xs
xsm
sm
md
lg

แบนพาราควอต! ในเงื้อมมือ "คณะกรรมการวัตถุอันตราย"

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


เพจไบโอไทย (Biothai) หรือมูลนิธิชีววิถี ระบุว่าตามที่เคยวิเคราะห์อนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อพิจารณา “พาราควอต” น่าจะเสนอให้มีการใช้พาราควอตต่อไป แต่การตัดสินใจชี้ขาดเกี่ยวกับการแบนพาราควอตหรือไม่อยู่ที่ "คณะกรรมการวัตถุอันตราย"
ซึ่งมีกรรมการทั้งสิ้น 29 คน มาจากตัวแทนหน่วยงานรัฐ 19 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ 10 คน ดังนั้นหากรัฐบาล โดยนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีประสงค์จะแบนสารพิษร้ายแรงนี้จริงๆ ก็ไม่เป็นเรื่องยากแต่ประการใด
เนื่องจากเมื่อดูจากรายชื่อกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 10 คน ไบโอไทยพบว่ามีคนเกี่ยวข้องกับบริษัทสารพิษกำจัดศัตรูพืชที่กระทรวงสาธารณสุขและที่ประชุม 3 กระทรวงหลักที่นายกรัฐมนตรีสั่งการให้หาข้อยุติ ยืนยันให้มีการแบน
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 2 คน มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องโดยตรงกับบริษัทค้าขายสารพิษ เนื่องจากเป็นตัวแทนของสมาคมการค้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ที่ตั้งขึ้นโดยซินเจนทา (เจ้าของผลิตภัณฑ์พาราควอต) มอนซานโต้ (เจ้าของผลิตภัณฑ์ไกลโฟเซต)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 10 คน ซึ่งตามเจตนารมย์ของกฎหมายต้องการให้มี "องค์กรสาธารณประโยชน์" อย่างน้อย 5 คน เข้ามาร่วมกำกับเพื่อให้กฎหมายให้เป็นไปโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม เกษตรกรรมยั่งยืน คุ้มครองผู้บริโภค การจัดการสารเคมีในท้องถิ่น และคุ้มครองสุขอนามัย แต่ปรากฎว่ามีตัวแทนขององค์กรสาธารณประโยชน์ได้รับการแต่งตั้งเป็นตัวแทนได้เพียง 1 คนเท่านั้น ที่เหลือเป็นตัวแทนของภาคเอกชน/บริษัทสารพิษและอดีตข้าราชการ
อย่างไรก็ตาม หากดูสัดส่วนของคณะกรรมการวัตถุอันตรายทั้งหมดจะเห็นว่าเสียงส่วนใหญ่จำนวน 19 คน เป็นกรรมการที่เป็นตัวแทนของหน่วยงานของรัฐ โดยในจำนวนนี้ 11 คน มาจาก 3 หน่วยงานหลัก 3 กระทรวง (สาธารณสุข เกษตร และอุตสาหกรรม) ที่นายกรัฐมนตรีสั่งการให้หาข้อยุติ และมีการประชุมร่วมกันได้ข้อสรุปว่ายืนยันมติเดิมให้มีการแบนพาราควอต
ดังนั้น แม้ว่าจะมีตัวแทนของกลุ่มที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนจำนวนหนึ่งในคณะกรรมการวัตถุอันตราย แต่หากรัฐบาลและรัฐมนตรีีที่เกี่ยวข้องตั้งใจจะให้มีการแบนพาราควอตและคลอร์ไพริฟอสจริงแล้ว รัฐบาลและรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องสามารถมอบหมายตัวแทนจากหน่วยงานของตนให้ลงมติ หรือดำเนินการแบนสารพิษร้ายแรงดังกล่าวได้โดยไม่ยากเย็นแต่ประการใด
คาดว่าอย่างเร็วก่อนสงกรานต์ หรืออย่างช้าก่อนสิ้นเดือนเมษายน 2561 นี้ หากมติของคณะกรรมการวัตถุอันตรายอนุญาตให้มีการใช้พาราควอตสารพิษที่ประเทศผู้คิดค้น ประเทศเจ้าของผลิตภัณฑ์ ประเทศที่่เป็นผู้ผลิตรายใหญ่ และประเทศอื่นๆ รวม 53 ประเทศประกาศแบนแล้ว ให้สามารถใช้ต่อไปได้ แสดงว่ารัฐบาลนี้เลือกผลประโยชน์ของบริษัทสารพิษมากกว่าจะปกป้องผลสุขภาพของประชาชน



กำลังโหลดความคิดเห็น