หลายปีมานี้ ขณะที่ผู้นำรัฐบาลชูประเด็นการพัฒนาประเทศสู่ความทันสมัย “ไทยแลนด์ 4.0” ที่หวังยกระดับคุณภาพ ประสิทธิภาพ ทั้งการบริหารจัดการและการดำเนินชีวิต แต่ปรากฏการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ และปัญหาสะสมเรื่องขยะที่ขาดการจัดการที่ดีพอ ก็เป็นกระแสที่สวนกระแสการพัฒนาในยุคดิจิทัล
ไม่เพียงเกิดภาวะโลกร้อนยังมีวิกฤตที่เกิดกับแผ่นดินไหว น้ำท่วม น้ำแล้ง มลภาวะเป็นพิษ และอาการหนักก็คือ ปัญหาขยะล้นเมือง ก็ด้วยน้ำมือคนในเมืองไทยนี่แหละ
การจัดงานสัมมนาใหญ่ประจำปีของเอสซีจีเมื่อเร็วๆนี้ ชูจุดเด่นฉลองปีที่ 10 ของการจัดแบบ Symposium ด้วยหัวข้อ “Circular Economy : Collaboration for Action” เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการพัฒนาระบบ “เศรษฐกิจหมุนเวียน” อย่างจริงจัง ในบริบทของการสร้างความร่วมมือของภาคส่วนต่างๆ ที่เน้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค
งานนี้ได้มีตัวแทน 45 พันธมิตรภาครัฐ เอกชนและภาคประชาชนทั้งระดับประเทศและระดับโลก รวมทั้งผู้แทนจากองค์การสหประชาชาติ (UN) ผู้แทนจากสภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (WBCSD) ร่วมกันผนึกกำลัง ระดมสมองลุยแก้วิกฤตทรัพยากรด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน รณรงค์การ “ใช้ให้คุ้ม แยกให้เป็น ทิ้งให้ถูก” เพื่อการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าตลอดวงจรการผลิต การบริโภคและการนำกลับมาใช้ใหม่
หวังว่าจะสร้างอุตสาหกรรมยั่งยืน แก้ปัญหาขยะในทะเล สร้างคุณภาพชีวิตของชุมชนให้ดีขึ้น และบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม กุญแจความสำเร็จคือการมีระบบโครงสร้างพื้นฐาน การสร้างความรู้ความเข้าใจ การพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีและการกำจัดขยะอย่างถูกวิธี
รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี กล่าวในงานสัมมนาว่า “การขยายตัวของประชากรโลกที่คาดว่าจะสูงขึ้นถึง 9.7 พันล้านคนภายในปี ค.ศ.2050 นำไปสู่ความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้นมหาศาล ขณะที่ทรัพยากรโลกมีจำกัด นอกจากนี้ ข้อมูลยังระบุว่าคนไทยหนึ่งคนสร้างขยะเฉลี่ย 1.15 กิโลกรัมต่อวัน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยในปี 2561 ประเทศไทยมีขยะถึง 28 ล้านตัน ซึ่งหากเกิดการทิ้งไม่ถูกต้องหรือขาดการจัดการที่ดี ก็จะมีปัญหาขยะไหลสู่ทะเล จนเกิดการสูญเสียของสัตว์ต่างๆ ดังกรณีเสียชีวิตของพะยูนมาเรียมที่ตายเพราะพลาสติก
แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ซึ่งสนับสนุนการหมุนเวียนทรัพยากรที่ใช้แล้วกลับเข้าสู่กระบวนการผลิต (Make-Use-Return) จึงเป็นทางออกที่ช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้ ก็ด้วยการใช้ทรัพยากรและพลังงานให้คุ้มค่า และมีประสิทธิภาพสูงสุดตลอดกระบวนการ รวมถึงการใช้สิ่งของภาชนะ “ใช้ให้คุ้ม แยกให้เป็น ทิ้งให้ถูก” ไม่ทิ้งในแม่น้ำลำคลองหรือทะเล เพื่อส่งต่อทรัพยากรของโลกสู่รุ่นลูกรุ่นหลานต่อไป
ช่วงท้ายที่สำคัญของการสัมมนาครั้งนี้ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล รองประธานกรรมการ บริษัท เอสซีจี ได้นำเสนอผลการระดมสมองการจัดการปัญหาขยะ และได้สรุปเป็นแนวทาง 4 มาตรการเสนอต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อเร่งผลักดันให้เกิดขึ้นจริง ได้แก่
1. ยกเครื่องโครงสร้างพื้นฐานรองรับการบริหารจัดการขยะ โดยหน่วยงานภาครัฐควรมีบทบาทสนับสนุนให้เกิดระบบการบริหารจัดการที่ประสิทธิภาพ ด้วยการยกเครื่องโครงสร้างพื้นฐานและจัดสรรงบประมาณ เพื่อให้การบริหารจัดการขยะแบบคัดแยกที่มีประสิทธิภาพและครบวงจร ดังเช่นประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน และประเทศในแถบสแกนดิเนเวีย ตั้งแต่การจัดเก็บ คัดแยก และนำกลับไปใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด และเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ
โดยเฉพาะขยะตามแหล่งชุมชนที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำ ทั้งแม่น้ำลำคลองและชายทะเล ซึ่งเป็นแหล่งที่ขยะถูกทิ้งลงน้ำ ภาครัฐต้องดูแลจัดให้มีถังขยะเปียกและถังขยะแห้งอย่างเพียงพอ และเพิ่มการให้บริการจัดเก็บขยะให้เพียงพอ ลดการฝังกลบ โดยวิธีการต่างๆ รวมถึงการเปลี่ยนเป็นพลังงาน หากไม่สามารถนำไปรีไซเคิลได้อย่างเหมาะสม
2. ผลักดันให้ภาคธุรกิจผลิตสินค้าที่เอื้อต่อการรีไซเคิล และมีส่วนรับผิดชอบจัดการซากสินค้าเมื่อสิ้นอายุการใช้งาน โดยกำหนดมาตรฐานการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่คำนึงถึงขยะที่จะเกิดขึ้นหลังการใช้งานให้สามารถนำมาหมุนเวียนและเพิ่มมูลค่าได้
จึงต้องสร้างมาตรฐานอุตสาหกรรมให้มีส่วนผสมของวัสดุรีไซเคิลในปริมาณที่เหมาะสม ด้วยการกำหนดเป็นนโยบายการซื้อผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานดังกล่าวของส่วนราชการและภาครัฐ
3. รณรงค์สร้างความรู้ความเข้าใจ ให้ประชาชนลดการสร้างขยะและเพิ่มการรีไซเคิล โดยทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน เริ่มจากครอบครัวต้องปลูกฝังลูกหลาน โรงเรียนต้องบรรจุแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นหลักสูตรภาคบังคับในทุกระดับชั้น
ส่วนภาครัฐ ภาคธุรกิจและสื่อมวลชน ต้องช่วยกันประชาสัมพันธ์การใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า การคัดแยกขยะเปียกและขยะที่รีไซเคิลได้ และการไม่ทิ้งขยะลงแม่น้ำลำคลอง
4. การบังคับใช้กฎหมายและบทลงโทษที่มีอยู่อย่างจริงจัง โดยส่งเสริมการจัดการขยะเปียกในครัวเรือนให้มีประสิทธิภาพ การกำหนดวันจัดเก็บขยะตามประเภท การห้ามทิ้งขยะลงแหล่งน้ำ การดูแลบ่อทิ้งขยะใกล้แหล่งน้ำเพื่อป้องกันขยะรั่วไหลสู่ทะเล ต้องมีการบังคับใช้กฎหมายมาตรฐานฉลากผลิตภัณฑ์ ให้ผู้ผลิตต้องแจ้งข้อมูลวิธีการรีไซเคิลผลิตภัณฑ์หลังใช้งานตามประเภทของวัสดุ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้ประชาชน และภาครัฐต้องบังคับใช้กฎหมายห้ามทิ้ขยะลงแหล่งน้ำอย่างเคร่งครัด จับจริง ลงโทษจริง
“หากข้อเสนอเหล่านี้ได้รับการพิจารณาและดำเนินการต่อไป เชื่อมั่นว่าวิกฤตขยะจะลดน้อยลง ลูกหลานของเราจะมีโลกที่น่าอยู่ขึ้น เพราะเราจะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นร่วมกัน” ดร.สุเมธ กล่าวย้ำ
น่ายินดีที่ นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ ด้วยการตอบรับว่า เห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าว
“วันนี้ผมยินดีอย่างยิ่งที่ได้เห็นความพยายามของทุกภาคส่วนร่วมระดมสมองแก้ไขปัญหา โดยภาครัฐจะทำหน้าที่หลักในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ดี และเอื้อต่อการปรับตัวของภาคธุรกิจ ควบคู่การส่งเสริมพฤติกรรมผู้บริโภค ส่วนภาคธุรกิจต้องให้ความสำคัญกับการปรับปรุงกระบวนการผลิตรวมทั้งการพัฒนาโมเดลธุรกิจที่ผสมผสานนวัตกรรม และภาคประชาชนต้องปรับพฤติกรรม สร้างขยะให้น้อยลง และคัดแยกขยะ ส่วนการเก็บขยะ ไม่เทรวม ไม่ทิ้งรวม ต้องแยก ก็ได้มอบให้กระทรวงมหาดไทยไปแก้ปัญหานี้”
พร้อมกับตอบตอนหนึ่งว่า “การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนภายใต้การดำเนินงานร่วมกันของทุกภาคส่วน จะทำให้ประเทศมีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น และมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยพึ่งพาทรัพยากรน้อยลง เพื่อชีวิตและสังคมที่ดีของทุกคน โดยไม่ทิ้งภาระไว้ให้ลูกหลานของเรา และผมในฐานะผู้นำภาครัฐจะนำสิ่งที่ทุกท่านได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และระดมความคิดในวันนี้ ไปส่งเสริมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปปรับใช้ ตลอดจนสื่อสารให้ประชาชนได้รับรู้ เพื่อร่วมกันผลักดันสู่การลงมือปฏิบัติจริงให้ได้ต่อไป”
ข้อคิด...
ทุกวันนี้ ธรรมชาติได้แสดงปรากฏการณ์ความผันผวนไม่แน่นอน ไม่จำกัดเวลาและภูมิประเทศ ผลกระทบเดือดร้อนถึงขั้นวิกฤตด้านสภาพแวดล้อมในหลายภูมิภาคของโลก รวมทั้ง “ภาวะโลกร้อน” ที่มนุษย์มีส่วนสร้างเหตุปัจจัยให้เกิดขึ้น
จิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรหรือ CSR จึงหมายรวมถึงประเด็นสิ่งแวดล้อมที่ผู้บริหารและผู้คนทุกระดับต้องตระหนักในการไม่ผลิตและบริโภคอย่างเห็นแก่ตัว แต่สร้างผลเสียหายต่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมธรรมชาติในระยะยาว
บัน คีมูน อดีตเลขาธิการสหประชาชาติจึงเตือนว่าเราอาศัยและใช้ทรัพยากรในโลกใบนี้ใบเดียว มนุษยชาติจึงต้องร่วมมือกันเปลี่ยนพฤติกรรมเลิกทำลายและผลาญใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อช่วยกันรักษาโลกใบนี้ให้อยู่ในระยะยาว “เราไม่มีแผนสำรอง เพราะเราไม่มีโลกสำรอง”
บทบาทเช่นนี้ของกลุ่มเอสซีจี จึงได้แสดงความเป็นผู้นำภาคเอกชนในการริเริ่มสร้างสรรค์และผลักดันแนวคิด “เศรษฐกิจหมุนเวียน” ด้วยการจัดสัมมนาต่อเนื่องมา 10 ปี จนปีนี้ก้าวมาถึงขั้นได้รวมพลัง 45 พันธมิตรในการลงมือทำทั้งตัวเอสซีจีเอง และร่วมมือกับพันธมิตรในโครงการลดใช้ทรัพยากร ลดขยะพลาสติก ใช้นวัตกรรมสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่หรือแปรรูปหมุนเวียนนำกลับมาใช้ใหม่ได้
โดยเฉพาะ 4 มาตรการที่เสนอนายกรัฐมนตรี เพื่อผลักดันกลไกรัฐให้จัดกาผปรแก้ปัญหาขยะในประเทศไทย หวังว่าทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะตื่นตัวร่วมกันสร้างสิ่งดีให้สภาพแวดล้อมให้น่าอยู่ได้เกิดผลเป็นจริง
suwatmgr@gmail.com
ไม่เพียงเกิดภาวะโลกร้อนยังมีวิกฤตที่เกิดกับแผ่นดินไหว น้ำท่วม น้ำแล้ง มลภาวะเป็นพิษ และอาการหนักก็คือ ปัญหาขยะล้นเมือง ก็ด้วยน้ำมือคนในเมืองไทยนี่แหละ
การจัดงานสัมมนาใหญ่ประจำปีของเอสซีจีเมื่อเร็วๆนี้ ชูจุดเด่นฉลองปีที่ 10 ของการจัดแบบ Symposium ด้วยหัวข้อ “Circular Economy : Collaboration for Action” เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการพัฒนาระบบ “เศรษฐกิจหมุนเวียน” อย่างจริงจัง ในบริบทของการสร้างความร่วมมือของภาคส่วนต่างๆ ที่เน้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค
งานนี้ได้มีตัวแทน 45 พันธมิตรภาครัฐ เอกชนและภาคประชาชนทั้งระดับประเทศและระดับโลก รวมทั้งผู้แทนจากองค์การสหประชาชาติ (UN) ผู้แทนจากสภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (WBCSD) ร่วมกันผนึกกำลัง ระดมสมองลุยแก้วิกฤตทรัพยากรด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน รณรงค์การ “ใช้ให้คุ้ม แยกให้เป็น ทิ้งให้ถูก” เพื่อการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าตลอดวงจรการผลิต การบริโภคและการนำกลับมาใช้ใหม่
หวังว่าจะสร้างอุตสาหกรรมยั่งยืน แก้ปัญหาขยะในทะเล สร้างคุณภาพชีวิตของชุมชนให้ดีขึ้น และบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม กุญแจความสำเร็จคือการมีระบบโครงสร้างพื้นฐาน การสร้างความรู้ความเข้าใจ การพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีและการกำจัดขยะอย่างถูกวิธี
รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี กล่าวในงานสัมมนาว่า “การขยายตัวของประชากรโลกที่คาดว่าจะสูงขึ้นถึง 9.7 พันล้านคนภายในปี ค.ศ.2050 นำไปสู่ความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้นมหาศาล ขณะที่ทรัพยากรโลกมีจำกัด นอกจากนี้ ข้อมูลยังระบุว่าคนไทยหนึ่งคนสร้างขยะเฉลี่ย 1.15 กิโลกรัมต่อวัน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยในปี 2561 ประเทศไทยมีขยะถึง 28 ล้านตัน ซึ่งหากเกิดการทิ้งไม่ถูกต้องหรือขาดการจัดการที่ดี ก็จะมีปัญหาขยะไหลสู่ทะเล จนเกิดการสูญเสียของสัตว์ต่างๆ ดังกรณีเสียชีวิตของพะยูนมาเรียมที่ตายเพราะพลาสติก
แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ซึ่งสนับสนุนการหมุนเวียนทรัพยากรที่ใช้แล้วกลับเข้าสู่กระบวนการผลิต (Make-Use-Return) จึงเป็นทางออกที่ช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้ ก็ด้วยการใช้ทรัพยากรและพลังงานให้คุ้มค่า และมีประสิทธิภาพสูงสุดตลอดกระบวนการ รวมถึงการใช้สิ่งของภาชนะ “ใช้ให้คุ้ม แยกให้เป็น ทิ้งให้ถูก” ไม่ทิ้งในแม่น้ำลำคลองหรือทะเล เพื่อส่งต่อทรัพยากรของโลกสู่รุ่นลูกรุ่นหลานต่อไป
ช่วงท้ายที่สำคัญของการสัมมนาครั้งนี้ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล รองประธานกรรมการ บริษัท เอสซีจี ได้นำเสนอผลการระดมสมองการจัดการปัญหาขยะ และได้สรุปเป็นแนวทาง 4 มาตรการเสนอต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อเร่งผลักดันให้เกิดขึ้นจริง ได้แก่
1. ยกเครื่องโครงสร้างพื้นฐานรองรับการบริหารจัดการขยะ โดยหน่วยงานภาครัฐควรมีบทบาทสนับสนุนให้เกิดระบบการบริหารจัดการที่ประสิทธิภาพ ด้วยการยกเครื่องโครงสร้างพื้นฐานและจัดสรรงบประมาณ เพื่อให้การบริหารจัดการขยะแบบคัดแยกที่มีประสิทธิภาพและครบวงจร ดังเช่นประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน และประเทศในแถบสแกนดิเนเวีย ตั้งแต่การจัดเก็บ คัดแยก และนำกลับไปใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด และเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ
โดยเฉพาะขยะตามแหล่งชุมชนที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำ ทั้งแม่น้ำลำคลองและชายทะเล ซึ่งเป็นแหล่งที่ขยะถูกทิ้งลงน้ำ ภาครัฐต้องดูแลจัดให้มีถังขยะเปียกและถังขยะแห้งอย่างเพียงพอ และเพิ่มการให้บริการจัดเก็บขยะให้เพียงพอ ลดการฝังกลบ โดยวิธีการต่างๆ รวมถึงการเปลี่ยนเป็นพลังงาน หากไม่สามารถนำไปรีไซเคิลได้อย่างเหมาะสม
2. ผลักดันให้ภาคธุรกิจผลิตสินค้าที่เอื้อต่อการรีไซเคิล และมีส่วนรับผิดชอบจัดการซากสินค้าเมื่อสิ้นอายุการใช้งาน โดยกำหนดมาตรฐานการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่คำนึงถึงขยะที่จะเกิดขึ้นหลังการใช้งานให้สามารถนำมาหมุนเวียนและเพิ่มมูลค่าได้
จึงต้องสร้างมาตรฐานอุตสาหกรรมให้มีส่วนผสมของวัสดุรีไซเคิลในปริมาณที่เหมาะสม ด้วยการกำหนดเป็นนโยบายการซื้อผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานดังกล่าวของส่วนราชการและภาครัฐ
3. รณรงค์สร้างความรู้ความเข้าใจ ให้ประชาชนลดการสร้างขยะและเพิ่มการรีไซเคิล โดยทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน เริ่มจากครอบครัวต้องปลูกฝังลูกหลาน โรงเรียนต้องบรรจุแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นหลักสูตรภาคบังคับในทุกระดับชั้น
ส่วนภาครัฐ ภาคธุรกิจและสื่อมวลชน ต้องช่วยกันประชาสัมพันธ์การใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า การคัดแยกขยะเปียกและขยะที่รีไซเคิลได้ และการไม่ทิ้งขยะลงแม่น้ำลำคลอง
4. การบังคับใช้กฎหมายและบทลงโทษที่มีอยู่อย่างจริงจัง โดยส่งเสริมการจัดการขยะเปียกในครัวเรือนให้มีประสิทธิภาพ การกำหนดวันจัดเก็บขยะตามประเภท การห้ามทิ้งขยะลงแหล่งน้ำ การดูแลบ่อทิ้งขยะใกล้แหล่งน้ำเพื่อป้องกันขยะรั่วไหลสู่ทะเล ต้องมีการบังคับใช้กฎหมายมาตรฐานฉลากผลิตภัณฑ์ ให้ผู้ผลิตต้องแจ้งข้อมูลวิธีการรีไซเคิลผลิตภัณฑ์หลังใช้งานตามประเภทของวัสดุ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้ประชาชน และภาครัฐต้องบังคับใช้กฎหมายห้ามทิ้ขยะลงแหล่งน้ำอย่างเคร่งครัด จับจริง ลงโทษจริง
“หากข้อเสนอเหล่านี้ได้รับการพิจารณาและดำเนินการต่อไป เชื่อมั่นว่าวิกฤตขยะจะลดน้อยลง ลูกหลานของเราจะมีโลกที่น่าอยู่ขึ้น เพราะเราจะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นร่วมกัน” ดร.สุเมธ กล่าวย้ำ
น่ายินดีที่ นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ ด้วยการตอบรับว่า เห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าว
“วันนี้ผมยินดีอย่างยิ่งที่ได้เห็นความพยายามของทุกภาคส่วนร่วมระดมสมองแก้ไขปัญหา โดยภาครัฐจะทำหน้าที่หลักในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ดี และเอื้อต่อการปรับตัวของภาคธุรกิจ ควบคู่การส่งเสริมพฤติกรรมผู้บริโภค ส่วนภาคธุรกิจต้องให้ความสำคัญกับการปรับปรุงกระบวนการผลิตรวมทั้งการพัฒนาโมเดลธุรกิจที่ผสมผสานนวัตกรรม และภาคประชาชนต้องปรับพฤติกรรม สร้างขยะให้น้อยลง และคัดแยกขยะ ส่วนการเก็บขยะ ไม่เทรวม ไม่ทิ้งรวม ต้องแยก ก็ได้มอบให้กระทรวงมหาดไทยไปแก้ปัญหานี้”
พร้อมกับตอบตอนหนึ่งว่า “การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนภายใต้การดำเนินงานร่วมกันของทุกภาคส่วน จะทำให้ประเทศมีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น และมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยพึ่งพาทรัพยากรน้อยลง เพื่อชีวิตและสังคมที่ดีของทุกคน โดยไม่ทิ้งภาระไว้ให้ลูกหลานของเรา และผมในฐานะผู้นำภาครัฐจะนำสิ่งที่ทุกท่านได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และระดมความคิดในวันนี้ ไปส่งเสริมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปปรับใช้ ตลอดจนสื่อสารให้ประชาชนได้รับรู้ เพื่อร่วมกันผลักดันสู่การลงมือปฏิบัติจริงให้ได้ต่อไป”
ข้อคิด...
ทุกวันนี้ ธรรมชาติได้แสดงปรากฏการณ์ความผันผวนไม่แน่นอน ไม่จำกัดเวลาและภูมิประเทศ ผลกระทบเดือดร้อนถึงขั้นวิกฤตด้านสภาพแวดล้อมในหลายภูมิภาคของโลก รวมทั้ง “ภาวะโลกร้อน” ที่มนุษย์มีส่วนสร้างเหตุปัจจัยให้เกิดขึ้น
จิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรหรือ CSR จึงหมายรวมถึงประเด็นสิ่งแวดล้อมที่ผู้บริหารและผู้คนทุกระดับต้องตระหนักในการไม่ผลิตและบริโภคอย่างเห็นแก่ตัว แต่สร้างผลเสียหายต่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมธรรมชาติในระยะยาว
บัน คีมูน อดีตเลขาธิการสหประชาชาติจึงเตือนว่าเราอาศัยและใช้ทรัพยากรในโลกใบนี้ใบเดียว มนุษยชาติจึงต้องร่วมมือกันเปลี่ยนพฤติกรรมเลิกทำลายและผลาญใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อช่วยกันรักษาโลกใบนี้ให้อยู่ในระยะยาว “เราไม่มีแผนสำรอง เพราะเราไม่มีโลกสำรอง”
บทบาทเช่นนี้ของกลุ่มเอสซีจี จึงได้แสดงความเป็นผู้นำภาคเอกชนในการริเริ่มสร้างสรรค์และผลักดันแนวคิด “เศรษฐกิจหมุนเวียน” ด้วยการจัดสัมมนาต่อเนื่องมา 10 ปี จนปีนี้ก้าวมาถึงขั้นได้รวมพลัง 45 พันธมิตรในการลงมือทำทั้งตัวเอสซีจีเอง และร่วมมือกับพันธมิตรในโครงการลดใช้ทรัพยากร ลดขยะพลาสติก ใช้นวัตกรรมสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่หรือแปรรูปหมุนเวียนนำกลับมาใช้ใหม่ได้
โดยเฉพาะ 4 มาตรการที่เสนอนายกรัฐมนตรี เพื่อผลักดันกลไกรัฐให้จัดกาผปรแก้ปัญหาขยะในประเทศไทย หวังว่าทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะตื่นตัวร่วมกันสร้างสิ่งดีให้สภาพแวดล้อมให้น่าอยู่ได้เกิดผลเป็นจริง
suwatmgr@gmail.com