xs
xsm
sm
md
lg

ดูเหมือนไม่ยาก เปลี่ยนมโนโลกกรีนให้เป็นจริง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online



ภาพของโลกสีเขียวในอุดมคติที่ทั่วโลกวาดหวัง ตั้งแต่อดีตจนถึงวันนี้ยังไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมแต่อย่างใด หนึ่งในภาพเหล่านั้น คือ ผลิตภัณฑ์ต่างๆ สิ่งของที่มนุษย์ใช้สอยกันทั้งโลกล้วนเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ร้านค้า ซูเปอร์มาร์เก็ตทุกแห่งทำการค้าอย่างเป็นธรรม สังคมปราศจากคอร์รัปชัน รวมถึงปัญหาความยากจนข้นแค้นเป็นเพียงประวัติศาสตร์โลกที่ไม่มีอยู่จริงอีกต่อไป

การเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่ายของมนุษย์เพื่อโลกที่กว่า (Buying for the better world) ในทางเทคนิค สิ่งที่วาดหวังไว้มีความเป็นไปได้ทั้งสิ้น ไม่ใช่เรื่องเลื่อนลอย พูดเพื่อสร้างประชานิยมเท่านั้น หากเริ่มต้นจากการใช้จ่าย พฤติกรรมการจัดซื้อจัดจ้างแบบใหม่ได้ เพราะในการตัดสินใจซื้อแต่ละครั้งนั้น ล้วนแต่มีผลกระทบไม่มากก็น้อยต่อสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา ต่อสังคมและเศรษฐกิจ
เริ่มตั้งแต่พลังงานที่เราเลือกใช้ในอุปกรณ์ต่างๆ ตั้งแต่คอมพิวเตอร์ไปจนถึงแอร์คอนดิชั่นในที่ทำงาน ในบ้านเรือนที่อยู่อาศัย แม้กระทั่งวัสดุที่ใช้ผลิตเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม
แต่ที่ผ่านมา ผู้ซื้อต่างไม่พยายามนำเอาประเด็นของผลกระทบต่อสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมเหล่านี้มาใส่ใจและมาเป็นองค์ประกอบหนึ่งของการตัดสินใจ ซึ่งสามารถทำกันได้ด้วยการเพิ่มเวลาอีกสักหน่อยสำหรับการพิจารณาตรวจสอบรายการ ทำให้เห็นภาพชัดเจนก่อนการตัดสินใจของเราแต่ละครั้ง ว่าเลือกซื้อเลือกใช้สิ่งที่ดีที่สุดต่อโลกแล้ว ไม่ใช่เพียงดีที่สุดต่อเราเอง หรือต่อองค์กรอย่างเดียว
การทำอย่างนี้ได้ ปัจจัยที่ใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินใจในการซื้อ จะต้องเชื่อมโยงกับ

ปัจจัยที่ 1 ทรัพยากรที่นำมาใช้
ปัจจัยที่ 2 การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิโลก
ปัจจัยที่ 3 ตอบโจทย์ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร และความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ
ปัจจัยที่ 4 การดำเนินธุรกิจแบบ Inclusive Business
ปัจจัยที่ 5 การละเมิดสิทธิมนุษยชน
ปัจจัยที่ 6 การมีแนวทางการจัดการขยะ ของเสียที่หมดอายุการใช้งาน
ในทุกการตัดสินใจซื้อ ปัจจัยหลักเหล่านี้ต้องนำมากำหนดน้ำหนักเป็น MUST condition และ SHOULD condition ซึ่งอาจจะแตกต่างกันไปในการตัดสินใจซื้อแต่ละครั้ง แต่ละองค์กรและแต่ละบุคคล


เหตุที่นานาประเทศหันมาให้ความสนใจกับพฤติกรรมการจัดซื้อ เพราะมีการประมาณการว่าในองค์กรใดๆ งบประมาณการจัดซื้อของประเทศในกลุ่ม OECD พบว่าการจัดซื้อเป็นสัดส่วนสำคัญของการใช้งบประมาณทั้งหมดในภาครัฐหรือหน่วยงานรัฐ งบประมาณการจัดซื้อรวมกันอาจจะสูงถึง 10-12% ของมวลรวมผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ หรือ 20-30% ของรายจ่ายงบประมาณภาครัฐทั้งหมด
นอกจากนั้น ตามมาตรฐาน ISO 20400 เป็นการออกมาเพื่อตอบโจทย์การจัดซื้อแบบยั่งยืนเพื่อช่วยให้การเชื่อมโยงระหว่างงานจัดซื้อกับงานการบริหารกรีนมีความชัดเจนมากขึ้น และเป็นบรรทัดฐานไปในแนวทางเดียวกัน
แนวคิดของการปรับสู่ผลิตภัณฑ์ที่ดี
จากแรงบันดาลใจของ “Buying for the Better World” ทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชนได้เริ่มสนใจกับการออกโปรแกรมจัดซื้อตามแนวทางที่ยั่งยืนกันอย่างจริงจัง และทำกันเป็นรูปธรรมอย่างครบวงจรกันหลายโครงการแล้ว จนมีหลายประเทศถือว่าเป็นการปฏิบัติงานจัดซื้อจัดจ้างประจำวันตามปกติ ที่ไม่ต้องมีการขออนุมัติเป็นกรณีพิเศษในหลายประเทศของกลุ่ม OECD’

การที่หลายประเทศให้ความสนใจเรื่องนี้ ส่วนหนึ่งมาจากวาระโลกขององค์การสหประชาชาติ United Nations’ 2030 Agenda for Sustainable Development ที่ทำให้การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นการเปิดให้ภาคเอกชนรับงานหรือร่วมลงทุนในโครงการภาครัฐหรือ PPP - Provate-Public sector procurement
ด้วยเหตุนี้ มูลค่าการจัดซื้อราว 17,000 ล้านดอลลาร์ต่อปี ที่เกิดขึ้นส่วนหนึ่งอยู่ภายใต้แนวคิดตามวาระขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งสะท้อนอิทธิผลของแนวคิดนี้ต่อโลก ที่ปรากฏในรูปของกรอบแนวทางที่หลากหลายผลสัมฤทธิ์เชิงประจักษ์ ได้แก่
ประการแรก การปรับปรุงการสร้างคาร์บอนให้ดีขึ้น ให้พลังงานหรือทรัพยากรน้ำลดลงหรือมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ประการที่สอง การลดลงของผลกระทบทางสังคม ได้แก่ ลดความยากจน เพิ่มศักยภาพของการใช้อาคาร
ประการที่สาม การเกิดผลกระทบทางเศรษฐศาสตร์ ได้แก่ รายได้ที่ดีขึ้นและการลดลงของค่าใช้จ่าย
ในการทำให้เป้าหมายของตนประสบความสำเร็จ องค์การสหประชาชาติ ได้จัดทำ the United Nations Global Marketplace (UNGM) เพื่อเป็นตลาดสำหรับการซื้อขายสินค้าในงานจัดซื้อจัดจ้างขององค์กรในกลุ่มองค์การสหประชาชาติ ให้ได้รับความสะดวกบนระบบ Platform ทางการตลาดเดียวกัน ครบวงจรทั้งหมด ที่นำไปสู่เป้าหมายการจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืน ซึ่งถือว่าเป็นต้นแบบของกระบวนการจัดซื้อแบบยั่งยืนของประเทศอื่นๆได้ ตั้งแต่คอมพิวเตอร์ ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด อุปกรณ์เครื่องเขียนแบบพิมพ์ ผลิตภัณฑ์การขนส่ง ตลอดไปจนถึงการกำหนดกติกา เงื่อนไขสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการเข้าสู่ระบบใหม่นี้ที่จะรับงานจากองค์การสหประชาชาติ และยังสอดคล้องกับ ISO 20400 ด้วย
กำลังโหลดความคิดเห็น