xs
xsm
sm
md
lg

รู้ยัง? คนทำลายป่า ทำร้ายสัตว์ป่า! กรมอุทยานฯ ใช้ระบบลาดตระเวน SMART

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

การลาดตระเวนเชิงคุณภาพ (Smart Patrol System) สามารถเพิ่มศักยภาพให้ทั้งในการป้องกัน การปราบปราม และการจัดการพื้นที่โดยการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศ ภูมิศาสตร์ (GIS) การจัดระบบการเก็บ วิเคราะห์ และประมวลผลข้อมูลที่มีประสิทธิภาพและเป็นรูปแบบเดียวกันในทุกพื้นที่
ทุกวันนี้ ทางกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เขาใช้ระบบลาดตระเวนเชิงคุณภาพ หรือ Smart Patrol System ซึ่งเป็นระบบที่ทันสมัยโดยใช้ทั้งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาเสริมการทำงานของเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า โดยเรียกระบบฐานข้อมูลนี้ว่า “สมาร์ท” หรือ SMART (Spatial Monitoring And Reporting Tool)
พูดสั้นๆ เป้าหมายหลัก่ของการใช้ระบบนี้ก็คือ ติดหัวรบให้แก่เจ้าหน้าที่มีข้อมูลและเทคโนโลยี สามารถดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังไปเสริมสร้างกำลังใจที่เข้มแข็ง จนเจ้าหน้าที่มีความภูมิใจในหน้าที่ “ผู้พิทักษ์ป่า”
เป้าหมายสูงสุดของระบบนี้ จึงต้องการให้สัตว์ป่าและพันธุ์พืชที่มีค่าและใกล้สูญพันธุ์รอดพ้นจากการทำลายโดยมนุษย์ และให้สัตว์ป่าและพันธุ์พืชทำหน้าที่ดำรงรักษาระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมที่ดีให้แก่สังคมโดยรวมตลอดไป

สำหรับขั้นตอนการปฏิบัติงาน การลาดตระเวนเชิงคุณภาพ มีการพัฒนาให้เจ้าหน้าที่ลาดตระเวนสามารถบันทึกข้อมูลได้ตามมาตรฐานสากล โดยมีรายละเอียดการดำเนินงาน ดังนี้
การเตรียมการมาตรฐานข้อมูล คือ ต้องมีการกำหนดชนิดข้อมูล ตามแนวทางการจัดการที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ ชนิดสัตว์ป่าหรือพืชที่ต้องการจะถูกกำหนดลงในโครงสร้างของข้อมูล และมาตรฐานการเก็บข้อมูลตามแบบฟอร์มจะถูกออกแบบให้เหมาะสมกับพื้นที่
การบริหารจัดการ เจ้าหน้าที่ของอุทยานแห่งชาติหรือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า จะดำเนินการประชุมเพื่อวางแผนการดำเนินการลาดตระเวน โดยจะมีการกำหนดพื้นที่ในการลาดตระเวน และแบ่งส่วนการจัดการพื้นที่ให้ชัดเจน ตามพื้นที่ที่หน่วยพิทักษ์อุทยานหรือหน่วยพิทักษ์ป่ารับผิดชอบ มีการจัดฝึกอบรมเจ้าหน้ามี่ผู้ปฏิบัติงานลาดตระเวน เพื่อให้มีความเข้าใจในจุดประสงค์ของการลาดตระเวน ตลอดจนมีความรู้ในการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น การใช้เครื่องหาพิกัดด้วยดาวเทียมหรือ GPS การใช้กล้องถ่ายรูป Digital ความรู้เกี่ยวกับการวัดขนาดร่องรอยสัตว์ป่า การกรอกข้อมูลลงในแบบฟอร์มการบันทึกข้อมูล เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานลาดตระเวนออกตรวจลาดตระเวนในพื้นที่รับผิดชอบตามแผนที่กำหนดและเก็บข้อมูล ข้อมูลดิบถูกบันทึกในแบบฟอร์มมาตรฐาน (Data Form) การนำเข้าข้อมูล การถ่ายโอน การจัดเก็บเป็นระบบ การวิเคราะห์และรายงาน มีข้อมูลที่วิเคราะห์แล้วและเป็นประโยชน์ต่อการจัดการ (Information) การดำเนินการจัดการตามข้อมูลที่วิเคราะห์แล้ว ซึ่งนำไปสู่ การตัดสิน การวางแผน การดำเนินการ และการบังคับใช้กฎหมาย
เป้าสูงสุดของระบบนี้คือการปกป้องทรัพยากรธรรมชาติที่มีประสิทธิภาพ เป็นเหตุผลหลักที่กรมอุทยานแห่งชาติฯ นำมาใช้กับภารกิจด้านการดูแลป้องกันทรัพยากรธรรมชาติซึ่งเป็นสมบัติของคนไทยทุกคนให้คงอยู่สืบต่อไป
นับจากนี้ การลาดตระเวนเชิงคุณภาพ (Smart Patrol System) ของคนเฝ้าป่า โดยเฉพาะการเดินลาดตระเวนในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ซึ่งถูกออกแบบและพัฒนาขึ้น โดยสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่าประเทศไทย (WCS) ก็จะเป็นการเพิ่มศักยภาพทั้งในด้านการป้องกัน การปราบปราม และการจัดการพื้นที่โดยการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศ ภูมิศาสตร์ (GIS) การจัดระบบการเก็บ วิเคราะห์ และประมวลผลข้อมูลที่มีประสิทธิภาพและเป็นรูปแบบเดียวกันในทุกพื้นที่

ข้อมูลที่มา : เพจ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช


กำลังโหลดความคิดเห็น