xs
xsm
sm
md
lg

ท้าประลองทักษะสะเต็ม ปลูกฝังความเป็นวิศวกรตัวน้อย

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


เสียงหัวเราะและรอยยิ้มแสดงถึงความสนุกสนานในการลงมือทดลองทำกิจกรรม “กระดานเลื่อนหิมะ” และ “ดาวเทียมมหาสนุก” ถึงแม้การทดลองจะล้มเหลวหลายครั้ง แต่เด็กๆ ก็ยังรู้สึกสนุกสนานที่จะแก้ไขและคิดวิธีทำให้การทดลองประสบความสำเร็จให้ได้
นี่คือเสน่ห์ของการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมแบบ Hands-on หรือกิจกรรมที่เน้นให้เด็กได้ลงมือทำ ซึ่งจะช่วยให้เด็กๆ ได้พัฒนาทักษะการคิด วิเคราะห์ ทำงานเป็นทีม ทั้งยังช่วยจุดประกายและต่อยอดการเรียนรู้แบบไม่รู้จบจากโครงการ Chevron Enjoy Science: สนุกวิทย์ พลังคิด เพื่ออนาคต โดย บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ร่วมกับ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) มาสร้างแรงบันดาลใจแก่เยาวชนให้หันมาสนใจสะเต็ม
ในการนำกิจกรรม Enjoy Design Challenge ได้แก่ “กระดานเลื่อนหิมะ” (Bobsleds) และ “ดาวเทียมมหาสนุก” (Soaring Satellites) ซึ่งได้รับการพัฒนาจากกิจกรรมต้นแบบของ Museum of Science (MOS) เมืองบอสตัน สหรัฐอเมริกา ภายใต้คอนเซ็ปท์ “ทุกคนสามารถเป็นวิศวกรได้” เพื่อช่วยเติมเต็มความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการให้เด็กๆ ในสาขาสะเต็มโดยไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในห้องเรียน และยังช่วยให้เยาวชนอยากปลดปล่อยพลังความคิดสร้างสรรค์อย่างสนุกสนานและเกิดความอยากรู้อยากเห็นในการเรียนรู้และทดลอง ฝึกคิด ฝึกแก้ปัญหา เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิดและการออกแบบเชิงวิศวกรรมศาสตร์ อันเป็นหนึ่งในสาขาสะเต็มที่ทุกวันนี้
ซึ่งหลายประเทศทั่วโลกต่างตระหนักถึงความสำคัญที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทาง ด้วยเหตุนี้ องค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนต่างลงทุนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้านสะเต็มในบริบทที่หลากหลาย การเรียนรู้สะเต็มนอกห้องเรียน (Informal STEM Education) ถือเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือสำคัญในการสนับสนุนการเรียนรู้สะเต็มให้แก่เยาวชนไทยในปัจุจบัน ซึ่งจะเติบโตเป็นแรงงานไทยในอนาคต
ดาวเทียมมหาสนุก
กระดานเลื่อนหิมะ
 Enjoy Design Challenge 2 กิจกรรม คือ กิจกรรมกระดานเลื่อนหิมะ (Bobsleds) เด็กจะมีโอกาสสร้างกระดานเลื่อน โดยเด็กเป็นผู้กำหนดเป้าหมายการสร้างเอง ว่าอยากให้วิ่งได้เร็ว หรือช้า จากวัสดุที่จัดเตรียมไว้ ซึ่งแต่ละวัสดุจะเป็นปัจจัยที่ให้การเคลื่อนที่เร็ว ช้าต่างกัน เช่น น้ำหนัก พื้นผิววัสดุ โดยเด็กจะเรียนรู้ สร้างต้นแบบ และทดสอบได้ด้วยตนเอง อีกทั้งมีกระบวนการที่ทำให้เด็กสามารถปรับแต่ง (Re-design) ตามที่ต้องการจนกว่าจะพอใจ ซึ่งเด็กจะได้แข่งขันกับตัวเองตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
สำหรับ กิจกรรมดาวเทียมมหาสนุก (Soaring Satellites) เด็กจะมีโอกาสสร้างยานดาวเทียมที่จะประกอบไปด้วยเสาส่งดาวเทียมและวัสดุที่เป็นตัวยานให้สามารถบินอยู่ได้ในท่ออากาศตามระยะทางและเวลาที่กำหนด เด็กๆ จะต้องนำแนวคิดเรื่องน้ำหนักและการลอยตัวมาใช้เพื่อพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ให้ตอบโจทย์ความท้าทายดังกล่าว ซึ่งทั้ง 2 กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่สอดแทรกกระบวนการออกแบบทางวิศวกรรมศาสตร์ที่มีอยู่รอบตัวเรา ทั้งยังส่งเสริมการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ทางวิศวกรรมผ่านกระบวนการคิด ออกแบบ และทดลองทำชิ้นงานจริง
ขณะนี้จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ทั้งสองแห่งของ อพวช. คือ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ อ. คลองห้า จ.ปทุมธานี และ ภายใน Enjoy Maker Space ณ จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. อาคารจามจุรีสแควร์