่านมา ร่วมกับ กรมสุขภาพจิต อย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างการรับรู้ด้านสุขภาพจิตที่ดีให้กับคนไทย ผ่านการพัฒนาคอนเทนท์ที่เกี่ยวกับสุขภาพจิตเชิงสร้างสรรค์บนแพลตฟอร์ม นอกจากนี้ TikTok ยังได้ร่วมมือกับหลายหน่วยงานระดับโลกในการจุดประกายให้ผู้คนหันมาพูดคุยถึงแนวทางการรับมือกับปัญหาสุขภาพจิตมากขึ้น อาทิ องค์การอนามัยโลก (WHO) สหพันธ์สุขภาพจิตโลก(WFMH) และ United for Global Mental Health (UnitedGMH) ในการสร้างสรรค์แคมเปญ #MoveforMentalHealth รวมถึงในประเทศไทยอย่าง สะมาริตันส์ และ HappinetClub
 
ทั้งนี้ Safer Internet Day เริ่มต้นจากความคิดริเริ่มของโครงการ EU SafeBorders ในปี 2547 และดำเนินการโดยเครือข่าย Insafe ของศูนย์อินเทอร์เน็ตปลอดภัย ในยุโรป ซึ่งเป็นหนึ่งในการดำเนินการที่เร็วที่สุดในปี 2548 ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา Safer Internet Day ได้กลายเป็นเหตุการณ์ สำคัญและมีการเฉลิมฉลองในประมาณ 140 ประเทศทั่วโลก โดยมุ่งเน้น การนำเสนอวิธีและลงมือปฏิบัติเพื่อการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในเชิงบวกและสำรวจบทบาทที่ทุกคนมีส่วนร่วมในการช่วยสร้างชุมชนออนไลน์ที่มีคุณภาพและความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น