xs
xsm
sm
md
lg

หมีขาวขั้วโลก สุ่มเสี่ยงจะสูญพันธุ์!! ภายในปี 2100

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


หมีขั้วโลกในอลาสก้าและรัสเซียจะประสบปัญหาร้ายแรงภายในปี 2080  (เครดิตภาพ Katharina M Miller / Polar Bears International)
นักวิทยาศาสตร์ได้คาดการณ์ ถ้ามนุษย์ยังปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณมากเทียบเท่าปัจจุบัน สัตว์ที่อาศัยแถบขั้วโลก “หมีขาวขั้วโลก” มีโอกาสสูงที่จะสูญพันธุ์เกือบหมดภายในปี 2100

ที่จริงเพียงแค่ปี 2040 หรืออีกราว 20 ปีข้างหน้าก็จะเห็นสภาพปัญหาที่หมีขาวประสบในด้านการแพร่พันธุ์ และเริ่มทยอยสูญพันธุ์ในบางพื้นที่

งานวิจัยที่ตีพิมพ์ใน Nature Climate Change ได้ศึกษาโอกาสอยู่รอดของหมีขาวภายใต้สภาวะอากาศ 2 scenario , ภายใต้ business-as-usual คือ ไม่ได้มีการลดก๊าซเรือนกระจกแต่อย่างใด ยังคงดำเนินกิจกรรมของมนุษย์ตามปกติ เมื่อสิ้นสุดศตวรรษ หมีขาวจะยังหลงเหลืออยู่แค่ที่ Queen Elizabeth Islands , หมู่เกาะทางตอนเหนือของแคนาดา และหากภายใต้สถานการณ์ที่มีการลดก๊าซเรือนกระจกลงระดับปานกลาง หมีขั้วโลกบริเวณ Arctic จะไม่สามารถสืบพันธุ์ได้ในปี 2080

นักวิทยาศาสตร์ประเมินว่า ปัจจุบันหมีขั้วโลกหลงเหลืออยู่ประมาณ 26,000 ตัว บริเวณ Svalbard,Norway,Hudson Bay ในแคนาดา และบริเวณ Chucki Sea ระหว่าง Alaska และ Siberia โดยปกติแล้วหมีขาวอาศัยผืนน้ำแข็งในการหาอาหาร แต่สาเหตุจากภาวะโลกร้อน กำลังทำให้ผืนน้ำแข็งหายไป หมีขาวจะสะสมพลังงานช่วงฤดูหนาว เพื่อนำพลังงานเหล่านี้ไปใช้ในช่วงฤดูร้อนที่ต้องออกหาอาหาร บนผืนน้ำแข็งที่ลดลงเรื่อยๆ

โดยพบว่าบริเวณ Alaska’s southern Beaufort Sea จำนวนหมีขาวลดลงถึง 25-50% ในช่วงที่ปริมาณน้ำแข็งเริ่มลดลง และบริเวณ western Hudson Bay ปริมาณหมีลดลง 30% ตั้งแต่ปี 1987

Péter Molnár นักชีววิทยาจาก University of Toronto ศึกษาวิจัยว่าหมีขาวสามารถอดอาหาร หรือใช้พลังงานน้อยสุดเท่าใดเพื่อการอยู่รอด และหาความสัมพันธ์กับปริมาณในวันที่ทะเลจะปราศจากน้ำแข็งในอนาคต ว่าจะมีจำนวนหมีขาวมากน้อยแค่ไหนที่ได้รับผลกระทบ

“ถึงแม้ว่าเราจะสามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้ระดับหนึ่ง แต่ก็ยังจะมีหมีขาวจำนวนหนึ่งสูญพันธุ์ภายในสิ้นศตวรรษนี้ โดยเฉพาะบริเวณ western และ southern Hudson Bay,Davis Straight แต่ปริมาณหมีขาวจะยังคงเหลือมากกว่าการที่เราไม่ลดก๊าซเรือนกระจกเลยแน่นอน”

งานวิจัยศึกษาประชากรหมี 13 แห่งจากทั้งหมด 19 แห่ง คิดเป็น 80% ของหมีขาวทั้งหมด พบว่าหมีขาวบริเวณ sounthern Hudson Bay และ Davis Straight จะเริ่มสูญพันธุ์ในปี 2040 บริเวณ Alaska และ Russia ในปี 2080 และสูญพันธุ์เกือบหมดในปี 2100

แม้ว่าเราจะสามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้ในอนาคต แต่โลกยังต้องอาศัยเวลา 25-30 ปี กว่าที่น้ำแข็งขั้วโลกจะกลับมาแข็งแรงพอ เนื่องจากปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้สะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศมาเป็นเวลานานนั่นเอง

ข้อมูลอ้างอิง
https://www.theguardian.com/environment/


กำลังโหลดความคิดเห็น