xs
xsm
sm
md
lg

Go Green Fasion ยังแค่ภาพลวงตา

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

แม้ว่าธุรกิจแฟชั่นสร้างการรับรู้ข้อมูลให้โลกได้รู้ว่าเป็นกิจการที่ใส่ใจกับปัญหาสิ่งแวดล้อมมาเป็นเวลานานหลายปีแล้วก็ตาม
แต่จากการประเมินของ Greenpeace กลับเห็นความพยายามนั้นยังไม่เพียงพอ ทำให้ผลที่เกิดขึ้นจริงๆ ไม่สะท้อนถึงความเอาจริงเอาจัง


ประเด็นที่ถูกวิเคราะห์อย่างหนักหน่วงในโลกธุรกิจแฟชั่น ได้แก่
ประการที่ 1 เมื่อความเป็นจริงในโลกปรากฏชัดว่าแนวโน้มของราคาเสื้อผ้าถูกลงกว่าเดิม ทำให้ผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนเสื้อผ้าใหม่เร็วขึ้น ไวขึ้น และทิ้งเสื้อผ้าเก่าที่มีอยู่แล้วเร็วมากขึ้น
สิ่งเหล่านี้ ย่อมต้องส่งผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งตามข้อมูลของMcKinsey ในระหว่างปี 2000-2014 การผลิตเสื้อผ้าทั่วโลกเพิ่มขึ้นเท่าตัว ขณะที่รายจ่ายโดยเฉลี่ยเป็นตัวเงินในค่าเสื้อผ้าต่อชิ้นกลับลดลง และระยะเวลาในการสวมใส่โดยเฉลี่ยกลับลดลง
ประการที่ 2 ในอุตสาหกรรมเสื้อผ้าและแฟชั่น การจัดเก็บข้อมูลและการติดตามผลดำเนินงาน ได้พบการเพิ่มการผลิตเสื้อผ้ามากขึ้น ย่อมส่งผลกระทบต่อการสิ้นเปลืองทรัพยากรธรรมชาติเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว และยิ่งเพิ่มสารเคมีลงสู่ผืนดินและแม่น้ำ เพราะตัวผ้าทำงานโพลีเอสเตอร์ และเกิดไมโครไฟเบอร์ที่เป็นสารอันตรายต่อมหาสมุทร พื้นดินหลังจากการสวมใส่แล้ว
ประการที่ 3 แฟชั่นเสื้อผ้าทั้งหลายได้ให้ความหวังและฝันว่า วันหนึ่งในอีกไม่นานนี้ ผู้ประกอบการเสื้อผ้าโลกจะมีความสามารถในการปรับตัว ซึ่งเห็นชัดว่ามีความมุ่งมั่นที่จะไปสู่การเปลี่ยนแปลง ไปสู่โซลูชั่นและไปสู่ช่องทางของคำตอบเดียวกัน คือ การแสวงหาเทคโนโลยีที่จะทำให้เกิดการรีไซเคิลสิ่งทอชิดไร้ขอบเขต จนสามารถเปลี่ยนเสื้อผ้าเก่าให้เป็นเสื้อผ้าใหม่ได้ครั้งแล้วครั้งเล่า จนถึงวันนี้ ความหวังที่ว่ายังไม่เฉียดความจริงแม้แต่น้อย และยังห่างไกลมาก

ประการที่ 4 แนวทางที่จำเป็นในระยะสั้น คือ การทำให้ผู้บริโภคตระหนักในความจริงเกี่ยวกับเนื้อผ้าได้ถูกต้องและปรับพฤติกรรมในเชิงประจักษ์ สู่จิตวิญญาณของความพอเพียง ไม่ฟุ่มเฟือยเกินจำเป็น และรู้ชัดเจนว่าตนเองกำลังบริโภคผ้าแบบใด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่ และตีค่าของเสื้อผ้าของตนได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งความเข้าใจที่นำไปเชื่อมโยงถึงการรีไซเคิล
ประการที่ 5 ผู้ประกอบการธุรกิจเสื้อผ้า ยังคงเน้นการนำเอาทรัพยากรใหม่จากโลกมาสร้างผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าเพื่อจำหน่ายแก่ลูกค้า มากกว่าที่จะสนใจใช้วัสดุจากการรีไซเคิล และยังไม่มีเสื้อผ้าแบรนด์ใดที่ใช้เนื้อผ้าที่มาจากวัสดุรีไซเคิลทั้ง 100%
ประการที่ 6 สิ่งที่คาดหวังของกลุ่มที่ใส่ใจต่อโลกทั้งหลาย รวมไปถึงกลุ่ม Greenpeace ที่ประกาศออกมาอย่างชัดเจนและต่อเนื่องมาตลอด คือ การหยุดแนวโน้มในการลดผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและผลกระทบเชิงคุณภาพ ด้วยการออกแบบเสื้อผ้าที่คำนึงถึงเป้าหมายในระยะยาว ที่ประกอบด้วยคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น การคงสไตล์ที่เป็นแนวคลาสสิก มีความสามารถในการซ่อมแซมได้เมื่อเกิดการชำรุด มีอายุการใช้งานคงทน และรับประกันคุณภาพได้ และให้ความรู้สึกที่ดีและมั่นใจในระหว่างสวมใส่
ประการที่ 7 ผู้บริโภคควรปรับพฤติกรรมในการดำเนินชีวิต ด้วยการเลิกสะสมเสื้อผ้าเต็มตู้ โดยไม่มีโอกาสนำมาใช้จริงเป็นเวลานาน อาจจะพัฒนาบริการ จัดลำดับก่อนหลังและลำดับความสำคัญในการซ่อมแซม ปะชุน และมีระบบนำกลับมาใช้ให้เป็นจริง การแบ่งปันหรือการนำออกให้เช่าเป็นบางโอกาส การนำไปขายต่อให้เกิดการหมุนเวียนแก่คนที่มีความจำเป็น และการปรับให้เข้าไปกาลเทศะและเทศกาลจริง

ในขณะเดียวกัน ผู้บริโภคควรจะต้องสลัดตนเองให้หลุดพ้นจากการตกเป็นทาสที่โลดแล่นตามกระแสแฟชั่น หรือการเสพติดแฟชั่นที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา หมายความว่าควรจะต้องทำอย่างไร ผู้คนบนโลกจะยอมรับถึงความสำคัญและคุณค่าของผลิตภัณฑ์มากกว่า
ที่กล่าวมาทั้งหมด อาจจะมองว่าเป็นพฤติกรรม เป็นทัศนคติที่ควรจะเป็น และน่าจะเป็นสามัญสำนึกเสียด้วยซ้ำ แต่สิ่งเหล่านี้กลับไม่ได้เป็นความจริง และจำเป็นต้องกลับมาสู่การพัฒนา การสั่งสม การเรียนรู้ใหม่ทั้งหมด ทั้งในส่วนที่เป็นผู้ประกอบการธุรกิจแฟชั่นเอง และตัวผู้บริโภคเอง

กำลังโหลดความคิดเห็น