สถานการณ์โควิด-19 ตอนนี้หลายประเทศ ตัวเลขผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตยังเพิ่มขึ้นอย่างน่าเป็นห่วง แต่ปัญหานี้ที่เมืองไทยเรานับว่าคลี่คลายมาเป็นลำดับ จนเราไม่มีผู้ติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ต่อเนื่องมานับ 100 วันแล้ว
นี่จึงสอดคล้องกับผลสำรวจ 184 ประเทศของ Global COVID-19 Index เมื่อเดือนกรกฎาคม 2563 ที่จัดให้ไทยเป็นประเทศที่ดีที่สุดในการฟื้นตัวจากสถานการณ์โควิด-19
องค์กรด้านสาธารณสุขสากลต่างชื่นชมเมืองไทยที่มีระบบจัดการของบุคลากรทางการแพทย์ที่มีคุณภาพ และประชาชนส่วนใหญ่ร่วมมือกันปรับพฤติกรรมและใช้อุปกรณ์เพื่อป้องกันไม่ให้ติดเชื้อและแพร่เชื้อ ตามการรณรงค์ส่งเสริมของหลายหน่วยงาน จนกลายเป็น New Normal
ขณะเดียวกัน กิจกรรมเพื่อสังคมหรือ CSR ในลักษณะการบริจาคเงินและเครื่องมืออุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการทำหน้าที่ของบุคลากรทางการแพทย์ในช่วงต้นปีเป็นต้นมาอย่างคึกคัก
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้วยพื้นฐานวัฒนธรรมไทยที่มีความเมตตากรุณา เอื้อเฟื้อ ช่วยเหลือและบรรเทาทุกข์ ในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อโควิด จึงมีการแสดงน้ำใจของกิจการและคนที่มีจิตอาสาทำโครงการเพื่อหนุนช่วยก็มี
ตัวอย่างที่ดีที่ขอกล่าวถึงก็คือ โครงการ “Chef Cares” ซึ่ง มาริษา เจียรวนนท์ ได้เชิญชวนเชฟระดับยอดฝีมือจากทุกเวที ไม่ว่าจะเป็นเชฟมิชลิน เชฟกระทะเหล็ก หรือเชฟระดับเจ้าของร้านอาหารชื่อดัง รวมทั้งเชฟจากโรงแรมหรูหลายแห่ง ให้ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาปรุงอาหารเลิศรสที่มีคุณค่าทางโภชนาการ เพื่อจัดส่งให้บุคลากรทางการแพทย์ที่ทำหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโควิด
ปรากฏว่า ทุกคนตอบตกลงแทบจะทันที !
เพราะอาหารอร่อยนั้น คนปรุงได้ “ใส่ใจ” ลงไปขณะทำ การมอบอาหารระดับนี้ จึงเป็นการส่ง “ภาษารัก” แทนความห่วงใยให้คุณหมอและพยาบาลที่เสียสละเพื่อปกป้องชีวิตพวกเราทุกคนให้ปลอดภัยจากเชื้อไวรัสโควิด-19 ขณะที่ตัวผู้ปฏิบัติงานนี้ต้องเสี่ยงภัย
การออกแบบเมนูอาหารและปรุงอย่างพิถีพิถันในกิจกรรมนี้ได้บรรจุในกล่องตกแต่งสวยงาม ใช้วัสดุที่ย่อยสลายได้ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทำให้ทันส่งมอบถึงมือคุณหมอสำหรับมื้อกลางวัน มีภาพเชฟผู้ปรุงพร้อมคำขอบคุณและให้กำลังใจที่เชฟจะสื่อสารถึงคุณหมอติดบนกล่องทุกกล่อง วันละ 300 ชุด ที่ขนส่งด้วยรถควบคุมอุณหภูมิเพื่อรักษารสชาติและคุณภาพ
มาริษา เจียรวนนท์ สรุปว่า การดำเนินโครงการเชฟแคร์ส์ ตลอด 3 เดือนที่ผ่านมา นับแต่เกิดการระบาดของโควิด-19 เป็นต้นมา ได้รับความร่วมแรงร่วมใจจากเชฟจิตอาสา ซึ่งล้วนเป็นเชฟชื่อดัง จำนวน 73 ท่าน สลับกันเข้ามาปรุงอาหารรสเลิศ รวมแล้วกว่า 30,000 กล่อง เพื่อส่งมอบแทนกำลังใจและคำขอบคุณไปยังทีมแพทย์จำนวน 17 โรงพยาบาล รวมถึงเจ้าหน้าที่กลุ่มเสี่ยงซึ่งทำงานในพื้นที่สาธารณะต่างๆ เช่น เจ้าหน้าที่ประจำสถานีรถไฟฟ้า พนักงานทำความสะอาด ตำรวจและเจ้าหน้าที่กองตรวจคนเข้าเมือง เป็นต้น
“รู้สึกดีใจที่ได้เห็นน้ำใจเชพทุกท่าน ซึ่งนำความเชี่ยวชาญของตนเองมาทำสิ่งดีๆ ด้วยหัวใจ เพื่อช่วยเหลือผู้คนและสังคม ทั้งๆ ที่ในขณะนั้นร้านอาหารของหลายท่านก็เดือดร้อน จึงอยากให้การรวมตัวกันทำสิ่งดีๆ แบบนี้ คงอยู่ต่อไปอย่างยั่งยืน เกิดเป็นแนวคิดจัดตั้งเป็น มูลนิธิเชฟแคร์ส์” มาริษาเล่าถึงแรงบันดาลใจ
เชฟชุมพล แจ้งไพร เล่าให้ฟังว่า โครงการนี้เป็นปรากฏการณ์ใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้น ไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆ และก็ไม่คิดว่าจะเกิดขึ้นได้อีกหรือเปล่า กับการที่ทำให้เชฟแต่ละเวทีมารวมตัวกันได้โดยไม่ได้มีการคำนึงสิ่งเหล่านี้เลย
ขณะที่เชฟนิค ณัฏฐพล ภวไพบูลย์ ร้านวังหิ่งห้อย ก็มองว่า “เชฟแคร์ส์” คือการให้และให้อย่างไม่มีเงื่อนไขกับโครงการที่ดีมาก ตัดสินใจเข้าร่วมภายใน 1 วินาที และแม้จะเพิ่งรู้จักกับมาริษาในช่วงเวลาสั้นๆ ก็พบว่า เธอเป็นไอดอลของคนที่ห่วงใยสังคมจริงๆ
ด้วยความคิดที่อยากให้ “เชฟแคร์ส์” อยู่ต่อไปอย่างยั่งยืน จึงเป็นที่มาของการจัดตั้งให้เป็น “มูลนิธิ” เพื่อว่าหากเกิดวิกฤตเช่นนี้ เชฟทุกคนจะได้นำจุดแข็งของตัวเองออกมาช่วยเหลือสังคมอีก
แต่วิกฤตคงไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยๆ ดังนั้น มูลนิธิเชฟแคร์ส์ จะมีพันธกิจอื่นเพื่อส่งเสริมเชฟ และผลักดันให้เมืองไทยเป็นประเทศที่ปรุงอาหารด้วยความรัก ความห่วงใย ใส่ใจที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก รวมถึงการส่งเสริมอาชีพเชฟให้เกิดกับเยาวชนที่รักและสนใจการปรุงอาหาร ได้เดินตามฝันและเติบโตเป็นเชฟชั้นนำของไทยเช่นเดียวกับเชฟแคร์ส์ทุกท่าน
ข้อคิด...
โครงการเชฟแคร์ส์ดังกล่าวนี้ อาจมองว่าเป็นกิจกรรมเชิงบริจาคอาหารแก่บุคลากรที่ช่วยคนในสถานการณ์โควิด-19จากความตั้งใจปรุงของเชฟชื่อดังระดับแถวหน้าของเมืองไทย
แต่ก็นับว่าเป็นการประยุกต์ CSR เชิงกลยุทธ์หรือ Strategic CSR ซึ่งใช้ความเชี่ยวชาญของธุรกิจไปช่วยแก้ปัญหาสังคม โดยผนึกความร่วมมือของเชฟคนดัง 73 คน จากทุกเวทีหมุนเวียนมาปรุงอาหารเมนูเด็ด
ขณะที่ใช้วัตถุดิบจากเครือซีพี ได้แก่ซีพีเอฟ, เจียไต๋ฟาร์ม, ข้าวตราฉัตร,ไร่ชาอรักษ์และใช้ครัวมาตรฐานสากลของโรงเรียนศิลปะการอาหารและผู้ประกอบการ “คูลิเนอร์” เป็นสถานที่ปรุงอาหาร
แม้ว่าการคิดทำโครงการนี้มุ่งเพื่อช่วยเหลือสังคม แต่ผลลัพธ์ก็เกิดคุณค่าร่วมทั้งต่อสังคมและภาพลักษณ์ผลิตภัณฑ์อาหาร โดยยืนยันจากเชฟคนดังทั้ง 73 คน ที่ได้ยอมรับและใช้ผลิตภัณฑ์วัตถุดิบคุณภาพของเครือ CPในการปรุงอาหารพิเศษครั้งนี้
suwatmgr@gmail.com
นี่จึงสอดคล้องกับผลสำรวจ 184 ประเทศของ Global COVID-19 Index เมื่อเดือนกรกฎาคม 2563 ที่จัดให้ไทยเป็นประเทศที่ดีที่สุดในการฟื้นตัวจากสถานการณ์โควิด-19
องค์กรด้านสาธารณสุขสากลต่างชื่นชมเมืองไทยที่มีระบบจัดการของบุคลากรทางการแพทย์ที่มีคุณภาพ และประชาชนส่วนใหญ่ร่วมมือกันปรับพฤติกรรมและใช้อุปกรณ์เพื่อป้องกันไม่ให้ติดเชื้อและแพร่เชื้อ ตามการรณรงค์ส่งเสริมของหลายหน่วยงาน จนกลายเป็น New Normal
ขณะเดียวกัน กิจกรรมเพื่อสังคมหรือ CSR ในลักษณะการบริจาคเงินและเครื่องมืออุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการทำหน้าที่ของบุคลากรทางการแพทย์ในช่วงต้นปีเป็นต้นมาอย่างคึกคัก
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้วยพื้นฐานวัฒนธรรมไทยที่มีความเมตตากรุณา เอื้อเฟื้อ ช่วยเหลือและบรรเทาทุกข์ ในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อโควิด จึงมีการแสดงน้ำใจของกิจการและคนที่มีจิตอาสาทำโครงการเพื่อหนุนช่วยก็มี
ตัวอย่างที่ดีที่ขอกล่าวถึงก็คือ โครงการ “Chef Cares” ซึ่ง มาริษา เจียรวนนท์ ได้เชิญชวนเชฟระดับยอดฝีมือจากทุกเวที ไม่ว่าจะเป็นเชฟมิชลิน เชฟกระทะเหล็ก หรือเชฟระดับเจ้าของร้านอาหารชื่อดัง รวมทั้งเชฟจากโรงแรมหรูหลายแห่ง ให้ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาปรุงอาหารเลิศรสที่มีคุณค่าทางโภชนาการ เพื่อจัดส่งให้บุคลากรทางการแพทย์ที่ทำหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโควิด
ปรากฏว่า ทุกคนตอบตกลงแทบจะทันที !
เพราะอาหารอร่อยนั้น คนปรุงได้ “ใส่ใจ” ลงไปขณะทำ การมอบอาหารระดับนี้ จึงเป็นการส่ง “ภาษารัก” แทนความห่วงใยให้คุณหมอและพยาบาลที่เสียสละเพื่อปกป้องชีวิตพวกเราทุกคนให้ปลอดภัยจากเชื้อไวรัสโควิด-19 ขณะที่ตัวผู้ปฏิบัติงานนี้ต้องเสี่ยงภัย
การออกแบบเมนูอาหารและปรุงอย่างพิถีพิถันในกิจกรรมนี้ได้บรรจุในกล่องตกแต่งสวยงาม ใช้วัสดุที่ย่อยสลายได้ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทำให้ทันส่งมอบถึงมือคุณหมอสำหรับมื้อกลางวัน มีภาพเชฟผู้ปรุงพร้อมคำขอบคุณและให้กำลังใจที่เชฟจะสื่อสารถึงคุณหมอติดบนกล่องทุกกล่อง วันละ 300 ชุด ที่ขนส่งด้วยรถควบคุมอุณหภูมิเพื่อรักษารสชาติและคุณภาพ
มาริษา เจียรวนนท์ สรุปว่า การดำเนินโครงการเชฟแคร์ส์ ตลอด 3 เดือนที่ผ่านมา นับแต่เกิดการระบาดของโควิด-19 เป็นต้นมา ได้รับความร่วมแรงร่วมใจจากเชฟจิตอาสา ซึ่งล้วนเป็นเชฟชื่อดัง จำนวน 73 ท่าน สลับกันเข้ามาปรุงอาหารรสเลิศ รวมแล้วกว่า 30,000 กล่อง เพื่อส่งมอบแทนกำลังใจและคำขอบคุณไปยังทีมแพทย์จำนวน 17 โรงพยาบาล รวมถึงเจ้าหน้าที่กลุ่มเสี่ยงซึ่งทำงานในพื้นที่สาธารณะต่างๆ เช่น เจ้าหน้าที่ประจำสถานีรถไฟฟ้า พนักงานทำความสะอาด ตำรวจและเจ้าหน้าที่กองตรวจคนเข้าเมือง เป็นต้น
“รู้สึกดีใจที่ได้เห็นน้ำใจเชพทุกท่าน ซึ่งนำความเชี่ยวชาญของตนเองมาทำสิ่งดีๆ ด้วยหัวใจ เพื่อช่วยเหลือผู้คนและสังคม ทั้งๆ ที่ในขณะนั้นร้านอาหารของหลายท่านก็เดือดร้อน จึงอยากให้การรวมตัวกันทำสิ่งดีๆ แบบนี้ คงอยู่ต่อไปอย่างยั่งยืน เกิดเป็นแนวคิดจัดตั้งเป็น มูลนิธิเชฟแคร์ส์” มาริษาเล่าถึงแรงบันดาลใจ
เชฟชุมพล แจ้งไพร เล่าให้ฟังว่า โครงการนี้เป็นปรากฏการณ์ใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้น ไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆ และก็ไม่คิดว่าจะเกิดขึ้นได้อีกหรือเปล่า กับการที่ทำให้เชฟแต่ละเวทีมารวมตัวกันได้โดยไม่ได้มีการคำนึงสิ่งเหล่านี้เลย
ขณะที่เชฟนิค ณัฏฐพล ภวไพบูลย์ ร้านวังหิ่งห้อย ก็มองว่า “เชฟแคร์ส์” คือการให้และให้อย่างไม่มีเงื่อนไขกับโครงการที่ดีมาก ตัดสินใจเข้าร่วมภายใน 1 วินาที และแม้จะเพิ่งรู้จักกับมาริษาในช่วงเวลาสั้นๆ ก็พบว่า เธอเป็นไอดอลของคนที่ห่วงใยสังคมจริงๆ
ด้วยความคิดที่อยากให้ “เชฟแคร์ส์” อยู่ต่อไปอย่างยั่งยืน จึงเป็นที่มาของการจัดตั้งให้เป็น “มูลนิธิ” เพื่อว่าหากเกิดวิกฤตเช่นนี้ เชฟทุกคนจะได้นำจุดแข็งของตัวเองออกมาช่วยเหลือสังคมอีก
แต่วิกฤตคงไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยๆ ดังนั้น มูลนิธิเชฟแคร์ส์ จะมีพันธกิจอื่นเพื่อส่งเสริมเชฟ และผลักดันให้เมืองไทยเป็นประเทศที่ปรุงอาหารด้วยความรัก ความห่วงใย ใส่ใจที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก รวมถึงการส่งเสริมอาชีพเชฟให้เกิดกับเยาวชนที่รักและสนใจการปรุงอาหาร ได้เดินตามฝันและเติบโตเป็นเชฟชั้นนำของไทยเช่นเดียวกับเชฟแคร์ส์ทุกท่าน
ข้อคิด...
โครงการเชฟแคร์ส์ดังกล่าวนี้ อาจมองว่าเป็นกิจกรรมเชิงบริจาคอาหารแก่บุคลากรที่ช่วยคนในสถานการณ์โควิด-19จากความตั้งใจปรุงของเชฟชื่อดังระดับแถวหน้าของเมืองไทย
แต่ก็นับว่าเป็นการประยุกต์ CSR เชิงกลยุทธ์หรือ Strategic CSR ซึ่งใช้ความเชี่ยวชาญของธุรกิจไปช่วยแก้ปัญหาสังคม โดยผนึกความร่วมมือของเชฟคนดัง 73 คน จากทุกเวทีหมุนเวียนมาปรุงอาหารเมนูเด็ด
ขณะที่ใช้วัตถุดิบจากเครือซีพี ได้แก่ซีพีเอฟ, เจียไต๋ฟาร์ม, ข้าวตราฉัตร,ไร่ชาอรักษ์และใช้ครัวมาตรฐานสากลของโรงเรียนศิลปะการอาหารและผู้ประกอบการ “คูลิเนอร์” เป็นสถานที่ปรุงอาหาร
แม้ว่าการคิดทำโครงการนี้มุ่งเพื่อช่วยเหลือสังคม แต่ผลลัพธ์ก็เกิดคุณค่าร่วมทั้งต่อสังคมและภาพลักษณ์ผลิตภัณฑ์อาหาร โดยยืนยันจากเชฟคนดังทั้ง 73 คน ที่ได้ยอมรับและใช้ผลิตภัณฑ์วัตถุดิบคุณภาพของเครือ CPในการปรุงอาหารพิเศษครั้งนี้
suwatmgr@gmail.com