xs
xsm
sm
md
lg

จับตา ก.เกษตรฯ หลังดีเดย์ 1 มิ.ย.!! แบนสองสารพิษร้ายแรง “พาราควอต-คลอร์ไพริฟอส”

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

เหลือเวลาอีกไม่ถึง 24 ชั่วโมง หลังจากการต่อสู้ทางนโยบายมาอย่างยาวนานกว่า 3 ปี ในที่สุด ‘พาราควอต’ สารเคมีกำจัดวัชพืช หรือยาฆ่าหญ้าที่เกษตรกรนิยมใช้ เพราะราคาถูก สะดวกและง่ายต่อการกำจัดวัชพืช ก็จะถูกประกาศแบนอย่างเป็นทางการในประเทศไทย เช่นเดียวกับ ‘คลอร์ไพริฟอส’ สารพิษกำจัดแมลงที่มีผลกระทบต่อพัฒนาการทางสมองของเด็กและทารก ที่มีผลพร้อมกันในวันที่ 1 มิถุนายน 2563 เป็นต้นไป

พาราควอต (Paraquat) คือ สารเคมีชนิดหนึ่งที่เป็นส่วนประกอบของยากำจัดวัชพืช เป็นสารพิษร้ายแรงที่ 58 ประเทศยกเลิกการใช้แล้ว โดยก่อนหน้านี้ จีน เวียดนาม กัมพูชา ลาว และมาเลเซีย ประเทศเพื่อนบ้านของไทย ก็ประกาศแบนสารพิษดังกล่าวแล้วเช่นกัน

ส่วน คลอร์ไพริฟอส (chlorpyrifos) เป็นวัตถุมีพิษทางการเกษตร (pesticides) เป็นสารเคมีกำจัดแมลงศัตรูพืช ในกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต ก็ถูกประกาศแบนแล้วเช่นเดียวกัน หลังจากสารพิษชนิดนี้ถูกยกเลิกการใช้โดยสหภาพยุโรปอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ผ่านมา

หลังการประกาศแบนครั้งนี้ จะส่งผลถึงหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง คือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต้องมีบทบาทหลักในการสนับสนุนเกษตรกรทั้งในรูปการฝึกอบรม การให้ข้อมูลความรู้ทางวิชาการ หรือการสนับสนุนในรูปแบบอื่นๆ เพื่อให้เกษตรกรใช้วิธีการทางเลือกอื่น เช่น การใช้เครื่องตัดหญ้า เครื่องจักรกลการเกษตร การปลูกพืชคลุมดิน และการจัดระบบการปลูกพืช เป็นต้น ในการกำจัดวัชพืช

เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN) แนะนำว่าควรใช้โอกาสที่ประชาชนจำนวนมากนับล้านคนที่หลั่งไหลกลับภาคเกษตรกรรมอันเกิดจากวิกฤต COVID-19 เพื่อสร้างอาชีพ เช่น หน่วยบริการกำจัดวัชพืช โดยอาจสนับสนุนเงินทุนและทรัพยากรเพื่อการนี้แก่กลุ่มต่างๆ ที่สนใจ รวมไปถึงการปฏิรูประบบเกษตรกรรม ที่ส่วนใหญ่เน้นการผลิตเชิงเดี่ยวผลิตวัตถุดิบราคาถูก ไปสู่ระบบเกษตรผสมผสานที่ให้ความสำคัญกับเรื่องความมั่นคงทางอาหารมากขึ้น เพื่อลดปัญหาการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในระยะยาว และรองรับการเปลี่ยนแปลงรับมือยุคหลังไวรัสโควิดระบาด อย่างเช่น รัฐบาลอาจแบ่งงบประมาณ 400,000 ล้านบาท สำหรับการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม เพื่อรองรับเกษตรกรรายย่อยที่ประสงค์จะปรับเปลี่ยนวิถีเกษตรกรรมไปสู่วิถีเกษตรใหม่ดังกล่าว



1 มิ.ย. 2563 เป็นต้นไป พาราควอต ยาฆ่าหญ้า และคลอร์ไพริฟอส ยากำจัดแมลง จะไม่มีวางจำหน่ายอีกต่อไป

หลังการประกาศแบนในครั้งนี้ จะส่งผลถึงหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง คือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะต้องมีบทบาทหลักในการสนับสนุนเกษตรกรทั้งในรูปการฝึกอบรม การให้ข้อมูลความรู้ทางวิชาการ หรือการสนับสนุนในรูปแบบอื่นๆ เพื่อให้เกษตรกรใช้วิธีการทางเลือกอื่น เช่น การใช้เครื่องตัดหญ้า เครื่องจักรกลการเกษตร การปลูกพืชคลุมดิน และการจัดระบบการปลูกพืช เป็นต้น ในการกำจัดวัชพืช


เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN) แนะนำว่าควรใช้โอกาสที่ประชาชนจำนวนมากนับล้านคนที่หลั่งไหลกลับภาคเกษตรกรรมอันเกิดจากวิกฤต COVID-19 เพื่อสร้างอาชีพ เช่น หน่วยบริการกำจัดวัชพืช โดยอาจสนับสนุนเงินทุนและทรัพยากรเพื่อการนี้แก่กลุ่มต่างๆ ที่สนใจ รวมไปถึงการปฏิรูประบบเกษตรกรรม ที่ส่วนใหญ่เน้นการผลิตเชิงเดี่ยวผลิตวัตถุดิบราคาถูก ไปสู่ระบบเกษตรผสมผสานที่ให้ความสำคัญกับเรื่องความมั่นคงทางอาหารมากขึ้น เพื่อลดปัญหาการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในระยะยาว และรองรับการเปลี่ยนแปลงรับมือยุคหลังไวรัสโควิดระบาด อย่างเช่น รัฐบาลอาจแบ่งงบประมาณ 400,000 ล้านบาท สำหรับการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม เพื่อรองรับเกษตรกรรายย่อยที่ประสงค์จะปรับเปลี่ยนวิถีเกษตรกรรมไปสู่วิถีเกษตรใหม่ดังกล่าว


กำลังโหลดความคิดเห็น