xs
xsm
sm
md
lg

“หัวสุนัขจำลองจากเยื่อกระดาษและยางพารา” นวัตกรรมสื่อการสอนทดแทนการใช้สัตว์จริง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ผศ.สพ.ญ.ภาวนา เชื้อศิริ ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ผู้ค้นคว้าวิจัยพัฒนา “หัวสุนัขจำลองจากเยื่อกระดาษและยางพารา” ใช้เป็นสื่อประกอบการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ มีความสวยงามดึงดูดให้ผู้เรียนสนใจ จึงถือว่าเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ของนิสิตสัตวแพทย์ และทดแทนการใช้ตัวอย่างสัตว์จริง ที่สำคัญมีราคาถูก ประหยัด ลดการนำเข้าสัตว์จำลองจากต่างประเทศ

นอกจากเป็นที่พึงพอใจของนิสิต เพราะไม่มีกลิ่นและปลอดภัย มีความแข็งแรง คงทน น้ำหนักเบาและขนย้ายได้สะดวกแล้ว ยังทดแทนการใช้ตัวอย่างสัตว์จริง และมีราคาถูก ประหยัด ลดการนำเข้าสัตว์จำลองจากต่างประเทศ
ผศ.สพ.ญ.ภาวนา เปิดเผยว่า “หัวสุนัขจำลองจากเยื่อกระดาษและยางพารา” ผลิตขึ้นโดยใช้ประติมากรรมกระดาษอัด (Papier Mache) และการหล่อชิ้นส่วนอวัยวะโดยใช้ยางพารา ในการเตรียมกระดาษได้ผ่านกระบวนการค้นคว้าวิจัยหาเยื่อกระดาษที่เหมาะสมและปรับส่วนผสมในการเตรียมกระดาษโดยการแช่น้ำและปั่นให้ละเอียดเป็นเยื่อกระดาษ รวมทั้งเพิ่มส่วนประกอบ เช่น แป้งมันสำปะหลัง ในสัดส่วนที่เหมาะสม กระดาษที่นำมาใช้ ได้แก่ กล่องนม กระดาษลัง แกนกระดาษชำระ และกระดาษเอกสาร ขณะที่การหล่อยางพาราจะใช้ทำส่วนประกอบที่ต้องการความยืดหยุ่น มีการใช้แม่เหล็กฝังทางด้านในของชิ้นส่วนประติมากรรมกระดาษอัดเพื่อความสะดวกในการประกอบและแยกชิ้นส่วนได้ง่าย
“หัวสุนัขจำลองจากเยื่อกระดาษและยางพาราเป็นที่พึงพอใจของนิสิต เพราะไม่มีกลิ่นและปลอดภัย มีความแข็งแรง คงทน น้ำหนักเบาและขนย้ายได้สะดวก ปัจจุบันได้นำมาใช้ในการเรียนการสอนวิชากายวิภาคศาสตร์ทางสัตวแพทย์ และวิชาที่เกี่ยวข้อง ทำให้นิสิตมีความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างทางกายวิภาคที่ชัดเจน ในอนาคตจะพัฒนาต่อยอดในการพัฒนาอวัยวะส่วนอื่นๆในร่างกายสัตว์ รวมทั้งกระจายไปยังผู้ใช้งานกลุ่มอื่น เช่น นักเรียน ครูที่สอนทางด้านชีววิทยา”
สำหรับภาควิชากายวิภาคศาสตร์ถือเป็นวิชาพื้นฐานที่สำคัญของนิสิตนักศึกษาสัตวแพทย์ที่จะต้องนำไปใช้ในการเรียนรายวิชาขั้นสูงและใช้ในทางคลินิกปฏิบัติต่อไป การเรียนการสอนวิชากายวิภาคศาสตร์ทางสัตวแพทย์ นิสิตต้องมีความเข้าใจถึงโครงสร้าง รูปร่าง ลักษณะของอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกายสัตว์ รวมทั้งความสัมพันธ์ของตำแหน่ง และหน้าที่ของอวัยวะต่าง ๆ จากการเรียนรู้ผ่านสัตว์จริงซึ่งเป็นอาจารย์ใหญ่ รวมถึงการใช้หุ่นจำลองร่างกายสัตว์ ซึ่งยังมีข้อจำกัดในหลายด้าน เช่น สรีระที่ไม่เหมาะสม ไม่มีความหลากหลาย และต้องนำเข้าจากต่างประเทศ


กำลังโหลดความคิดเห็น