เรื่องหนึ่งที่ชาวต่างชาติ อาจจะประหลาดใจเมื่อไปเยือนญี่ปุ่น คือ ความเยอะแยะของถังขยะ ที่มีหลากหลายสี หลากหลายประเภท และถูกจัดเรียงเอาไว้อย่างมีระเบียบ
ถังขยะอยู่ถูกที่ถูกทางให้ความสะดวกต่อการทิ้ง และต้องการให้ทุกคนแยกขยะให้ละเอียดที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
สำหรับคนที่ไม่ค่อยคุ้นเคยกับการแยกขยะ ก็คงงุนงงทำไมต้องทำกันพิถีพิถัน ละเอียดลออขนาดนี้?
1. การแยกขยะเพื่อรีไซเคิลถูกกำหนดเป็นกฏหมาย
โดยเฉพาะผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นไซส์ธุรกิจแบบใดก็ตาม จะต้องปฏิบัติตามกฏหมาย Containers and Packaging Recycling Law ว่าต้องมีการรีไซเคิลแก้ว, ขวดพลาสติก, กระดาษ หรือบรรจุภัณฑ์พลาสติกทั้งหมด ซึ่งผู้ประกอบการมีหน้าที่จ่ายเงินตามจำนวนและน้ำหนักของขยะรีไซเคิล
นี่เป็นสาเหตุที่หลายๆ ร้านสะดวกซื้อเองพยายามเขียนเอาไว้ที่ถังขยะว่า "ห้ามเอาขยะอื่นๆ มาทิ้งที่นี่" ไม่งั้นละก็ค่าใช้จ่ายบานปลาย
2. ไม่มีใครมาทำแทนคุณ
เพราะที่ญี่ปุ่น การแยกขยะเป็นวินัยและความรับผิดชอบของพลเมืองที่มีการปลูกฝังไว้ตั้งแต่ยังเด็ก แม้เกิดมหันตภัยใหญ่อย่างสึนามิในปี 2011 คนญี่ปุ่นที่สูญเสียที่อยู่อาศัยแล้วต้องไปพักยังที่หลบภัยชั่วคราว ก็ยังคงปฏิบัติตามมาตรฐานการแยกขยะอยู่
3. มีสติ๊กเกอร์ติดให้เรารู้สึกละอาย
ลูกบ้านทุกคนจะต้องเอาขยะที่แยกไว้แล้วไปวางที่จุดทิ้งที่ได้กำหนดไว้ถ้าคุณแยกขยะมั่วซั่วและเอาไปวางที่จุดทิ้ง
คนเก็บขยะจะเลือกที่จะ "ไม่เก็บ" ถุงขยะของคุณ แต่ปล่อยทิ้งไว้ พร้อมติดสติ๊กเกอร์เพื่อให้ละอายใจ
สติ๊กเกอร์นี้เขียนว่า "ไม่สามารถเก็บถุงขยะนี้ได้" พร้อมกับระบุสาเหตุให้คุณได้รู้ (บางทีก็ไม่ได้ติดสติ๊กเกอร์
แต่จะทิ้งถุงขยะของคุณไว้เฉยเลย)
.
4.เรื่องรีไซเคิล หรือการแยกขยะถูกบรรจุไว้ในหนังสือสอนภาษาญี่ปุ่น
นี่เป็นอีกหนึ่งกุศโลบายที่คนญี่ปุ่นบรรจุเนื้อหาเหล่านี้เพื่อให้ชาวต่างชาติที่เข้ามาอาศัยที่ประเทศญี่ปุ่นใหม่ๆ
ได้เรียนรู้ว่า การแยกขยะคืออะไร
คำศัพท์ว่า 分別 (Bun-betsu) หรือที่แปลว่าการแยกขยะ
มักจะถูกสอนเป็นคำแรกๆ เพื่อให้ทุกคนเข้าใจถึงการแยกขยะ
5. มีการแจกโปสเตอร์ประเภทการแยกขยะ
ที่เห็นภาพเข้าใจง่าย ใครดูก็รู้ แจกให้ทุกบ้าน แถมมีแปลอยู่หลากหลายภาษา เช่น อังกฤษ, จีน, เกาหลี, โปรตุเกส, สเปน, ฟิลิปปิน, อิตาลี
คุณเป็นผู้อาศํญจะอ้างไม่ได้ว่าไม่เข้าใจ และทุกคนมักจะได้รับโปสเตอร์นี้ ตอนเข้าไปอาศัยใหม่ๆ นอกจากนี้เขายังติดไว้ที่ฝาผนังบ้าน หรือหน้าตู้เย็นก็มี
6. แม้แพคเกจที่ญี่ปุ่นจะดูเยอะ แต่คุณก็สามารถทิ้งมันได้ทันทีหลังจากซื้อ
ญี่ปุ่นเป็นอีกประเทศที่ให้ความสำคัญมากกับแพคเกจจิ้งหรือบรรจุภัณฑ์จนบางคนก็อาจรู้สึกว่ามันเยอะเกินไปมั้ย
บางทีกล้วยไม่ได้ขายเป็นหวีแต่ขายเป็นลูก จึงมีการหีบห่อกล้วยเป็นลูกต่อลูก นี่ทำให้เกิดขยะเป็นจำนวนมาก
แต่ซุปเปอร์มาร์เกตก็ได้จัดเตรียมถังขยะหลากหลายประเภทรอไว้เลยในซุปเปอร์สำหรับลูกค้าที่ไม่ต้องการบรรจุภัณฑ์ที่ "เยอะ" ถึงขนาดนั้น
ถังขยะอยู่ถูกที่ถูกทางให้ความสะดวกต่อการทิ้ง และต้องการให้ทุกคนแยกขยะให้ละเอียดที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
สำหรับคนที่ไม่ค่อยคุ้นเคยกับการแยกขยะ ก็คงงุนงงทำไมต้องทำกันพิถีพิถัน ละเอียดลออขนาดนี้?
1. การแยกขยะเพื่อรีไซเคิลถูกกำหนดเป็นกฏหมาย
โดยเฉพาะผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นไซส์ธุรกิจแบบใดก็ตาม จะต้องปฏิบัติตามกฏหมาย Containers and Packaging Recycling Law ว่าต้องมีการรีไซเคิลแก้ว, ขวดพลาสติก, กระดาษ หรือบรรจุภัณฑ์พลาสติกทั้งหมด ซึ่งผู้ประกอบการมีหน้าที่จ่ายเงินตามจำนวนและน้ำหนักของขยะรีไซเคิล
นี่เป็นสาเหตุที่หลายๆ ร้านสะดวกซื้อเองพยายามเขียนเอาไว้ที่ถังขยะว่า "ห้ามเอาขยะอื่นๆ มาทิ้งที่นี่" ไม่งั้นละก็ค่าใช้จ่ายบานปลาย
2. ไม่มีใครมาทำแทนคุณ
เพราะที่ญี่ปุ่น การแยกขยะเป็นวินัยและความรับผิดชอบของพลเมืองที่มีการปลูกฝังไว้ตั้งแต่ยังเด็ก แม้เกิดมหันตภัยใหญ่อย่างสึนามิในปี 2011 คนญี่ปุ่นที่สูญเสียที่อยู่อาศัยแล้วต้องไปพักยังที่หลบภัยชั่วคราว ก็ยังคงปฏิบัติตามมาตรฐานการแยกขยะอยู่
3. มีสติ๊กเกอร์ติดให้เรารู้สึกละอาย
ลูกบ้านทุกคนจะต้องเอาขยะที่แยกไว้แล้วไปวางที่จุดทิ้งที่ได้กำหนดไว้ถ้าคุณแยกขยะมั่วซั่วและเอาไปวางที่จุดทิ้ง
คนเก็บขยะจะเลือกที่จะ "ไม่เก็บ" ถุงขยะของคุณ แต่ปล่อยทิ้งไว้ พร้อมติดสติ๊กเกอร์เพื่อให้ละอายใจ
สติ๊กเกอร์นี้เขียนว่า "ไม่สามารถเก็บถุงขยะนี้ได้" พร้อมกับระบุสาเหตุให้คุณได้รู้ (บางทีก็ไม่ได้ติดสติ๊กเกอร์
แต่จะทิ้งถุงขยะของคุณไว้เฉยเลย)
.
4.เรื่องรีไซเคิล หรือการแยกขยะถูกบรรจุไว้ในหนังสือสอนภาษาญี่ปุ่น
นี่เป็นอีกหนึ่งกุศโลบายที่คนญี่ปุ่นบรรจุเนื้อหาเหล่านี้เพื่อให้ชาวต่างชาติที่เข้ามาอาศัยที่ประเทศญี่ปุ่นใหม่ๆ
ได้เรียนรู้ว่า การแยกขยะคืออะไร
คำศัพท์ว่า 分別 (Bun-betsu) หรือที่แปลว่าการแยกขยะ
มักจะถูกสอนเป็นคำแรกๆ เพื่อให้ทุกคนเข้าใจถึงการแยกขยะ
5. มีการแจกโปสเตอร์ประเภทการแยกขยะ
ที่เห็นภาพเข้าใจง่าย ใครดูก็รู้ แจกให้ทุกบ้าน แถมมีแปลอยู่หลากหลายภาษา เช่น อังกฤษ, จีน, เกาหลี, โปรตุเกส, สเปน, ฟิลิปปิน, อิตาลี
คุณเป็นผู้อาศํญจะอ้างไม่ได้ว่าไม่เข้าใจ และทุกคนมักจะได้รับโปสเตอร์นี้ ตอนเข้าไปอาศัยใหม่ๆ นอกจากนี้เขายังติดไว้ที่ฝาผนังบ้าน หรือหน้าตู้เย็นก็มี
6. แม้แพคเกจที่ญี่ปุ่นจะดูเยอะ แต่คุณก็สามารถทิ้งมันได้ทันทีหลังจากซื้อ
ญี่ปุ่นเป็นอีกประเทศที่ให้ความสำคัญมากกับแพคเกจจิ้งหรือบรรจุภัณฑ์จนบางคนก็อาจรู้สึกว่ามันเยอะเกินไปมั้ย
บางทีกล้วยไม่ได้ขายเป็นหวีแต่ขายเป็นลูก จึงมีการหีบห่อกล้วยเป็นลูกต่อลูก นี่ทำให้เกิดขยะเป็นจำนวนมาก
แต่ซุปเปอร์มาร์เกตก็ได้จัดเตรียมถังขยะหลากหลายประเภทรอไว้เลยในซุปเปอร์สำหรับลูกค้าที่ไม่ต้องการบรรจุภัณฑ์ที่ "เยอะ" ถึงขนาดนั้น