มาตรการใหม่ของรัฐบาลด้านส่งเสริมสังคมนับว่าน่าสนใจมาก โดยเฉพาะการรับมือกับภาวะที่ประเทศไทยจะเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ภายในปี 2568 ซึ่งจะมีคนอายุเกิน 60 ปี ประมาณ 14.4 ล้านคน หรือมากกว่า 20% ของประชากรทั้งหมด เรียกว่าประชากรทุกๆ 5 คน จะมีคนสูงอายุ 1 คน (ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข)
คณะรัฐมนตรีจึงสนองแผนโปรโมชันให้คนมีลูกมากขึ้น ด้วยการมีมติ ครม.เพิ่มวงเงินค่าลดหย่อนสำหรับบุตรคนที่ 2 เป็นต้นไป ได้คนละ 3 หมื่นบาท
ขณะที่คู่สมรสสามารถนำค่าฝากครรภ์หรือค่าคลอดบุตรไปหักลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามจำนวนที่จ่ายจริงสำหรับการตั้งครรภ์ คราวละไม่เกิน 6 หมื่นบาท
โดยเฉพาะที่มีผลต่อแนวทาง CSR ขององค์กรต่อพนักงานในการดูแลลูกที่เกิดใหม่ ซึ่งเป็นวัยสำคัญของการเริ่มต้นชีวิต ครม.ยังเห็นชอบ “มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการจัดตั้งศูนย์รับเลี้ยงเด็กเพื่อเป็นสวัสดิการของลูกจ้าง สำหรับสถานประกอบการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล”
เจ้าของกิจการสามารถนำค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งศูนย์รับเลี้ยงเด็กในสถานประกอบการ มาหักเป็นรายจ่ายได้ 2 เท่าของที่จ่ายจริง
ณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ โฆษกประจำรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ บอกว่า มาตรการเช่นนี้มุ่งจูงใจให้สถานประกอบการมีการจัดตั้ง “ศูนย์รับเลี้ยงเด็ก” เพิ่มมากขึ้น แต่ตั้งแต่กลางปี 2554 ถึงสิ้นปี 2558 ยังไม่มีผู้ประกอบการไปใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีดังกล่าว
นั่นคงเป็นเพราะเงื่อนไขหลักเกณฑ์การจัดตั้งศูนย์รับเลี้ยงเด็กที่เป็นมาคงจะเข้มข้นเกินไป ทั้งการกำหนดลักษณะสถานที่และผู้ดูแลศูนย์ต้องมีคุณวุฒิ เช่นพัฒนาการเด็กหรือจิตวิทยา
“มาตรการใหม่จะไม่เข้มงวดมาก แต่ยังคงเน้นการดูแลเรื่องสวัสดิภาพและความปลอดภัย” เป็นคำยืนยันของณัฐพร
ข้อมูลที่น่าสนใจจากกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รายงานว่า ณ สิ้นเดือนกันยายน 2560 มีสถานประกอบการอยู่ 442,040 แห่ง แต่มีการจัดตั้งศูนย์รับเลี้ยงเด็กในสถานประกอบการเพื่อเป็นสวัสดิการให้พนักงานและลูกจ้างเพียง 82 แห่งเท่านั้น ซึ่งได้รับอนุญาตจากกรมกิจการเด็กและเยาวชน
นี่นับเป็นบทบาทที่ดีของรัฐบาลในการให้ความสำคัญต่อการพัฒนาสังคมที่คำนึงถึงผลลัพธ์ (Outcome) คือคุณภาพของประชากร มาตรการทางภาษีที่หวังกระตุ้นการเพิ่มจำนวนประชากร เพื่อมีผลต่อโครงสร้างประชากรในการลดสัดส่วนจำนวนผู้สูงอายุ พร้อมกับเพิ่มจำนวนประชากรวัยแรงงานในอนาคต
แต่การพ่วงมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์รับเลี้ยงเด็กในสถานประกอบการในวัยทารกจนถึงเด็กเล็ก ซึ่งเป็นช่วงวัยที่สำคัญของพัฒนาการเด็ก เพื่อจะได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความเข้มแข็งทั้งทางกาย ทางสมอง รวมทั้งการปลูกฝังนิสัยที่ดีสู่สังคม
อย่างไรก็ตาม เริ่มมีกิจการชั้นนำที่เห็นความสำคัญการให้สวัสดิการพนักงานที่ขยายผลถึงการช่วยดูแลลูกน้อยของพนักงานเพื่อความมั่นใจในการทำงานอย่างหมดห่วง
ดร.ณัฐวุฒิ พงศ์สิริ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายทรัพยากรบุคคลและพัฒนาองค์กร ธนาคารแห่งประเทศไทย เล่าให้ฟังว่า ธนาคารชาติตระหนักในความสำคัญของการส่งเสริมให้พนักงานสามารถมีชีวิตที่สมดุลระหว่างการทำงาน การดูแลตนเองและครอบครัว (work - life Balance)
การลงทุนจัดตั้ง “ศูนย์รับดูแลบุตรพนักงานก่อนวัยเรียน ธปท.” หรือ BOT Child Care Center ที่องค์กรสำนักงานใหญ่ เริ่มดำเนินการเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2559
ที่นี่ดูแลลูกพนักงานช่วงอายุ 3 เดือน-4 ขวบ มีอาหารเลี้ยง 4 มื้อ มีความพร้อมด้านเครื่องมือ การทำกิจกรรม ที่พ่อแม่นำมาฝากดูแลก่อนเข้าทำงานตอนเช้า และรับกลับบ้านตอนเย็น ขณะนี้มีประมาณ 30 คน และยังสามารถรับได้ถึง 80 คน
ส่วนพนักงานแบงก์ชาติที่มีประจำสาขาในภูมิภาคซึ่งมีการนำลูกไปฝากดูแลในสถานประกอบการรับเลี้ยงเด็กในจังหวัด ก็สามารถนำใบเสร็จมาเบิกที่ ธปท. ได้
ในด้านการให้บริการนั้น ธปท.ได้ว่าจ้างบริษัทที่มีความชำนาญและประสบการณ์ในการดูแลเด็กก่อนวัยเรียน
เข้ามาดำเนินการโดยมุ่งเน้นให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องราวรอบตัวผ่านการเล่นในกิจกรรมและสื่อการสอนต่างๆ ที่เหมาะสมตามพัฒนาการและความสนใจในแต่ละช่วงวัย
เด็กๆจะได้รับการกระตุ้นพัฒนาการอย่างเต็มศักยภาพทั้งในด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญาและด้านภาษา มีครูพี่เลี้ยงที่ได้รับการอบรมทั้งด้านทฤษฏีและปฏิบัติ ตามหลักสูตรที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์กำหนด นอกจากนี้ยังมีการจัดโภชนาการที่ถูกสุขลักษณะมีมาตรการในการป้องกันโรคและการดูแลความปลอดภัยที่ดี
เพราะความตั้งใจดี มีสถานที่และระบบการบริหารจัดการดี ศูนย์รับดูแลบุตรพนักงานก่อนวัยเรียนของธนาคารชาติจึงมีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนไปขอเรียนรู้ เป็นตัวอย่างที่ดีและได้รับการประเมินมาตรฐานระดับดีมากจากกระทรวงพม
ข้อคิด…
ด้วยภาวะในการบริหาร การแข่งขันทางธุรกิจและรองรับด้วยระบบการรับรู้ข่าวสารข้อมูลยุคดิจิทัลของโลกปัจจุบัน องค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ต่างต้องปรับตัวให้ทันการเปลี่ยนแปลง ที่มีความคาดหวังสูงจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของกิจการ
พนักงานก็เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความสำเร็จคือการสร้างผลงานที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพเพื่อสร้างความพอใจของลูกค้า
ผู้บริหารที่เชื่อหลักคิดสมัยใหม่ที่ว่า “Employee first, Customer second” คือสร้างความพร้อมให้พนักงานก่อน โดยพัฒนาส่งเสริมและดูแลพนักงานให้ทำงานด้วยความสุขและสร้างภาวะขององค์กรให้เป็น Happy workplace ซึ่งจะทำให้เกิดผลิตภาพที่ดี ส่งมอบผลผลิตและบริการที่ลูกค้าพอใจในที่สุด
การพัฒนาสวัสดิการพนักงานจนถึงขั้นดูแลเด็กเล็กลูกของพนักงาน ก็คือการขยายผลจาก CSR - in - process หรือต่อยอดรับผิดชอบในกระบวนการดำเนินธุรกิจนั่นเอง
คณะรัฐมนตรีจึงสนองแผนโปรโมชันให้คนมีลูกมากขึ้น ด้วยการมีมติ ครม.เพิ่มวงเงินค่าลดหย่อนสำหรับบุตรคนที่ 2 เป็นต้นไป ได้คนละ 3 หมื่นบาท
ขณะที่คู่สมรสสามารถนำค่าฝากครรภ์หรือค่าคลอดบุตรไปหักลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามจำนวนที่จ่ายจริงสำหรับการตั้งครรภ์ คราวละไม่เกิน 6 หมื่นบาท
โดยเฉพาะที่มีผลต่อแนวทาง CSR ขององค์กรต่อพนักงานในการดูแลลูกที่เกิดใหม่ ซึ่งเป็นวัยสำคัญของการเริ่มต้นชีวิต ครม.ยังเห็นชอบ “มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการจัดตั้งศูนย์รับเลี้ยงเด็กเพื่อเป็นสวัสดิการของลูกจ้าง สำหรับสถานประกอบการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล”
เจ้าของกิจการสามารถนำค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งศูนย์รับเลี้ยงเด็กในสถานประกอบการ มาหักเป็นรายจ่ายได้ 2 เท่าของที่จ่ายจริง
ณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ โฆษกประจำรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ บอกว่า มาตรการเช่นนี้มุ่งจูงใจให้สถานประกอบการมีการจัดตั้ง “ศูนย์รับเลี้ยงเด็ก” เพิ่มมากขึ้น แต่ตั้งแต่กลางปี 2554 ถึงสิ้นปี 2558 ยังไม่มีผู้ประกอบการไปใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีดังกล่าว
นั่นคงเป็นเพราะเงื่อนไขหลักเกณฑ์การจัดตั้งศูนย์รับเลี้ยงเด็กที่เป็นมาคงจะเข้มข้นเกินไป ทั้งการกำหนดลักษณะสถานที่และผู้ดูแลศูนย์ต้องมีคุณวุฒิ เช่นพัฒนาการเด็กหรือจิตวิทยา
“มาตรการใหม่จะไม่เข้มงวดมาก แต่ยังคงเน้นการดูแลเรื่องสวัสดิภาพและความปลอดภัย” เป็นคำยืนยันของณัฐพร
ข้อมูลที่น่าสนใจจากกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รายงานว่า ณ สิ้นเดือนกันยายน 2560 มีสถานประกอบการอยู่ 442,040 แห่ง แต่มีการจัดตั้งศูนย์รับเลี้ยงเด็กในสถานประกอบการเพื่อเป็นสวัสดิการให้พนักงานและลูกจ้างเพียง 82 แห่งเท่านั้น ซึ่งได้รับอนุญาตจากกรมกิจการเด็กและเยาวชน
นี่นับเป็นบทบาทที่ดีของรัฐบาลในการให้ความสำคัญต่อการพัฒนาสังคมที่คำนึงถึงผลลัพธ์ (Outcome) คือคุณภาพของประชากร มาตรการทางภาษีที่หวังกระตุ้นการเพิ่มจำนวนประชากร เพื่อมีผลต่อโครงสร้างประชากรในการลดสัดส่วนจำนวนผู้สูงอายุ พร้อมกับเพิ่มจำนวนประชากรวัยแรงงานในอนาคต
แต่การพ่วงมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์รับเลี้ยงเด็กในสถานประกอบการในวัยทารกจนถึงเด็กเล็ก ซึ่งเป็นช่วงวัยที่สำคัญของพัฒนาการเด็ก เพื่อจะได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความเข้มแข็งทั้งทางกาย ทางสมอง รวมทั้งการปลูกฝังนิสัยที่ดีสู่สังคม
อย่างไรก็ตาม เริ่มมีกิจการชั้นนำที่เห็นความสำคัญการให้สวัสดิการพนักงานที่ขยายผลถึงการช่วยดูแลลูกน้อยของพนักงานเพื่อความมั่นใจในการทำงานอย่างหมดห่วง
ดร.ณัฐวุฒิ พงศ์สิริ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายทรัพยากรบุคคลและพัฒนาองค์กร ธนาคารแห่งประเทศไทย เล่าให้ฟังว่า ธนาคารชาติตระหนักในความสำคัญของการส่งเสริมให้พนักงานสามารถมีชีวิตที่สมดุลระหว่างการทำงาน การดูแลตนเองและครอบครัว (work - life Balance)
การลงทุนจัดตั้ง “ศูนย์รับดูแลบุตรพนักงานก่อนวัยเรียน ธปท.” หรือ BOT Child Care Center ที่องค์กรสำนักงานใหญ่ เริ่มดำเนินการเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2559
ที่นี่ดูแลลูกพนักงานช่วงอายุ 3 เดือน-4 ขวบ มีอาหารเลี้ยง 4 มื้อ มีความพร้อมด้านเครื่องมือ การทำกิจกรรม ที่พ่อแม่นำมาฝากดูแลก่อนเข้าทำงานตอนเช้า และรับกลับบ้านตอนเย็น ขณะนี้มีประมาณ 30 คน และยังสามารถรับได้ถึง 80 คน
ส่วนพนักงานแบงก์ชาติที่มีประจำสาขาในภูมิภาคซึ่งมีการนำลูกไปฝากดูแลในสถานประกอบการรับเลี้ยงเด็กในจังหวัด ก็สามารถนำใบเสร็จมาเบิกที่ ธปท. ได้
ในด้านการให้บริการนั้น ธปท.ได้ว่าจ้างบริษัทที่มีความชำนาญและประสบการณ์ในการดูแลเด็กก่อนวัยเรียน
เข้ามาดำเนินการโดยมุ่งเน้นให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องราวรอบตัวผ่านการเล่นในกิจกรรมและสื่อการสอนต่างๆ ที่เหมาะสมตามพัฒนาการและความสนใจในแต่ละช่วงวัย
เด็กๆจะได้รับการกระตุ้นพัฒนาการอย่างเต็มศักยภาพทั้งในด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญาและด้านภาษา มีครูพี่เลี้ยงที่ได้รับการอบรมทั้งด้านทฤษฏีและปฏิบัติ ตามหลักสูตรที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์กำหนด นอกจากนี้ยังมีการจัดโภชนาการที่ถูกสุขลักษณะมีมาตรการในการป้องกันโรคและการดูแลความปลอดภัยที่ดี
เพราะความตั้งใจดี มีสถานที่และระบบการบริหารจัดการดี ศูนย์รับดูแลบุตรพนักงานก่อนวัยเรียนของธนาคารชาติจึงมีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนไปขอเรียนรู้ เป็นตัวอย่างที่ดีและได้รับการประเมินมาตรฐานระดับดีมากจากกระทรวงพม
ข้อคิด…
ด้วยภาวะในการบริหาร การแข่งขันทางธุรกิจและรองรับด้วยระบบการรับรู้ข่าวสารข้อมูลยุคดิจิทัลของโลกปัจจุบัน องค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ต่างต้องปรับตัวให้ทันการเปลี่ยนแปลง ที่มีความคาดหวังสูงจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของกิจการ
พนักงานก็เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความสำเร็จคือการสร้างผลงานที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพเพื่อสร้างความพอใจของลูกค้า
ผู้บริหารที่เชื่อหลักคิดสมัยใหม่ที่ว่า “Employee first, Customer second” คือสร้างความพร้อมให้พนักงานก่อน โดยพัฒนาส่งเสริมและดูแลพนักงานให้ทำงานด้วยความสุขและสร้างภาวะขององค์กรให้เป็น Happy workplace ซึ่งจะทำให้เกิดผลิตภาพที่ดี ส่งมอบผลผลิตและบริการที่ลูกค้าพอใจในที่สุด
การพัฒนาสวัสดิการพนักงานจนถึงขั้นดูแลเด็กเล็กลูกของพนักงาน ก็คือการขยายผลจาก CSR - in - process หรือต่อยอดรับผิดชอบในกระบวนการดำเนินธุรกิจนั่นเอง