xs
xsm
sm
md
lg

ธุรกิจ-สังคมยุคหลังโควิด ปรับตัวอย่างไรให้ทันโลก / ดร.สุวัฒน์ ทองธนากุล

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

ขณะนี้ทุกคนในสังคมทุกวงการโดนผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ (Covid-19) กันทั่วหน้า มาตรการต่างๆ เพื่อป้องกันการติดเชื้อและเป็นตัวแพร่เชื้อ จนรัฐต้องมีมาตรการเข้มเกิดการเปลี่ยนระบบการทำงานและเปลี่ยนวิธีการติดต่อซื้อขายที่พลิกเกมใหม่

ความเคยชินของวิธีใช้ชีวิตและการทำงานด้วยกติกาใหม่ที่เป็นไปได้ กลายเป็นเรื่อง “ปกติใหม่” (News Normal) รวมทั้งวิธีคิด วิธีการใหม่เพื่อฝ่าวิกฤตเริ่มมีให้เห็น ทั้งด้านผู้ค้าและด้านผู้บริโภคที่ไม่เหมือนเดิม โดยมีกลไกสนับสนุนในยุคดิจิทัลที่เริ่มมาแล้ว และได้ภาวะวิกฤติโควิด-19 เป็นตัวเริ่งให้เกิดขึ้น

ผมได้รับบทวิเคราะห์เรื่อง “โลกเปลี่ยน คนปรับ ความพอเพียงในโลกหลังโควิด” ของ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม


เอกสารวิชาการชุดนี้มีหลายหัวข้อที่น่าสนใจ ได้แก่
•7 รอยปริ ปั่นป่วนโลก•7 ขยับปรับเปลี่ยนโลก•เหลียวหลัง แลหน้า ประเทศไทยในระยะเปลี่ยนผ่านผมขอเลือกเอาหัวข้อที่สัมพันธ์กับหมวดเนื้อหาที่เกี่ยวกับงานประจำในหมวดเนื้อหา Green Innovation&SD ก็คือ หัวข้อที่ใช้ชื่อว่า•ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ยั่งยืนในโลกหลังโควิด


ดร.สุวิทย์ คิดว่าหลังจากช่วงการระบาดของเจ้าเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ที่สร้างผลกระทบรุนแรงจนเกิดการเปลี่ยนแปลงใหม่ ทั้งบริบททางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะมีการขับเคลื่อนที่สมดุลขึ้น สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ทั้งนี้ ก็จะเอื้อต่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ตามที่ประเทศไทยได้ร่วมกลุ่ม 193 ประเทศสมาชิก องค์การสหประชาชาติ ที่ยืนยันจะร่วมกันแก้ปัญหา 17 หัวข้อ ให้ได้ภายในปี 2030 เพื่อให้โลกเราน่าอยู่ ด้วยแนวทางหลักคือ


ขณะที่หลักคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ดร.สุวิทย์อธิบายว่า เน้นการขับเคลื่อนที่สมดุลใน 4 มิติ ที่เชื่อมโยงกัน
การขับเคลื่อนที่สมดุลทั้ง 4 มิติ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงข้างต้น มีความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ ดังนี้


“การน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อตอบโจทย์การพัฒนาที่ยั่งยืน นับเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ การพัฒนาจาก “โลกที่มุ่งพัฒนาสู่ความทันสมัย (Modernism)” มาสู่ “โลกที่มุ่งพัฒนาสู่ความยั่งยืน (Sustainism)” ดร.สุวิทย์ กล่าวและชี้ให้ดูที่ทัศนคติ


โลกที่มุ่งสู่ความทันสมัย
•ยิ่งใหญ่ ยิ่งดี (The Bigger, The Better)
•ยิ่งมาก ยิ่งดี (The More, The Better)
•ยิ่งเร็ว ยิ่งดี (The Faster, The Better)


โลกที่มุ่งสู่ความยั่งยืน
•ยิ่งดี ยิ่งใหญ่ (The Better,The Bigger)
•ยิ่งดี ยิ่งมาก (The Better,The More)
•ยิ่งดี ยิ่งเร็ว (The Better,The Faster)


ดังนั้น ด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งประกอบด้วย 3 ห่วง คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกันความเสี่ยง และ 2 เงื่อนไข คือ การมีความรู้และคุณธรรม สามารถนำไปประยุกต์ใช้ขับเคลื่อนความสมดุลในระดับประเทศ ระดับองค์กรและระดับครอบครัว



ข้อคิด...


วิกฤตโควิด-19 คราวนี้ เป็นปรากฏการณ์ที่ยืนยันหลักการที่ว่า การโดนผลกระทบทั่วหน้า ทำให้เกิดการทบทวนวิธีคิดและแนวทางก้าวต่อไปของทุกวงการ


ระดับบริหารประเทศกำลังจะมีการทบทวนปรับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ให้สอดคล้องกับโลกใหม่ ซึ่งควรสลัดทิ้ง “โลกที่ไม่พึงประสงค์” ที่มีการพัฒนาไร้สมดุลเป็นทุนนิยมที่เห็นแก่ตัวและทำร้ายสังคม


แต่ไปสู่ “โลกที่พึงประสงค์” ที่เป็นการพัฒนาสู่ความยั่งยืน เป็นโลกที่พัฒนาอย่างสมดุลทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม

ในระดับองค์กรธุรกิจและครัวเรือน ก็น่าจะได้บทเรียนที่คำนึงถึงการทำสิ่งที่มีเหตุผล คุ้มค่า ป้องกันความเสี่ยงด้วยความรอบรู้และมีคุณธรรมตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขณะเดียวกัน ก็น่าจะมีความยืดหยุ่น คล่องตัวในการปรับตัวที่พร้อมรับมือความเสี่ยงใหม่
suwatmgr@gmail.com


กำลังโหลดความคิดเห็น