xs
xsm
sm
md
lg

เดลต้าจัดสัมมนา-ดันอาเซียนเป็นเมืองอัจฉริยะ

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


เดลต้าฯ มุ่งผลักดันไอเดียเปลี่ยนอาเซียนให้เป็นเมืองอัจฉริยะ จัดสัมมนา Delta Future Industry Summit 2019 เสริมพลังผู้นำในภูมิภาคเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้านดิจิทัล อุตสาหกรรม และโซลูชั่นสีเขียว

บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) จัดงานสัมมนา Delta Future Industry Summit ครั้งที่ 2 เพื่อเปิดโอกาสให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้พบปะพูดคุยและแบ่งปันความคิดเห็นในการพัฒนาอุตสาหกรรมในอาเซียนภายใต้หัวข้อ Powering ASEAN’s Urban Transformation ณ โรงแรมเรเนซองส์ ราชประสงค์ กรุงเทพฯ งานสัมมนาครั้งนี้ได้รวบรวมผู้บริหารระดับสูงที่มีอำนาจตัดสินใจ เพื่อหารือและสัมผัสโซลูชั่นสำหรับเมืองอัจฉริยะ อันประกอบด้วยการขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า (E-mobility) พลังงานแสงอาทิตย์ ระบบอุตสาหกรรมอัตโนมัติ ไฟฟ้าสำหรับงานอุตสาหกรรม ดาต้าเซ็นเตอร์ ระบบระบายอากาศอัจฉริยะ และโซลูชั่นการกักเก็บพลังงาน

นายแจ็คกี้ ชาง รองประธาน บริษัท เดลต้าฯ

ความโดดเด่นของงานสัมมนาประจำปีในครั้งนี้แตกต่างจากงานสัมมนาทั่วไปคือการให้ความสำคัญกับประสบการณ์ของผู้เข้าร่วมงานสัมมนาทุกภาคส่วน

“เราเชื่อมั่นในการเชื่อมโยงผู้คนด้วยค่านิยมที่มีร่วมกันของเรา นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราถึงตัดสินใจจัดงานสัมมนาแบบเปิดกว้างให้ทุกคนมีส่วนร่วม เดลต้าเชื่อว่าความสำเร็จของทุกคนเป็นสิ่งสำคัญ เพราะในโลกที่เชื่อมต่อกันทุกวันนี้ เราสามารถสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ร่วมกันได้มากมาย” นายแจ็คกี้ ชาง รองประธาน บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) กล่าว

นายภานุวัฒน์ ตริยางกูรศรี ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม

สืบเนื่องจากการที่ประเทศไทยรับหน้าที่เป็นประธานอาเซียนประจำปี 2562 รัฐบาลได้นำเสนอนโยบายประเทศไทย 4.0 เพื่อขับเคลื่อนเทคโนโลยีและนวัตกรรมในท้องถิ่น นายภานุวัฒน์ ตริยางกูรศรี ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า “โครงการ Big Brother หรือ พี่ช่วยน้อง เป็นโครงการที่ช่วยเชื่อมโยงวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเข้ากับบริษัทนวัตกรรมขนาดใหญ่เพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน ในปีนี้ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงกับเดลต้า เพื่อร่วมมือกันยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในไทยด้วยเทคโนโลยีอัตโนมัติ ตลอดจนแนะนำองค์ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจ การบริหารจัดการ และเทคโนโลยียุคใหม่ให้แก่ผู้ประกอบการ”

ดร.ศุภกร สิทธิไชย ผู้อำนวยการรองประธานฝ่ายส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) กล่าว ย้ำถึงความร่วมมือที่มากขึ้นและการแบ่งปันข้อมูลร่วมกันว่า จะช่วยส่งเสริมให้การนำโซลูชั่นอัจฉริยะไปปรับใช้ในท้องถิ่นเกิดขึ้นได้จริงและมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้

นายปีเตอร์ แกลลิ รองประธานด้านการสื่อสาร บริษัท นิสสัน มอเตอร์ฯ

อย่างไรก็ดี การเติบโตอย่างรวดเร็วและการขยายตัวของเมืองในอาเซียนก่อให้เกิดวิกฤติมลพิษทางอากาศในหลายเมืองหลัก ดังนั้น ในช่วงของการสนทนาอภิปรายเกี่ยวกับโซลูชั่นอัจฉริยะต่างๆ ซึ่งจะช่วยปกป้องผู้คนจากปัญหามลภาวะทางอากาศทั้งภายในและภายนอกอาคาร นายปีเตอร์ แกลลิ รองประธานด้านการสื่อสาร บริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึงประเด็นต่างๆ ที่อุตสาหกรรมยานยนต์ควรคำนึงถึงในการแก้ปัญหามลพิษทางอากาศ รวมถึงการลดการปล่อยมลพิษทางอากาศ การเพิ่มปริมาณยานยนต์ไฟฟ้า และการนำแบตเตอรี่ของยานยนต์ไฟฟ้ากลับมาใช้ซ้ำ

พร้อมทั้ง ย้ำถึงกลยุทธ์การใช้พลังงานไฟฟ้าของนิสสัน ซึ่งให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนไปใช้ยานยนต์ไฟฟ้าผ่านการทำงานร่วมกัน ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ของยานยนต์ด้วยโอกาสที่เกิดขึ้นจากอีโคซิสเต็มส์ของยานยนต์ไฟฟ้าที่แข็งแกร่งผ่านการทำงานร่วมกันของภาครัฐและเอกชน

“ความสามารถของเราในการจัดหาระบบชาร์จและการให้ความช่วยเหลือสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า นิสสัน ลีฟ ทั้งหมดในประเทศไทยขึ้นอยู่กับพันธมิตรที่สำคัญทั้งหน่วยงานภาครัฐ เช่น การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และ บริษัทเอกชน เช่น เดลต้า อีเลคโทรนิคส์

ในขณะที่ความต้องการไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้นจากการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้า ตลอดจนการเติบโตของอุตสาหกรรมและธุรกิจดิจิทัล นำมาซึ่งความต้องการโซลูชั่นด้านพลังงานรูปแบบใหม่ ผู้เชี่ยวชาญอธิบายถึงเทคโนโลยีการเก็บกักและสำรองพลังงานเพื่อให้มีไฟฟ้าเพียงพอสำหรับระบบโครงข่ายจ่ายไฟฟ้าต่างๆ

โดยมี ดร.ศุภกร สิทธิไชย ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมเมืองอัจฉริยะสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) นายกิตติศักดิ์ เงินงอกงาม ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) นายมนัส อรุญวัฒนาพร ผู้ช่วยผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบไฟฟ้าแห่งการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และนายพงศกร ลิมปกาญจน์เวช ผู้จัดการอาววุธโส แผนกพัฒนาเมืองอัจฉริยะ บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) ได้ให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการกักเก็บพลังงานเพื่อนำไปใช้กับระบบโครงข่ายจ่ายไฟอัจฉริยะ

ในประเด็นเกี่ยวกับคุณภาพอากาศภายในอาคาร รศ.ดร.มานิสา พิพัฒนสมพร อาจารย์หน่วยปฎิบัติการวิจัยสมาร์ทกริด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนายอรรรณพ กิ่งขจี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการบริษัท อีอีซี เอนจิเนียริ่ง เน็ทเวิร์ค จำกัด กล่าวถึงแนวโน้มและโซลูชั่นล่าสุดด้านอาคารอัจฉริยะในการกรองฝุ่นละออง PM2.5 และระบบจัดการอากาศอัจฉริยะ (HVAC) ที่ประหยัดพลังงาน นอกจากนี้ นายภาสกร ธรรมวิทยากร ผู้จัดการอาวุโสของเดลต้า ยังให้รายละเอียดถึงโซลูชั่นควบคุมคุณภาพอากาศภายในอาคารที่ใช้เทคโนโลยีพัดลมไฟฟ้ากระแสตรง แกนกลางแลกเปลี่ยนความร้อน และแผ่นกรองอากาศ HEPA เพื่อประหยัดพลังงานและให้อากาศเย็นบริสุทธิ์ทั่วบ้านทั้งหลัง


กำลังโหลดความคิดเห็น