xs
xsm
sm
md
lg

ก.ล.ต. แนะกิจการ SE- SMEs ใช้ 4 ช่องทางระดมทุนให้ธุรกิจขับเคลื่อนได้

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



4 ช่องทางการระดมทุนที่น่าสนใจสำหรับผู้ประกอบการรายเล็กและรายย่อย ทั้ง กิจการเพื่อสังคม หรือ SE และกิจการขนาดย่อม หรือ SMEs ก.ล.ต.ชวนมาทำความเข้าใจว่ากิจการของท่านเหมาะกับการระดมทุนรูปแบบใดกันบ้างในตลดทุน พร้อมไขข้อข้องใจถึงสิทธิพิเศษของกิจการเพื่อสังคม

ปัจจุบัน กิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise) และกิจการ SMEs อาจประสบปัญหาติดขัดในการระดมทุน “ไพบูลย์ ดำรงวารี” ผู้อำนวยการ ฝ่ายจดทะเบียนหลักทรัพย์ 2 สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ให้ข้อมูล "รู้ลึก รู้จริง ช่องทางระดมทุนสำหรับ SE" ดำเนินการโดย Social Enterprise Thailand เพื่อให้ผู้ประกอบการและนักลงทุนที่ต้องการระดมทุนทำความเข้าใจ และใช้เป็นแนวทางขับเคลื่อนกิจการ


ช่องทางแรก สำหรับกิจการวิสาหกิจเพื่อสังคม (บจก./บมจ.) ที่จดทะเบียนกับ สวส. สามารถระดมทุนจากประชาชนทั่วไปได้

ไพบูลย์ กล่าวว่าผู้ที่จดทะเบียนเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม หรือ สวส. ตามกฎหมาย พ.ร.บ.วิสาหกิจเพื่อสังคม สามารถที่จะระดมทุนโดยการเสนอขายหุ้นให้กับประชาชนได้เลย และสามารถโฆษณาออกมาเป็นวงกว้างได้ทุกรูปแบบ ช่องทางออนไลน์ ไม่ต้องมีการยื่นเอกสารกับก.ล.ต. แต่หากท่านเป็นเพียงกิจการทั่วไปจำเป็นที่จะต้องยื่นเอกสารกับทางกลต.

ถามว่าแล้วผู้ให้ทุนล่ะ? จะรู้ได้อย่างไรว่ากิจการเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม
คำตอบคือท่านสามารถเข้ามาดูรายชื่อของกิจการเพื่อสังคมที่ได้ทำการจดทะเบียนกับสวส.แล้วได้ที่เว็บไซต์ของสวส. หากกิจการใดไม่มีรายชื่อจดทะเบียนให้คิดได้เลยว่า “ไม่น่าไว้ใจ”

ในส่วนของการระดมทุนของกิจการเพื่อสังคมนั้น เรียกได้ว่า “ไม่มีขีดจำกัด” เพียงแต่ว่าท่านต้องบอกให้ชัดเจนว่า ท่านเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมที่มีการจดทะเบียนแล้ว สามารถจ่ายเงินปันผลได้ 30% ของกำไร หรือท่านจดทะเบียนเป็นประเภทไม่ปันผลกำไรเลย เพื่อให้ผู้ลงทุนรับรู้และเข้าใจว่าธุรกิจเพื่อสังคนของท่านเป็นธุรกิจที่ไม่หวังผลกำไร ต่างจากกิจการอื่น ๆที่หวังผลกำไร
กิจการเพื่อสังคมในวิธีนี้ โดยหลังแล้วก็ต้องมีการกำกับการดูแลกิจการที่ดี (Corporate Governance) ต้องมีความรับผิดชอบในการที่จะเอาเงินจากคนจำนวนมากเพื่อมาลงทุน ต้องมีการดูแลเรื่องเงินทุนให้ดี ว่าเงินทุนของท่านนั้นมีเท่าไหร่ และจะต้องนำไปใช้ทำอะไรบ้าง ใช้ในส่วนผลประโยชน์เพื่อสังคมตามที่ท่านได้บอกกล่าวกับผู้ลงทุนไว้หรือไม่

สำคัญที่สุดคือ ท่านควรจะมีการรายงานผลเกี่ยวกับการระดมทุนต่อสวส.เป็นรายปี เพื่อกลต.จะได้มีข้อมูลว่าวิสาหกิจเพื่อสังคมในปัจจุบันเป็นอย่างไรบ้าง หลังจากที่ได้ออกกฎเกณฑ์ไปเมื่อปี 2563 ปัจจุบันก็มีการลงทุนไปประมาณ 3 ราย รวมเป็นเงิน 100กว่าล้านบาท ส่วนตัวคุณไพบูลย์กล่าวว่า อาจจะมีเยอะกว่านี้ เพียงแต่ว่าสวส.เองไม่ได้บังคับให้ต้องส่งเอกสารรายงาน ทำให้ต้องใช้วิธีการติดตามเอาเสียเอง แต่ถ้าหางกิจการใดสามารถระดมทุนได้สำเร็จทางกลต.จะขอรบกวนส่งเอกสาร หรือ รีพอร์ต มาทางสวสหรือกลต. เพื่อเป็นการนำขอมูลตรงนั้นมาประชาสัมพันธ์ต่อไป

ต้องมีข้อมูลอะไรบ้างให้ผู้ลงทุนทราบ?
-เอกสารเกี่ยวกิจการของท่าน ชื่อกิจการอะไร จดทะเบียนกับสวส.หรือไม่ วัตถุประสงค์ของการระดมทุน เพื่อเป็นการประกอบการตัดสินใจของผู้ลงทุน -

ช่องทางที่ 2 บริษัทจำกัด สามารถระดมทุนจากผู้ลงทุนในวงจำกัดได้

สำหรับกิจการ SMEs ซึ่งท่านอาจจะเป็น SMEs ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสังคม เพราะหลายๆ กิจการเองก็เข้าใจว่า SMEs เป็นกิจการเพื่อสังคม เพียงแต่ไม่ได้จดทะเบียนกับสวส. แต่ท่านมีผลิตภัณฑ์ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ธรรมชาติ ท่านเองก็มีแนวทางในการระดมทุนได้

อันดับแรก ท่านสามารถระดมทุนได้ ในวงกำจัดหรือวงแคบ ๆ แต่ท่านต้องไปลงทะเบียบกับทางสสว.หรือสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อที่จะสามารถเข้าหาทางผู้ระดมทุนเพื่อหาเงินลงทุนได้ แต่วิธีนี้มีสิ่งที่ต้องทำก็คือ ท่านต้องแจกเอกสารข้อมูลสรุปให้กับผู้ลงทุนว่า กิจการของท่านคืออะไร ผลประกอบการที่ผ่านมาของท่านเป็นอย่างไร และไม่ทำการโฆษณาเป็นวงกว้าง

ท่านสามารถเสนอขายให้กับใครได้บ้าง?
คำตอบ ผู้ลงทุนที่มีความรู้ ประสบการณ์ หรือเราเรียกกันว่าผู้ลงทุนสถาบัน รวมไปถึงผู้ลงทุนทั่วไปแต่ไม่เกิน 10 ราย มูลค่าไม่เกิน 20 ล้านบาท

เหมาะกับ SMEs ที่มีผู้ลงทุนอยู่แล้ว สามารถลงทุนได้กับผู้ลงทุนเพียงไม่กี่คน ซึ่งก.ล.ต.เองก็มีการเปิดให้มีการลงทุนเมื่อต้นปี 2563 นี้เอง

ช่องทางที่ 3 บจก./บมจ. (non-listed) สามารถระดมทุนจากประชาชนได้ผ่าน funding portal ที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต.

หากว่าเราเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมที่ไม่ได้จดทะเบียนกับ สวส. หรือ SME แนะนำให้ระดมทุนผ่านช่องทางนี้ เป็นหนึ่งในวิธียอดฮิต ที่คนนิยมใช้กัน เช่นจากเงินบริจาค

เหมาะกับกิจการที่อยากได้เงินแต่ไม่รู้จะหาผู้ลงทุนจากไหนดี สามารถเดินไปหา FUNDING PORTAL ซึ่งเป็นผู้ให้บริการที่ได้รับความเห็นชอบจากกลต. ที่จะช่วยตรวจสอบข้อมูลบริษัทให้คุณและถ้าบริษัทคุณผ่านคุณสมบัติ ทาง FUNDING PORTAL เองก็จะพาคุณเข้าไปหาผู้ลงทุนที่เหมาะสมให้คุณได้ โดยการระดมทุนรูปแบบนี้สามารถทำได้2อย่างคือ 1.หุ้น 2.หุ้นกู้

ข้อดี: FUNDING PORTALจะช่วยคำนวณเรื่องต้นทุนให้และช่วยประชาสัมพันธ์บริษัทคุณลงในเว็บไปให้ในตัว
อีกทั้งยังไม่ต้องวางหลักประกันเลย

ช่องทางที่ 4 บจก./บมจ. สามารถระดมทุนจากผู้ลงทุนในวงกว้างได้ และมีตลาดรองเพื่อรองรับการซื้อขายหุ้น SME

ไพบูลย์ บอกว่าแนวทางนี้ยังไม่ได้ใช้จริงในปัจจุบัน แต่คาดการณ์ว่าจะเป็นรูปเป็นร่างให้ได้ใช้กันไม่น่าจะเกิน กันยายน 2564
การระดมทุนวิธีนี้ส่งเสริมให้กิจการขนาดเล็กค่อนไปกลางสามารถระดมทุนจากคนจำนวนมากและไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้ซึ่งที่คิดไว้ก็อาจจะไม่ใช่ SET ,MAI แต่อาจจะเป็นตลาดหลักทรัพย์ใหม่สำหรับSMEโดยเฉพาะ และวิธีนี้นั้นก็ยังสามารถระดมทุนได้และเอาหุ้นไปจดทะเบียนเพื่อซื้อขายในตลาดรองได้

แต่วิธีนี้ก็มีข้อจำกัดทั้งเรื่องประเภทผู้ลงทุน: เฉพาะผู้มีความรู้ มีประสบการณ์และสามารถรับความเสี่ยงได้ และกิจการนั้นต้องพร้อมเปิดเผยข้อมูลสำคัญ เช่นงบการเงิน PAE เป็นต้น


“ดังกล่าวมาทั้งหมด กลต. ต้องการที่จะผลักดันให้ผู้ประกอบการโดยเฉพาะรายเล็กนั้นได้มีช่องทางในการหาเงินทุนที่นอกเหนือจากการกู้ยืมจากธนาคารที่มีประสิทธิภาพ อย่างตลาดทุน" ไพบูลย์กล่าว

ผู้ที่สนใจอยากชมการบรรยายซ้ำ หรือต้องการศึกษาข้อมูลแบบเต็ม เข้าไปรับฟังได้ที่ FB: Social Enterprise Thailand หรือคลิก https://www.facebook.com/sethailandorg/videos/3874669865901967